ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 0' 32.985"
15.0091625
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 47' 4.547"
104.7845964
เลขที่ : 180203
“ไพหญ้าคา”
เสนอโดย waiphod วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 4 มีนาคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1200
รายละเอียด

“ไพหญ้า”คือการนำใบหญ้าคามาประกอบกันเป็นแผ่นก่อนที่จะนำขึ้นไปมุงหลังคา โดยต้องเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ ขั้นแรกต้องไปเก็บเกี่ยวเอาใบหญ้าคาที่อายุกำลังพอเหมาะ คือไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ถ้าเป็นหญ้าอ่อนก็จะไม่คงทนแดดฝน และถ้าแก่จัดก็จะกรอบ ไพได้ยาก ถัดจากนั้นก็จะมี "ไม้ก้านหญ้า" เป็นริ้วไม้ขนาดโตกว่าหัวแม่มือเล็กน้อย ความยาวมาตรฐานคือ ๓ ศอก หรือประมาณ ๑ เมตรครึ่ง ในอดีตนิยมใช้"ไม้ลำดวน" ปัจจุบันนิยมใช้ (ไม้ไผ่) ซึ่งหาง่ายกว่า โดยนำมาทำเป็นริ้วขนาดโตประมาณหัวแม่มือ ดัดให้ตรงด้วยการลนไฟ อีกทั้งเป็นการป้องกันมอดปลวกได้อีกทางหนึ่ง ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือเชือกสำหรับถักไพหญ้า เมื่อก่อนนิยมลอกเอาเส้นใยปอแก้วมาทำเป็นเชือกถัก แต่ปัจจุบันใช้เชือกฟางพลาสติกซึ่งหาได้ง่ายกว่า การทำจะใช้เวลาว่างจากงานในไร่ในนา หรือนอกฤดูทำนา เก็บเกี่ยวใบหญ้าคามาทำ "ไพหญ้า" ขาย ถ้าชำนาญในการไพ อาจทำได้ถึง ๒๐-๔๐ ไพต่อวัน ขายราคาไพละ ๑๕ บาท

เกี่ยวกับวิถีชีวิตเนื่องจากในอดีตบ้านเรือนในชนบทส่วนใหญ่ใช้หญ้าคามาไพทำเป็นหลังคาบ้าน ชาวชนบททางภาคอีสาน จึงได้รับความรู้และวิธีการไพหญ้าจากพ่อ แม่ หรือบรรพบุรุษ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ ถึงแม้ในปัจจุบันบ้านเรือนไม่ได้มุงหลังคาด้วยหญ้าคาแล้ว แต่ผู้คนก็ยังนิยมนำไพหญ้าคาไปมุงหลังคากระท่อม ทำร้านอาหาร แพปลา และทำโรงเรือนต่าง ๆ เนื่องจากหลังคาที่มุงด้วยหญ้าคานั้นจะเย็นสบาย

ประหยัดกว่ากระเบื้องและสังกะสี นี่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไพหญ้าคายังคงอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วิธีทำ

1. นำหญ้าคาที่สางเอาไว้ มาจัดให้มีความยาวสม่ำเสมอกัน พรมน้ำให้อ่อนเล็กน้อย

2. จัดหญ้าให้เป็นลำมีจำนวนลำละ 10 – 15 เส้น เพราะจะได้ไพหญ้าที่หนาแน่น

3. สอดจับหญ้าใต้ไม้ก้านหญ้า แบ่งครึ่งใบ ส่วนที่แข้งและหนา โดยให้ปลายใบอยู่ทางซ้ายมือ ส่วนก้านใบอยู่ ทางขวามือ ให้ส่วนโคนชนกับไม้รองหัว หรือผนัง

4. ใช้เชือกผูก (ใบลาน) จับหญ้าตรงกลางติดกับไม้ก้านหญ้าดึงให้แน่นแล้วพับก้านใบทับไม้ก้านหญ้าไปทางด้านปลายใบใช้เชือกผูกพันไว้

5. ผูกจับหญ้า ต่อไปจนสุดก้านไม้หญ้า ผูกเชือกให้แน่น

6. นำตับหญ้าที่ไพเสร็จแล้วไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำไปเก็บไว้โดยมัดตับละ 5 ไพ

นอกจากหญ้าคาจะช่วยกันแดด กันฝนแล้ว มันยังจะช่วยกันความร้อนจากแสงแดดได้ดีและให้ความเย็นสบายได้มากทีเดียว ผู้คนส่วนมากตามชานเมือง และในชนบทจึงนิยมนำหญ้าคาไปสร้างเป็นกระท่อมน้อยข้างบ้าน ไว้สำหรับนอนเล่น นั่งเล่นสนทนากันพูดคุยกันในช่วงภาคเที่ยงและภาคบ่าย เพราะช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอากาศที่ร้อนอบอ้าว

ซึ่งหญ้าคาก็จะช่วยกำจัดความร้อนได้ค่อนข้างดี

สถานที่ตั้ง
บ้านบูรพา
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ ซอย - ถนน -
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลสำโรง
บุคคลอ้างอิง นายไวพจน์ อ่อนวรรณะ อีเมล์ waiphod@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสำโรง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 9 ถนน -
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34360
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่