ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 43' 59.4721"
18.7331867
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 0' 37.5458"
101.0104294
เลขที่ : 175400
ประเพณีสืบชะตา
เสนอโดย วริศรา บุญซื่อ วันที่ 6 มกราคม 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : น่าน
0 941
รายละเอียด

ชื่อ ประเพณีสืบชะตา

ความหมาย
การต่ออายุให้อยู่ยืนยาวต่อไป พิธีกรรมที่มีพระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรมแบ่งออกเป็น สืบชะตาคน สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาเมือง การสืบชะตาคนโดยทั่วไปนิยมทำกันในช่วงปีใหม่ แต่ก็มีการทำในโอกาส อื่น ๆ ด้วย เช่น ขึ้นบ้านใหม่ ครบรอบวันคล้ายวันเกิด ได้เลื่อนยศตำแหน่งแต่งงาน เป็นต้น สำหรับการสืบชะตาบ้าน ปกติมักจะทำกันในช่วงสงกรานต์ ราววันที่ ๑๖,๑๗,๑๘ เมษายน แต่หากเกิดความไม่สงบสุขในหมู่บ้าน เช่น โรคระบาด ก็มักจะจัดการสืบชะตาหมู่บ้านด้วย เช่นกันส่วนการสืบชะตาเมืองก็เช่นเดียวกับการสืบชะตาบ้าน คือจะทำนอกจากทำเป็นประจำทุกปีแล้ว (เชียงใหม่ทำพิธีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙) ยังกระทำเมื่อบ้านเมืองมีความเดือดร้อนด้วยเช่นกัน
ความสำคัญ
การสืบชะตาคล้ายกับการสะเดาะเคราะห์แต่การสืบชะตามีขั้นตอนและวิธีการยากกว่ามีวัสดุอุปกรณ์มาก แบ่งเป็น 2 พิธี คือ
พิธีสืบชะตาหลวง คือทำกันทั้งครอบครัว
พิธีสืบชะตาหน้อย คือทำคนเดียว
ผู้ที่จะสืบชะตาจะเป็นคนเจ็บป่วยหรือไม่ก็ได้ แต่เห็นว่าปีหนึ่งควรจะทำเสียครั้งหนึ่งเพื่อให้อยู่อย่างมีความสุข

รูปแบบของพิธีสืบชะตา

๑. สืบชะตาหลวงให้ทุกคนในครอบครัวไปนั่งรวมกันภายในบริเวณขาตั้ง สามเหลี่ยมที่จัดไว้ ถ้าสืบชะตาหน้อยจะมีผู้สืบ ชะตาคนเดียวที่ไปนั่งในขาตั้งสามเหลี่ยม
๒. พระสงฆ์นำสายสิญจน์ มาผูกคอผูกสืบชะตาทุกคนแล้วเริ่มสวด
๓. ใกล้จะจบพอสวดถึงคำว่า ขีณํ ปุราณํ นวํ นตํกิ สมราวิ ฯลฯ ก็จะมีผู้เฒ่าเป็นหญิงหม้ายลงไปใต้ถุนบ้าน เริ่มเผาด้ายสาย สิญจน์ ซึ่งมัดขึงไว้กับเส้นลวด โดยมีความยาวของด้ายเท่ากับ 1 วา ของผู้สืบชะตาทุกคน การเผาเรียกว่าเผาสายสิญจน์ " ค่าคิง" ผู้ป่วยจะมีอายุ ยืนยาวต่อไปหรือมีความเชื่อว่าตายแล้วจะเกิดใหม่
๔.พอสวดเสร็จพิธี อาจารย์ผู้ที่อาราธนาศีล จะเป็นผู้เก็บขาตั้งสามเหลี่ยม
๕.การนำไปทิ้งส่วนใหญ่จะนำไปเก็บไว้ในวัดที่มีต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ๆ หรืออาจจะเก็บไว้ในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่

เครื่องประกอบพิธีสืบชะตา

๑. ขันตั้งประกอบด้วยของอย่างละ ๔
หมาก ๔ พลู ๔ เทียน ๔ คู่ ธูป ๔ คู่ ดอกไม้ ๔ เงิน ๕ บาท ๑ สลึง ข้าวสาร ผ้าขาวผ้าแดง
๒. วัสดุที่ใช้สืบชะตา
๑. ต้นกล้วยต้นอ้อย(ให้ความหมายว่าเกิดความงอกงามสดชื่น)
๒. ไม้ง่ามความยาวเท่าศอกของผู้สืบชะตา
๓. หมาก พลู
๔. ตุง (การต้ดกระดาษแก้วให้เป็นรูปตุ๊กตา)เลือกสีประจำเทวดานพเคราะห์
๕. ข้าวเปลือก ข้าวสาร
๖. ผลไม้ส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าว กล้วยทั้งดิบและสุก
๗. กระบอกน้ำ กระบอกทราย ใช้กระบอกไม้ไผ่ โดยมีข้อแม้ว่า " น้ำอยู่บนปลาย ทรายอยู่ล่าง "
๓ วัสดุที่ใช้ประกอบ
๑. ด้ายสายสิญจน์
๒. บาตรน้ำมนต์ (น้ำมนต์ประกอบด้วยฝักส้มป่อยเผา แล้วห้ามเป่า นำไปแช่ในน้ำสะอาด )

โอกาสประกอบพิธีสืบชะตา

๑. ในช่วงเทศกาลปีใหม่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

๒.หายจากการเจ็บป่วย

๓.ต่ออายุให้ยืนยาว

๔. ขึ้นบ้านใหม่ วันคล้ายวันเกิด

คำสำคัญ
สืบชะตา
สถานที่ตั้ง
ประเพณีสืบชะตา
เลขที่ วัดนาคา หมู่ที่/หมู่บ้าน ตำบลหนองแดง ถนน น่าน - แม่จริม
ตำบล หนองแดง อำเภอ แม่จริม จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระครูวิสุทธิ์ปัญญาทร
บุคคลอ้างอิง Pu Pu1 อีเมล์ waris_pu7683@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน น่าน
เลขที่ วัดนาคา หมู่ที่/หมู่บ้าน ตำบลหนองแดง ถนน น่าน- แม่จริม
ตำบล หนองแดง อำเภอ แม่จริม จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55170
โทรศัพท์ ๐๘๗-๑๗๒๗๓๔๘
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่