ประวัติความเป็นมา
พระสยามเทวาธิราช ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องมาจาก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เมืองไทยมีเหตุการณ์ร้ายเกือบ
จะต้องเสียอิสรภาพ มาหลายครั้ง แต่ก็มีเหตุให้รอดพ้นได้เสมอน่าจะมีเทพยดาคอยพิทักษ์
รักษา อยู่ ซึ่งในสมัยนั้น ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นชาติยุโรปที่กำลังล่าอาณานิคมในแถบเอเซีย
เช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ ล้วนถูกชาวยุโรปเข้าปกครองและยื้อแย่งอำนาจไปจนสิ้น
คงเหลือเพียง "ประเทศไทย" เท่านั้น ที่อยู่รอดปลอดภัยและเป็นเอกราชมาโดยตลอด จึงสมควร
สร้างรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นไว้สักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์
วรการ นายช่างเอก ทรงปั้นรูปเทพยดาที่มีลักษณะเป็นเทวรูปหล่อยืน หล่อด้วยทองคำทั้ง
พระองค์ งดงามได้สัดส่วน สูง ประมาณ 8 นิ้วทรงเครื่องกษัตริยาธิราช พระหัตถ์ขวาทรง
พระแสงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นจีบพระดรรชนีเสมอพระอุระ
องค์พระสยามเทวาธิราชสถิตในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์แบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกที่ผนัง
เบื้องหลังเป็นอักษรจีน แปลความว่า เทพยดาผู้สิงสถิตรักษาสยามประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช ปัจจุบัน
ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง
พระสยามเทวาธิราชเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
หากจะกล่าวสาบานในศาล จะต้องสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง 3 อย่างคือ
ศาลหลักเมือง พระแก้วมรกต และพระสยามเทวาธิราช
วัตถุประสงค์ในการสร้างพระสยามเทวาธิราชของสนามกอลฟ์นอร์ทเทิล ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย
๑.เพื่อเป็นเสาหลักชัยให้กับหัวเมืองหลักของประเทศ
๒.ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ
๓.เป็นเอกลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์และเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
๔.เป็นเกาะแก้วกำแพงเพชร ๗ ชั้น ล้อมรอบมณฑลรัศมีให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ
๕.ให้ประเทศเป็นแผ่นดินเงิน แผ่นดินทอง เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
พระสยามเทวาธิราช มีทั้งสิ้น ๕ องค์ ดังนี้
องค์ที่ ๑ ประดิษฐานที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
องค์ที่ ๒ ประดิษฐานที่ช่องตะโก ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
กับ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
องค์ที่ ๓ ประดิษฐานที่ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี
องค์ที่ ๔ ประดิษฐานที่ตำบลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
องค์ที่ ๕ ประดิษฐานที่สนามกอล์ฟน๊อท์ธเทินล์ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา