ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 49' 34.7326"
15.8263146
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 15' 38.5135"
105.2606982
เลขที่ : 178384
กลองกิ่ง
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 347
รายละเอียด

ลักษณะของกลองกิ่ง
เป็นกลองที่ทำมาจากไม้ประดู่แดงทรงกระบอกกลวง ด้านหน้ากลองยาว ๔๐ ซม. ด้านล่างกลอง (ก้นกลอง) กว้าง ๓๐ ซม. สูงประมาณเท่าครึ่งของความกว้างหน้ากลอง หุ้มด้วยแผ่นหนังทั้งด้านหน้าและแผ่นหลัง ดึงเข้าหากันโดยหนังที่เรียกว่า หนังชัก และหนังหูกลองข้างกลอง ห่างจากหน้ากลองประมาณ ๒๐ ซม. เจาะเป็นรู สี่เหลี่ยมขนาด ๑๐ x ๑๕ ซม. เรียกว่า "รูแพ" เพื่อเป็นการระบายเสียงขณะตี ข้างในกลองเหนือรูแพจะเป็นปุ่มเรียกว่าลิ้นกลอง เพื่อทำหน้าที่ปรับระดับเสียงของกลอง (เหมือนลิ้นแคน)
การขุดกลอง ก่อนจะลงมือขุดกลอง ช่างต้องเลือกต้นไม้ ไม้ที่นิยมทำกลองได้แก่ ไม้ประดู่แดง ต้องเลือกต้นที่มีลักษณะของเซลล์ไม้ตรง ไม่คู้ หรือมีตา มีเส้นผ่าศูนย์กลางของแก่นไม้ประมาณ ๕๐ ซม. สูงประมาณ ๑ เมตร จำนวน ๒ ท่อน ไม้ชนิดอื่นก็ทำได้ แต่ไม่นิยม อาจเป็นเพราะขุดยากเมื่อทำเป็นกลองแล้วเวลาตีไม่ค่อยดัง และไม่แข็งแรง เครื่องมือที่ใช้ขุดกลองได้แก่ ขวาน สิ่ว สว่าน แชลง กบ และ "ง่อง" โดยการขุดตรงกลางไม้ให้กลวงเป็นโพรง มีความหนา บาง ตามความต้องการของช่าง การทำหนังหน้ากลอง ในสมัยก่อนนิยมทำมาจากหนังโค ปัจจุบันนิยมใช้หนังกระบือเพราะจะเหนียว และทนกว่า โดยเลือกหนังกระบือที่มีอายุระหว่าง ๕-๑๐ ปี และไม่อ้วนเกินไป กระบือ ๑ ตัวจะทำหนังหน้ากลองได้ สองหน้า ส่วนที่เหลือจะใช้ทำหนังก้นกลอง หนังหูกลอง และหนังชัก ก่อนจะนำหนังกระบือไปหุ้มหน้ากลอง ต้องผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาขูดโดยใช้มีดที่คมมาก ให้บางจนเป็นที่พอใจ (ยิ่งบางกลองยิ่งมีเสียงดัง)
ไม้ตีกลอง นิยมมาจากไม้เค็ง เพราะจะมีคุณสมบัติที่เหนียวทนทาน เวลาตีน้ำหนักดี มีความยาวประมาณ ๗๐ ซม. เหลาให้กลม ปลายไม้เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ซม. ตรงโคนไม้บริเวณมือจับพันด้วยผ้าให้พอดีเวลาตีแข่งขัน

วิธีการเล่นการเส็งกลองนิยมตีกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะต้องตีกลอง ๒ ใบ เจ้าของกลองจะต้องตรึงหน้ากลอง ให้ตึงที่สุด โดยการหมุน (ขัน) หนังชักกลองเข้าที่จะค่อยๆปรับระดับเสียงกลองแต่ละคู่ให้มีเสียงเดียวกัน (ภาษากลองเรียกว่า "เค่งกลอง") นำกลองที่เตรียมมาดีแล้วเข้าประกบคู่บนเวที หันหน้ารูแพกลองเฉียงเข้าหาคู่แข่งขันไปสู่ผู้ฟัง การตีกลองแข่งขันตีกันฝ่ายละ ๓ คน คนละ ๑ ยกๆละประมาณ ๒ นาที การตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาจากเสียงกลอง คู่ที่ชนะต้องมีเสียงใสแหลม สูง และต้องตีให้ชนะ ๒ ใน ๓ ยก กลองต้องไม่ขาดจึงจะถือว่าชนะ
โอกาส และเวลาที่เล่นการเล่นกลองกิ่ง หรือกลองเส็งไม่มีใครทราบว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่จะนำมาใช้แห่ในบุญเดือน หก (บุญบั้งไฟ) เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เสร็จแล้วจะมีการเส็งกลอง คือแข่งขันตีกลองอย่างสนุกสนาน ในปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการเส็งกลองกัน (ตีกลองกิ่งแข่งขัน) จึงเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "การเส็งกลอง"
คุณค่า / สาระชาวบ้านอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี นิยมการละเล่นแข่งขันเส็งกลอง ในบุญประเพณี บุญเดือนหก สนุกสนานเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เสียงเร้าใจ เกิดความสามัคคี กลมเกลียวกันในกลุ่มแต่ละหมู่บ้าน และเป็นการแสดงออกถึงความสามารถ ภูมิปัญญาในการจัดทำอุปกรณ์การเล่นเอง

สถานที่ตั้ง
วัดสว่างวนาราม
หมู่ที่/หมู่บ้าน 17 บ้านแดง
ตำบล โพธิ์ไทร อำเภอ โพธิ์ไทร จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระครูโสภณวนาภิรักษ์
ชื่อที่ทำงาน วัดสว่างวนาราม
หมู่ที่/หมู่บ้าน 17 บ้านแดง
ตำบล โพธิ์ไทร อำเภอ โพธิ์ไทร จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34340
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่