ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 35' 57.1772"
13.5992159
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 4' 43.0738"
101.0786316
เลขที่ : 181640
ประวัติตำบลแสนภูดาษ
เสนอโดย napaporn วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย mculture วันที่ 17 พฤษภาคม 2559
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 2235
รายละเอียด

ตำบลแสนภูดาษ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง มีพื้นที่ 7,138 ไร่ ประชากร 2,564 คน แบ่งการปกครอง เป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านด่านเก่า บ้านนอก และบ้านหมู่ใหญ่ มีนายเย็น พ่วงสมบัติ เป็นกำนันตำบลแสนภูดาษและ นายสุเทพ กรัสประพันธ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในตำบลแสนภูดาษมีโรงงานกว่า 20 แห่ง มีคนงานประมาณเกือบ 5,000 คน ประชาชนมีรายได้ดี ไม่ว่างงาน อบต.จัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นที่ได้มาก นำมาพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ความเป็นมาของชุมชน นายใหญ่ รวยสำราญ และอาจารย์ประไพ พันธนะวรพิน ได้สัมภาษณ์นายถนอม หร่ายเจริญ อายุ 82 ปี และศึกษาข้อมูลจากวัดและโรงเรียน พอสรุปได้ว่า ประชากรตำบลแสนภูดาษเป็น คนพื้นที่เดิม และพวกที่อพยพมาจากถิ่นอื่นบ้าง สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ตั้งด่านเก็บภาษีจะถูกส่งมาจากคลองด่าน และเมืองสมุทรปราการ อยู่ไปนานๆ ก็มีญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงอพยพมาอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ยกเลิกด่านจัดเก็บภาษี ผู้คนเหล่านี้มิได้อพยพกลับ คงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เดิม บริเวณแห่งนี้ได้ชื่อว่า หมู่บ้าน “ด่านเก่า” เพราะเป็นสถานที่ตั้งด่านเก็บภาษีทางเรือ

ชื่อของตำบลแสนภูดาษ เนื่องจากตำบลนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นที่ราบลุ่มชายเลน มีต้นลำพูขึ้นอยู่มากมาย ที่บริเวณโคนต้นจะมีหน่อลำพูแตกออกมาอยู่ใต้ดินและบนดินอย่างเนื่องแน่น เวลาน้ำขึ้นในคืนเดือนหงาย พระจันทร์เต็มดวง มองเห็นหน่อลำพูที่โผล่พ้นน้ำมีสีค่อนข้างขาวดื่นดาษไปหมด นับเป็นแสน ๆ หน่อ ชาวบ้านจึงหยิบยกเอาธรรมชาติที่เป็นจุดเด่น สวยงาม ไม่มีที่ใดเหมือน ตั้งเป็นชื่อตำบลว่า “ตำบลแสนภูดาษ” คำว่า “ภู”นั้น ในสมัยโบราณการเขียนหนังสือไทยไม่ค่อยเข้มงวดกวดขันเท่าไรนัก มุ่งแต่เพียงให้อ่านออกก็พอแล้ว คำที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า “พู” เพราะมาจาก คำว่า “ลำพู” หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นในน้ำกร่อย

วิถีชีวิตของคนในชุมชนนี้ ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ต้น ทำมาหากินอาศัยธรรมชาติ ได้แก่ การทำนา ทำการประมงริมฝั่งแม่น้ำ การเลี้ยงสัตว์ และอาชีพตัดหน่อลำพูขาย เพื่อนำไปทำจุกขวดน้ำปลา และขวดสุรา ปัจจุบันมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นมากมาย มีสนามกอล์ฟเป็นสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ ชุมชนเจริญก้าวหน้า เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก

สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบ้านโพธิ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล บ้านโพธิ์ อำเภอ บ้านโพธิ์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
(บุคคล/หน่วยงาน/หนังสือ/เอกสาร)
บุคคลอ้างอิง น.ส.อารี พรธวัลวงศา
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบ้านโพธิ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล บ้านโพธิ์ อำเภอ บ้านโพธิ์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24140
โทรศัพท์ 038-587155 โทรสาร 038-587155
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่