ประวัติความเป็นมา
กีรออาตี(QIRAATI) หมายถึง หนังสือแบบหัดอ่าน หรือหนังสือแบบฝึกหัดสำหรับเด็กๆที่นับถือศาสนาอิสลาม ก่อนเข้าสู่ การอ่าน คัมภีร์อัลกุรอาน เขียนด้วยภาษาอาหรับ ทั้งหมด เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย โดย ฮัจญีดะฮฺลัน สาลิม ซัรกาซี เป็นผู้ริเริ่มทำหนังสือ กีรออาตี และได้ถูกใช้ครั้งแรกที่ประเทศ และเริ่มหลั่งไหลไปสู่ ประเทศมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และประเทศไทยเป็นเวลาต่อมา สำหรับแบบฝึกหัด กีรออาตี จะเหมาะสมกับเด็กอายุ ตั้งแต่ ๔ – ๑๒ ปี กลุ่มเด็กในระดับประถมศึกษา หรือกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษา ซึ่งปัจจุบันเด็กๆที่นับถือศาสนาอิสลามจะหันมาเรียนกีรออาตีกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นเนื้อหาที่อ่านง่าย ท่องจำได้เร็ว โดยเฉพาะกลุ่มเด็กๆที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประวัติผู้แต่ง
ผู้คิดค้นหลักสูตรกีรออาตี (QIRAATI) คือ อุสตาซฮัจยีดะฮฺลัน ซัรการซี (Ustaz Haji Dahlan Salim Zarkasyi) ชาวเมืองสามารัง อินโดนีเซีย ท่านเริ่มสนใจที่จะศึกษาการสอนอัล-กุรอ่าน จึงเข้าศึกษาที่ปอเนาะและกลับมาสอนอัล-กุรอานแก่ลูกท่าน โดยใช้หลักสูตร “บัฆดาดี”พบว่าลูกของท่านเรียนหน้าลืมหลัง ท่านจึงค้นหาหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนอัล-กุรอาน ได้ผลและรวดเร็ว จึงจัดทำหลักสูตรกีรออาตีที่เหมาะกับการพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งก็มีการพัฒนาหลักสูตรเรื่อยมา ท่านได้ใช้แบบฝึกอ่านอัลกุรอ่านที่มีทั่วอินโดนีเซียเป็นแนวทาง เรียบเรียงเนื้อหาใหม่ทีละหน้า ๆ แบบฝึกอ่านหน้าใดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง สามารถช่วยให้นักเรียนอ่านได้ง่ายและรวดเร็ว จะเก็บรวบรวมไว้ แบบฝึกอ่านหน้าใดทีมีผลสัมฤทธิ์ในเกณฑ์ต่ำ ไม่สามารถช่วยให้นักเรียนอ่านได้ดี ท่านก็จะนำมาแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา จนได้รับความพึงพอใจจนสามารถจัดเป็นหมวดหมู่และรวมเป็นรูปเล่ม ดังนี้
๑. แบบฝึกอ่านกีรออาตีสำหรับเด็กปฐมวัย
๒. แบบฝึกอ่านกีรออาตีสำหรับเด็กอายุ ๔-๖ ปี
๓. แบบฝึกอ่านกีรออาตีสำหรับวัยรุ่น
๔. แบบฝึกอ่านกีรออาตีสำหรับผู้ใหญ่
๕. แบบฝึกอ่านกีรออาตีสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
ความสำคัญเป็นหนังสือที่คนนับถือศาสนาอิสลามใช้เพื่อการศึกษา
ลักษณะเป็นหนังสือแบบหัดอ่าน หรือหนังสือแบบฝึกหัดก่อนเข้าสู่ การอ่าน คัมภีร์อัลกุรอาน
ภาษาที่ใช้เขียนภาษาอาหรับ
ชื่อผู้ครอบครอง นายมาหาหมัดซอและ รือซะ
สถานที่จัดเก็บ ๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี