ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 36' 55.4346"
18.6153985
Longitude : E 98° 53' 53.5121"
98.8981978
No. : 174255
การยกเสาเอก
Proposed by. paanrada Date 24 December 2012
Approved by. เชียงใหม่ Date 3 January 2013
Province : Chiang Mai
0 1260
Description

การจะสร้างบ้านหรือ อาคารสักหลังหนึ่งนั้น ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งนั้นที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ในบ้านเราให้ความสำคัญกันมาก ก็คือขั้นตอนของพิธียกเสาเอก โดยเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การทำพิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเมื่อได้เข้าอยู่บ้านหลังที่สร้างแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา มักจะทำพิธียกเสาเอกเพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย แต่พิธีการ และขั้นตอนอาจแตกต่างกันในรายละเอียด บ้านบางหลังจะทำพิธียกเสาเอก โดยพระอาจารย์ที่เคารพนับถือ บางหลังทำพิธีโดยพราหมณ์ และบางหลังทำพิธีโดยผู้ใหญ่หรือบุคคลที่เคารพนับถือ

การกำหนดฤกษ์เสาเอก

การกำหนดฤกษ์เสาเอกนั้น ส่วนใหญ่ก็คงต้องให้ผู้ที่เรานับถือ เช่น พระอาจารย์ พราหมณ์ หรือผู้ใหญ่ที่เรานับถือ ดูฤกษ์ดูยามในการทำพิธียกเสาเอกให้ โดยท่านเหล่านั้นก็จะหาวันและเวลาที่เป็นมงคลให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เราสะดวกที่จะสร้างด้วย ถ้าหากไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกในการตามหาพระอาจารย์ทั้งหลายมาให้ฤกษ์ให้ยาม คุณอาจจะหาฤกษ์ด้วยตนเองก็ได้ โดยอาจจะดูจากปฏิทิน 100 ปี หรือหาซื้อหนังสือโหราศาสตร์ ประเภทสรุปรวมฤกษ์ประจำทั้งปี ซึ่งหนังสือพวกนี้จะออกวางตลาดตอนปลายปีทุกปี ลองอ่านและหาฤกษ์ด้วยตนเองได้

การทำพิธียกเสาเอกกับขั้นตอนการสร้างบ้านอาคาร

ในสมัยโบราณ การก่อสร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นการสร้างบ้านไม้ เสาบ้านก็เป็นเสาไม้ ดังนั้นฤกษ์ลงเสาเอกก็คือ ฤกษ์เวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ตั้งตรง และเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้ เอาดินกลบหลุมทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน ขั้นตอน และวิธีการก่อสร้างได้เปลี่ยนไป อาคารปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วแต่เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องมีการตอกเสาเข็ม ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้ ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจว่าพิธียกเสาเอกกับการสร้างในปัจจุบันที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตนั้น เขาทำกันในช่วงไหนของการก่อสร้าง ซึ่งจากประสบการณ์ในการก่อสร้างที่ผ่านมา พิธียกเสาเอก จะทำกันได้ใน 3 ลักษณะดังนี้

1. ยึดเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นแรก หรือเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์”เข็มเอก)

2. ยึดเวลาที่ยกเสาเหล็กเสริม เทคอนกรีตฐานราก (จะเทคอนกรีตฐานรากพร้อมกับการตั้งเหล็กเสาต้นที่เป็นเสาเอก)

3. ยึดเวลาที่มีการเทคอนกรีตหล่อเสาอาคารจริงๆ (ซึ่งอาจจะตั้งหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างแล้วเป็นเดือน) แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะการเตรียมการ เตรียมของใช้และขั้นตอนในการยกเสาเอกแบบ ที่ยึดเวลาที่ยกเสาเหล็กเสริมขึ้นตั้งและเทคอนกรีตฐานราก ซึ่งเป็นลักษณะที่การสร้างบ้านในส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้กัน

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอก

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกนั้นมีอยู่หลายตำราด้วยกัน แล้วแต่ผู้ที่เรานับถือที่จะดำเนินการทำพิธีให้เป็นผู้กำหนด แต่ในที่นี้เราจะอ้างอิงจาก “ศาสนพิธี” ในหนังสือพุทธศาสตร์ ปีที่ 43 อันดับที่ 1/2543 โดยการเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกมีดังนี้

1. จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)

2. จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)

3. เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)

4. ใบทอง นาก เงิน อย่างละ 3 ใบ

5. ทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ

6. ทรายเสก 1 ขัน

7. น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)

8. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก

9. ทองคำเปลว 3 แผ่น

10. ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน

11. หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ

12. ไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ กันเกรา ทรงบาดาล ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ขนุน สักทอง ทองหลาง ไผ่สีสุก พยุง

13. แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น

14. ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน

ไม้มงคลที่ใช้ในพิธี
ใน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดินไม้ทั้ง 9 ชนิดมีชื่อเป็นมงคลนาม ดังนี้
1. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
2. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
3. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
4. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
5. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
6. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
7. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
8. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
9. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระที่เรียกว่า หัวใจพระอิติปิโส ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ลงบนท่อนไม้ชนิดละอักขระ พร้อมทั้งปิดทองทั้ง 9 ท่อน โดยปักวนจากซ้ายไปขวา (ทักษิณาวรรต)
ปีที่ปลูกเรือนเสริมสิริมงคล

ลำดับพิธีวางสายสิญจน์เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวาบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร) เจ้าภาพจุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล กราบพระ จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครอง พิธีกรกล่าวสังเวยเทวดา เจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้ามี) วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี) นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกที่หลุมเสา เจิมและปิดทองเสาเอก ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี ช่าง ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี) เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธีเสร็จพิธี (ผู้ให้ข้อมูลและผู้ทำพิธี นายอินทร ตันผัด (หนานอ้าย) หมู่ 6 บ้านต้นแก้ว ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120 เบอร์ติดต่อ 087-6562708 )

Location
บ้านต้นแก้ว
Moo หมู่ 6 บ้านต้นแก้ว
Tambon มะขามหลวง Amphoe San Pa Tong Province Chiang Mai
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่(อำเภอสันป่าตอง)
Reference ปานรดา อุ่นจันทร์ Email pugkatoon@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ Email culture_cm@hotmail.com
Tambon ช้างเผือก Amphoe Mueang Chiang Mai Province Chiang Mai ZIP code 50300
Tel. 053-112595-6 Fax. 053-112595-6
Website culture_cm@hotmail.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่