ประวัติความเป็นมา
เป็นการแสดงความรวดเร็ว ไหวพริบ ความสามัคคี การออกกำลัง ทั้งหมดไม่ต้องอาศัยสื่อที่เสียเงินซื้อ จะทำกันในกลุ่ม
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง
จะเกิดความผูกพันในชุมชน เกิดความคล่องตัว และสร้างพละกำลัง เป็นกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนเป็นมูลค่าเงิน แต่ได้คุณค่ามากมาย
วัสดุที่ใช้ / วิธีทำ
เตย ใช้ขีดบนลานกว้าง ไม่จำกัดผู้เล่น
แนด ใช้ขีดเส้นบนลาน ผู้เล่นแล้วแต่กำหนด
โกกา ก๊อบแก๊บ ใช้ไม้ใผ่ต่อขา และกะลามะพร้าวเจาะรู ผูกเชือกดึง เดิน
อี่โจ้ง ใช้ดินเหนียว ปั้นเป็นลูกกระสุน จะใช้กองก็ได้ หรือโยนลงหลุ่มก็ได้
บทบาทหน้าที่และสำความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน
จะใช้เล่นกันในเทศกาลสงกรานต์
จะใช้เล่น ในระหว่างหยุดพักผ่อน ขณะที่ไปเลี้ยงวัวควาย หรือวันหยุด
วิธีการเรียนการสอน การเลี้ยงดู (การไล่หนังสือ การสอนแบบตัวอย่าง การทำโทษ)
จะฝึกกันเอง จากอุปกรณ์
ในกลุ่มพี่ ๆ น้อง ๆ จะเล่นร่วมกันทั้งตัวเล็กตัวใหญ่
จะปรับกันในเกม ด้วยระเบียบวินัย ที่ตั้งไว้
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
เกิดความผูกพันในชาติพันธุ์ สร้างความสามัคคี ระหว่างวัยผู้ใหญ่ใจดี เด็กใฝ่ดี เกิดความอบอุ่นในสังคม เกิดระเบียบวินัย รู้ผิดชอบในกติกา
ประหยัด ไม่เปลืองพลังงาน
สร้างไหวพริบปฏิภาณ ชั้นเชิงหลอกล่อ
เกิดสมาธิจากการเล่น ความแม่นยำ สร้างกล้ามเนื้อทุกส่วน
สามารถปรับสายตาให้คมชัด ไม่ต้องเสียสายตาจากคลื่นรังษีไฟฟ้า
สถานที่ (วัด วัง บ้าน ครูโรงเรียน ผู้สอน ผู้เรียน) ไม่จำกัดสถานที่