การสานแหภูมิปัญญาสาขาศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ จากการสัมภาษณ์ นายพนม เฮ้าเส็ง เกิดวันที่10 มกราคม พ.ศ. 2511 ไม่ได้เรียนหนังสือ อาชีพเกษตรกรรม บ้านเลขที่ 49 บ้านนาคูณ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น 40150
ประวัติความเป็นมา
แหถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีความหวังเรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลองถูกจนเป็นความรู้จากประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ตนเองได้สืบทอดการทอดแหมาจากพ่อ ฝึกให้ทำตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โดยทำเป็นตั้งแต่อายุได้ 21ปี ได้สอนมาตั้งแต่เด็กว่า ชายที่หว่านแหไม่“มน” (กลม) ถือเป็นชายที่ไม่พอที่จะแต่งงานได้ คือต้องฝึกหัดเหวี่ยงแหให้มนก่อน คือหาอยู่หากินได้ เขาจึงจะยกลูกสาวให้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. ด้ายไนล่อน หรือ เอ็น หรือ ป่าน ปัจจุบันนิยมใช้แหเอ็น เพราะจมน้ำเร็ว ถ้าเป็นไนล่อนหรือ ป่าน จะจมน้ำได้ช้าเนื่องจากป่านและด้ายไนล่อนต้องใช้เวลาในการอุ้มน้ำจนเต็มที่แล้วจึงจม ปลาหนีได้ก่อนแหจมน้ำ เป็นสาเหตุให้จับปลาได้น้อย
2. กีมใส่ด้าย เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า
3. ไม้ปาน หรือ ไม้แบบมีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัด
4. จอมแห เอาด้ายไนล่อนสีขาวมาทำจอม คือ จุดเริ่มต้นในการสานลักษณะการทำจอมมีบ่วงไว้สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน การก่อจอมตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น
5. โซ่
วิธีทำ
1. เอาด้ายใส่กิม
2. วิธีสานเรื่อยจากจอมแหไปถึงเพลาแห เริ่มถักแหโดยเริ่มถักจากก่อจอมแหแล้วเอาไม้ปานสอดขึ้นลง ต้องถักขยายขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละระดับของความยาวแหทำแหบานออกไปเรื่อยเหมือนปิรามิด เทคนิคทำให้แหบานคือต้องเอา“แข”
3. เมื่อถักเสร็จแล้ว นำโซ่มาผูกกับปลายแห เพื่อช่วยถ่วงน้ำหนักของแห
4. หากมีการผิดพลาดเมื่อจะตัดด้ายควรใช้ไฟลนเพื่อไม้ให้เกิดการยุ่ยของด้าย
ราคาขาย/ปากคิดตามความยาวของแห ราคาขายเป็นศอก ๆ ละ 150 บาท