ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 54' 14.4972"
19.904027
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 49' 8.8392"
99.819122
เลขที่ : 178545
หอศิลป์ไตยวน
เสนอโดย muang_tuy วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : เชียงราย
0 723
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ที่อยู่250 หมู่ 15 ซ.3 ราชโยธา ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000

ฉลอง พินิจสุวรรณ ศิลปินและนักเขียน ผู้ก่อตั้งหอศิลป์ไตยวน พื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านสันโค้งน้อยเมื่อเข้ารับราชการครู

ครูฉลองรู้จักสันโค้งตั้งแต่สมัยเรียน เพราะต้องเข้ามาเรียนหนังสือที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เมื่อปีพ.ศ. 2509 สมัยนั้นชุมชนสันโค้งเป็นเพียงทุ่งนาโล่งๆ

“สมัยก่อนโรงเรียนเทคนิคเขาเรียกว่าโรงเรียนช่างไม้ แถวนั้นเป็นป่า ด้านข้างที่เป็นโรงเรียนสันโค้ง เดิมเป็นทุ่งโล่ง บ้านแต่ละหลังตั้งอยู่ห่างๆ กัน เป็นแบบนี้จนถึงสี่แยกเด่นห้า ช่วงบริเวณหน้าวัดเชตุพนจนถึงสุสานเด่นห้าเป็นช่วงที่น่ากลัวที่สุด ใครผ่านไปช่วงนั้นต้องวิ่งลูกเดียว เร็วใครเร็วมัน”

ชาวสันโค้งที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมเป็นชาวไตเขิน อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ในประเทศจีน คนไตที่มาจากแคว้นสิบสองปันนามีหลายกลุ่ม ทั้งไตลื้อ ไตยวน ไตยอง ไตเขิน ที่มาของชื่อหอศิลป์ไตยวน เพราะพื้นเพเดิมของครูฉลองเป็นชาวไตยวนที่อพยพมาจากทางเชียงแสน เอกลักษณ์คือผู้ชายจะมีการสักยันต์ที่ต้นขา ถือเป็นเครื่องรางของขลัง เพราะอดีตมีศึกสงครามบ่อยครั้ง จึงต้องมีเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันตัว และต้องมีคาถาอาคมไว้ คนเก่งเท่านั้นจึงจะทำให้บ้านเมืองอยู่ได้ ผู้ชายที่เป็นนักรบทุกคนจะต้องมีรอยสักเพื่อให้พ้นคมมีดคมดาบ ดังนั้นเนื้อหนังมังสาจึงต้องรักษาไว้ พร้อมกับเรียนรู้คาถาอาคมควบคู่กัน

ไตยวนกับไตเขินเป็นคนละชนเผ่ากัน ต่างกันที่สำเนียงการพูด ไตยวนเดิมอพยพมาจากทางเชียงแสน แต่ถูกเผาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 1 เพราะเดิมเป็นเขตอิทธิพลของพม่า ล้านนาจึงต้องขอความช่วยเหลือจากรัตนโกสินทร์ เชียงแสนจึงต้องถูกเผาเพื่อไม่ให้พม่ากลับมาตั้งถิ่นฐานได้อีก

ครูฉลองมองว่า ตอนนี้เชียงรายเหมือนกับอยู่ในช่วงศิลปะยุคฟื้นฟู (renaissance) เราต้องกลับเข้ามาหารากเหง้าของตัวเอง เอาศิลปะของตัวเอง เรื่องภาษาก็ดี วัฒนธรรมก็ดี ภาพเขียน งานศิลปะ กลับคืนมา

หลังจากใช้ชีวิตรับราชการถึง 28 ปี ครูฉลองจึงปลดเกษียณราชการ แล้วหันมาทุ่มเทให้กับงานศิลปะ และงานเขียนอย่างที่ตนรัก หอศิลป์ไตยวนเป็นบ้านทรงล้านนา ชั้นบนเป็นสตูดิโอสำหรับทำงาน ทั้งวาดรูป และเขียนหนังสือของครู ชั้นล่างเป็นห้องแสดงผลงาน เดิมเป็นเพียงห้องเก็บผลงาน แต่เมื่อมีผลงานมากขึ้น จึงเปิดเป็นหอศิลป์ให้เข้าชม มีทั้งผลงานของครูฉลอง และบางส่วนจากเพื่อนศิลปินที่มอบให้เป็นของขวัญในวันเปิดหอศิลป์

การเข้าชมหอศิลป์ไตยวนควรติดต่อก่อนเข้าชม

โทรศัพท์ 053-712137, 0896319438

อีเมลล์ taiyuan_artgallery@hotmail.com

สถานที่ตั้ง
หอศิลป์ไตยวน
เลขที่ 250 หมู่ที่/หมู่บ้าน 15 ซอย 3 ถนน ราชโยธา
ตำบล รอบเวียง อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หอศิลป์ไตยวน
บุคคลอ้างอิง จุฬาภรณ์ ทองสุทธิ อีเมล์ muang_tuy@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม อีเมล์ muang_tuy@hotmail.com
ถนน ธนาลัย
ตำบล เวียง อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57000
โทรศัพท์ 053-716771 โทรสาร 053-716771
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่