ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 40' 46.5848"
14.6796069
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 59' 31.61"
104.9921139
เลขที่ : 177236
บ้านแก้ง
เสนอโดย benchawan วันที่ 24 มกราคม 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 28 มกราคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 564
รายละเอียด

บ้านแก้งได้นามหมู่บ้านจากแก่งหินลำซอม ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านซึ่งเป็นสถานที่เล่นตรุษสงกรานต์ และเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านมาแต่สมัยโบราณ เป็นแหล่งปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และที่ทำการเกษตร กลุ่มชนพื้นเพเดิมที่อพยพ มาตั้งรกราก มาจากชาวเมือง

ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชาวเขมรเมืองล่าง ซึ่งตามประวัติเล่าขานกันมา ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ในชุมชนตำบลแก้ง ได้บอกเล่ากันต่อมาว่าชาวบ้านได้อพยพมาได้แยกย้ายกันไปตั้งหมู่บ้าน มีบ้านไร่ บ้านสองคอน บ้านกุดโคม บ้านบุเปือย ภาษาดั้งเดิมหรือภาษาถิ่นเรียกว่า “ภาษาส่วย”

ซึ่งต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านดังกล่าวล้มตายกันมาก จึงได้อพยพหนีโรคระบาด ปัจจุบันยังมีร่องรอยอยู่ เช่น โนนบ้านเก่า อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านแก้งหมู่ 2 ทางไปบ้านไฮตาก โนนบ้านไร่ โนนบ้านเปือย ปัจจุบันคนเฒ่า คนแก่เล่าว่า ยังมีวิญญาณของผู้ตายจากโรคระบาดวนเวียนอยู่ไม่มีใครกล้าที่จะเข้าไปถากถางทำไร่นา เพราะกลัวความมีอาถรรพ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านแก้งหมู่ 11 ปัจจุบัน ลำห้วยพันแก้ว ชาวบ้านทั้งหมด แต่ละหมู่บ้านที่อพยพมาจากที่เดิมได้มาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ เรียกว่า “บ้านแก้ง”ตามแก่งหินลำซอม จนถึงปัจจุบัน แต่วัน เดือน ปีที่ก่อตั้งไม่ได้เขียนบันทึกไว้ แต่หลักฐานการตั้งโรงเรียนบ้านแก้ง ได้บันทึกไว้ว่าตั้งเมื่อ พ.ศ. 2466

การตั้งบ้านแก้ง ตามที่คนเฒ่า คนแก่บอกเล่ามาเป็นร้อยปีขึ้นไปแน่นอน และได้มีผู้นำหมู่บ้าน ตั้งแต่เริ่มตั้งมาเขียนบันทึกไว้ดังนี้

ขุนศรีรักษา ขุนแสง ขุนพล หมื่นอุ หลวงราษฎร์ พ่อขุนเชียงดา หมื่นสะท้อน นายหนู ขาวสะอาด นายสมบูรณ์ จำปาคำ นายโสม โพธิลา นายบุญมา กุลโท นายผาสุก ภาโว นายก้าน ทารินทร์ นายแสน ศรีคำ

ประเพณีที่สำคัญ

บ้านแก้งเป็นหมู่บ้านที่มีประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ที่สืบทอดกันมานับร้อยปี และผู้คนมีจิตใจเอื้ออารีต่อผู้มาเยือน และชาวบ้านด้วยกันเสมือนพี่น้อง จึงมีประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

1. ประเพณีสงกรานต์

2. แห่ข้าวพันก้อน

3. ประเพณีบุญเข้าพรรษา

4. ประเพณีการทอดกฐิน

5. ประเพณีบุญบั้งไฟ

6. ประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนา

วรรณกรรมที่สำคัญ

หมอลำพื้นบ้าน

กลอนแอ่วสาว

ปราชญ์ชาวบ้าน

1. นายจันทรา ศรีคำ สาขาจักสานต่างๆ จากไม้ไผ่

2. นายทองพูล ไชยรัตน์ สาขาจักสานจากไม้ไผ่ ใบตาล หวาย ผักตบชวา กก ผือ ซึ่งมีความสวยงามมาก

3. นายสวาท เครือบุตร สาขาเกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจพอเพียง และประธานกลุ่มออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน ซึ่งได้รับรางวัลการจัดการดีเด่น

4. นางอรุณศรี บรรจง สาขามัดหมี่ เลี้ยงไหม

ชาวบ้านแก้งประกอบอาชีพหลัก คือการทำนา ทำไร่ ทำสวน เช่น ทำสวนยางพารา ทำไร่ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกถั่ว ปลูกผักสวนครัว เป็นอาชีพเสริม

สถานที่ตั้ง
บ้านแก้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.๑ บ้านแก้ง ถนน เดชอุดม-น้ำยืน
ตำบล แก้ง อำเภอ เดชอุดม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลแก้ง
บุคคลอ้างอิง นางเบญจวรรณ โคตรตัสสา อีเมล์ benchawan03@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมอำเภอเดชอุดม
ถนน ประชา
ตำบล เมืองเดช อำเภอ เดชอุดม จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ ๐๘๑๘๗๔๖๕๘๐ โทรสาร ๐๔๕๓๖๑๓๐๓
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่