เนื่องจากบรรพบุรุษรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย มีความเชี่ยวชาญในการทำขนมหลากหลายชนิด ทำให้ ได้มีโอกาสเรียนรู้ และฝึกหัดทำขนม รวมทั้งได้เทคนิควิธีการทำขนมให้อร่อยตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ประกอบกับรักและสนใจในการทำขนม โดยมีเหตุผลเพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว นอกจากนี้ยังได้เรียนการทำขนมเพิ่มเติมจากศูนย์การศึกษานอก โรงเรียน และเข้ารับการอบรมการทำขนมจากโครงการฝึกอบรมทำขนมของกลุ่มแม่บ้านแต่เดิมมีอาชีพทำขนมขายตามหมู่บ้าน หารายได้ช่วยสามี แต่ปัจจุบันจะทำขนมขายทุกเดือนยกเว้นช่วงเดือนถือศีลอดจะไม่ขาย ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักและไม่นิยมรับประทานขนมโบราณ คิดว่าเชย ไม่ทันสมัยเหมือนรับประทานขนมกรุบกรอบ ที่มีให้เลือกมากมายในปัจจุบัน อีกทั้งครูภูมิปัญญาในชุมชนที่มีความสามารถในการทำขนมโบราณเหลือเพียงไม่กี่ คน และส่วนใหญ่มีอายุมาก หากไม่มีการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังคงจะสูญหายไปอย่างแน่นอน จึงได้ทำการจะถ่ายทอดความรู้ด้านการทำขนมโบราณให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนที่สนใจ ขนมฝักบัวมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นการนำแป้ง แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บ หรือน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ ผสมให้เข้ากัน สูตรเดิมแต่โบราณ ความข้นของแป้งขนาดนมข้น ปัจจุบันนี้จะมีส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียว และจะเปลี่ยนจากน้ำตาลปี๊บเป็นน้ำตาลทราย บางก็ดัดแปลงใส่กล้วยหอม ใส่น้ำใบเตยแทนน้ำเปล่า ลักษณะที่ดีของขนมฝักบัว คือแป้งต้องนุ่ม ขอบขนมต้องกระดกขึ้นมาตรงกลางนูนและนุ่ม มีรสชาติหวาน และด้านล่างของขนมเป็นใยเหมือนสายบัว บริเวณรอบๆ กรอบ ขนมฝักบัวมักจะใช้ในพิธีแต่งงานโดยใส่ในขันหมากและจะชิ้นใหญ่ๆไม่ได้ทำเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ หรืออย่างที่เราๆเห็นกัน ความหมายที่ทำให้ใหญ่และนำขนมฝักบัวใส่ในขันหมาก สันนิษฐานไว้ว่า หมายถึง ความเจริญเติบโตของบัวในสระ ที่เป็นไปอย่างง่ายๆและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้การดูแลมากมาย จากเหตุนี้เลยทำให้คิดกันไปว่าง่ายๆ และรวดเร็วนี่และจะเป็นจุดเด่นของการทำขนมฝักบัวมาในขันหมาก เพื่อหวังให้คู่สมรสเจริญรุ่งเรืองและรวดเร็วอย่างง่ายๆเช่นกัน วิธีทำขนมจูโจ ๑. ร่อนแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลีและเกลือรวมกัน ๒. เติมน้ำเปล่าทีละน้อยนวดจนเข้ากัน ใส่น้ำตาลทีละนิดจนหมดนวดจนกระทั่ง แป้งนิ่ม ประมาณครึ่งชั่วโมง ค่อยๆเติมน้ำเปล่า ๓. เคล้ากันจนได้ที่ ๔. ตักหยอดลงในน้ำมันที่ร้อนทีละแผ่น ใช้ไม้แหลมๆ หมุนวนขนมไปเรื่อยๆ โดยหมุนวนขนมไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องพลิกขนมจนกระทั่งสุก ๕. จะได้ขนมจูโจพร้อมสำหรับรับประทาน สถานที่ตั้ง |
บ้านเลขที่ ๕๒/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา รหัสไปรษณีย์ ๙๕๑๓๐
ประวัติผู้ให้สัมภาษณ์ นางรอมือละ และยาซิง อาชีพค้าขาย เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ระดับการศึกษา จบประถมศึกษา ๔ มีบุตร ๓ คน เป็นผู้หญิง ๒ คน และผู้ชาย ๑ คน ชื่อสามี นายฮะมะ และยาซิง อาชีพ ทำสวน
โดยได้ดำเนินการทำขนมพื้นบ้านมาเป็นเวลา ๑๐ปี ได้เรียนรู้มาจากแม่และการศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง