ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 42' 3.4661"
14.7009628
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 25' 14.2468"
103.4206241
เลขที่ : 182980
คริสจักรสู่ความไพบูลย์ นิคมปราสาท
เสนอโดย pom_21 วันที่ 8 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สุรินทร์ วันที่ 7 มิถุนายน 2556
จังหวัด : สุรินทร์
0 395
รายละเอียด

ชื่อหน่วยงานคริสจักรสู่ความไพบูลย์ นิคมปราสาท ภายใต้องค์การฉันทมิตร ในสังกัดสหกิจคริสเตียน

แห่งประเทศไทย

ที่ตั้ง247 หมู่ 12 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32140

ผู้นำองค์กรนางสาวกรรภิรมย์ เหมือนรัตน์

โทรศัพท์086 – 260 – 0160

ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน

นิคมโรคเรื้อนอำเภอปราสาทจัดตั้งขึ้นโดยองค์การฉันทมิตร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยใช้ชื่อว่า“คริสจักรสู่ความไพบูลย์ นิคมปราสาท ภายใต้องค์การฉันทมิตร ในสังกัดสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย”เพื่อสนับสนุนให้ทุนการศึกษาผ่านมูลนิธิดรุณาทร ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จัดอบรมส่งเสริมอาชีพ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในนิคมปราสาท

ในอดีตผู้ที่เป็นโรคเรื้อน คนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกรังเกียจ เนื่องจากโรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ประกอบกับรูปลักษณ์ที่ไม่น่าดูเมื่อมีความพิการ หรือมีแผลเรื้อรัง จึงทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกรังเกียจผู้ป่วยโรคเรื้อน เนื่องจากกลัวว่าจะติดโรคนี้ถ้าหากเข้าใกล้ แต่ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิง และมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า“ชุมชนราชประชาร่วมใจ”เพื่อโอนถ่ายนิคมโรคเรื้อนให้เป็นชุมชนปกติ โดยเริ่มในนิคมปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นแห่งแรก และหวังให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในนิคมโรคเรื้อนได้หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชุมชน ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือขับเคลื่อน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนอย่างทั่วถึง โดยหน่วยงานเครือข่ายมีความตกลงที่จะร่วมมือกันดำเนินการ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 จังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนการดูแลด้านสุขภาพทางร่างกายและจิตใจประชาชนที่อาศัยอยู่ในนิคมโรคเรื้อนอย่างทั่วถึงเช่นเดียวกันกับชุมชนทั่วไป

ข้อ 2 กรมควบคุมโรคจะดำเนินการโอนบรรดากิจการของนิคมโรคเรื้อนปราสาทให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิงรับผิดชอบดูแลต่อไป แต่ยังให้การสนับสนุนเงินสงเคราะห์ผู้พิการจากโรคเรื้อน เบี้ยยังชีพและเงินค่าอาหารแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อน

ข้อ 3 จังหวัดสุรินทร์ร่วมมือและสนับสนุนให้ การดูแล ช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะแก่องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิงในการจัดทำ หลักฐานการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อ จัดที่ดินให้แก่ราษฎรที่ครอบครองอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวมาเป็นเวลานาน โดยการจัดทำโครงการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มี การบุกรุกเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท

ข้อ 4 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโรคเรื้อนอย่างทั่วถึงเช่นเดียวกันกับชุมชนทั่วไป

ข้อ 5 องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิงจะรับโอนบรรดากิจการนิคมโรคเรื้อนปราสาทจากกรมควบคุมโรค และดำเนินการบริหารจัดการเหมือนชุมชนทั่วไปและกำกับดูแลการบริหารเงินกองทุนส่งเสริมอาชีพของนิคม

ข้อ 6 มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ และฟื้นฟูด้านอื่นๆ ภายใต้ภารกิจของมูลนิธิ

องค์การฉันทมิตรเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1982 โดย แพทย์หญิงกาญจนา คงสืบชาติ แพทย์คริสตชนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนังและโรคเรื้อน ขณะนั้นท่านรับราชการในกรมควมคุมโรคติดต่อ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงนำให้ท่านได้พบกับพันธมิตร ในการรับใช้พระเจ้าในงานโรคเรื้อน คือ มร.อิซากุ ฟูจิวารา ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิ โคเซนซา องค์การคริสเตียน ที่ท่านทำงานกับผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อน ในประเทศญี่ปุ่น

หลังจากพบกันทั้งสองท่านได้มีโอกาสแบ่งปันภาระใจ เพื่อที่จะนำความรักและการช่วยเหลือของพระเจ้าไปสู่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อน ซึ่งมีอยู่มากในประเทศไทยเวลานั้น ทั้งนี้พระเจ้าได้ประทานความรักในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อน และภาระใจแก่ท่านทั้งสอง ให้ประธานมูลนิธิโคเซนชาสนับสนุน พญ. กาญจนา คงสืบชาติ เริ่มก่อตั้ง องค์การฉันทมิตร เพื่อจะนำความช่วยเหลือในด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณไปสู่ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อน องค์การ ฉันทมิตร จึงเกิดขึ้นจากความรักของพระเจ้า และน้ำพระทัยของพระองค์ที่ จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่สังคมรังเกียจและทอดทิ้งให้ได้รับการช่วยเหลือจากพระ เจ้า ทั้งในฝ่ายร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

กิจกรรม ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งของ องค์การฉันทมิตร คือ การเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยตามนิคมโรคเรื้อนของรัฐฯ พร้อมกับนำสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีพไปให้ สนับ สนุนการสร้างคริสตจักรในนิคมโดยการประสานความช่วยเหลือกับทางภาครัฐฯ และคริสตจักรต่างๆ ในช่วงแรก แพทย์หญิงกาญจนา และคริสตชนกลุ่มเล็กๆ ที่มีภาระใจได้ร่วมกัน ทำงานฐานะอาสาสมัคร ต่อมาในปี 1986 งานขององค์การฯขยายมากขึ้นจำเป็นต้องมีผู้ทำการเต็มเวลา คุณหมอกาญจนาจึงได้ลาออกจางานราชการของกรมควบคุมโรคติดต่อ เพื่อมารับราชกิจของพระเจ้าเต็มเวลา ในองค์การฉันทมิตร ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นองค์การฉันทมิตร ภายใต้สหกิจคริสตเตียนแห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน องค์การฉันทมิตรเป็นองค์การคริสเตียนสาธารณกุศล ที่มีผู้ร่วมงานเต็มเวลา 35 ท่าน และสนับสนุนบางส่วน 3 ท่าน ทำงานในพื้นที่ที่มีนิคมของผู้ป่วยตั้งอยู่จำนวน 8 แห่งใน 12 แห่งทั่วประเทศไทย กิจกรรมในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อนและครอบครัว มีดังนี้คือ

1.โครงการฉันทมิตรโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อนโดยตรงใน 3ด้าน คือ
- ด้านร่างกายให้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพฝ่ายร่างกาย โดยให้อวัยวะเทียมแก่ผู้ป่วยที่พิการ

แขน ขา การผ่าตัดรักษาอวัยวะบางส่วน ในรายที่ยังสามารถรักษาให้เป็นปกติได้โดยประสานความร่วมมือกับอาสาสมัครชาว ต่างชาติที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น สนับสนุนโดยมูลนิธิโคเซนชาแห่งประเทศญี่ปุ่น ให้มีแพทย์มาทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยในประเทศไทยเป็นครั้งคราว มีพยาบาลอาสาสมัครมาประจำที่สถานพยาบาลโนนสมบูรณ์ จ.ขอนแก่น

- ด้านจิตใจเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ผู้ป่วยมักได้รับความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจไม่น้อยไปกว่าด้านร่างกาย องค์การฉันทมิตร มีผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลาขององค์การฯ ในตำแหน่งศิษยาภิบาลคริสตจักรอยู่ประจำในนิคมโรคเรื้อน 8 แห่ง เพื่อเป็นเพื่อนคอยเลี้ยงดู หนุนใจผู้ป่วยในนิคมฯ นอกจากนี้ยังได้ให้มีการอบรมอาสาสมัครที่เป็นผุ้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อน มีภาระใจในการไปประกาศ เยี่ยมเยี่ยน หนุนใจผู้ป่วยด้วยกันในโครงการ ฉันทมิตรสัญจร หรือกลุ่มธรรมฆารวาส จำนวน 15 คน อยู่ระยะหนึ่ง เป็นเวลา 4 ปี เนื่องจากผู้ป่วยอายุมากขึ้น ร่างกายทรุดโทรมจึงได้หยุดไป

- ด้านจิตวิญญาณจากการเป็นเพื่อนแท้และรับใช้พระเจ้าด้วยความรักที่มีต่อผู้ป่วยด้วยโรค เรื้อนของเจ้าหน้าที่ในองค์การฯ ให้ความช่วยเหลือในด้านร่างกาย และจิตใจนั้นทำให้ผู้ป่วยฯได้สัมผัสความรักของพระเจ้า และตัดสินใจติด ตามพระเยชูคริสต์ เมื่อมีผู้เชื่อในนิคมฯ ใดมากพอที่จะตั้งเป็นศาลาธรรมหรือคริสตจักรได้ ทางองค์การฯ ก็จะสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารคริสตจักร และให้มีผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลาในตำแหน่งศิษยาภิบาลคริสตจักรขึ้นที่นั่น ทุกๆ ปีๆ ละ 1 ครั้ง ก็จะจัดให้มี ค่ายฉันทมิตร ซึ่งเป็นค่ายใหญ่รวมผู้เชื่อและผู้สน ใจในทุกนิคมฯ ให้ได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในทางธรรมและพัฒนาจิตวิญญาณของผู้เชื่อให้ เข้มแข็ง ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยฯ ที่ตั้งตาคอย ที่จะได้ร่วมสามัคคีธรรมร่วมกับพี่น้องคริสเตียนที่เป็นผู้ป่วยจากนิคมต่างๆ ช่วยให้สมาชิกนิคมต่างๆ ได้รู้จักกันทั่วประเทศ นอกจากนั้นในค่ายยังมีโอกาสเรียนรู้การดูแลตนเอง การเล่นเกมส์ ในค่ายนี้เองผู้ป่วยได้เรียนรู้จักความรักและความเสียสละ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยรู้จักการให้และมีความต้องการส่งต่อความรักให้ ผู้อื่นด้วย

การพัฒนาชุมชนนอก จากงานเหล่านี้ องค์การฉันทมิตรยังได้มีส่วนในการพัฒนาหมู่บ้านในนิคมโรคเรื้อนหลายแห่ง เช่น การขุดสระ ทำบ่อน้ำ สนับสนุนการทำประปาหมู่บ้าน ปั้นโอ่งฯ สร้างเขื่อนดิน สร้างคริสตจักรและสร้างสนามเด็กเล่น

การ ส่งเสริมอาชีพ มาในปี ค.ศ.2001 โดยการสนับสนุนจาก อเมริกันเลโปรซี่มิชชั่น แนะนำองค์การไฮเฟอร์ เพื่อการส่งเสริมอาชีพอย่างยั่งยืน และตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง มีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เลี้ยงโค, กระบือ, ปลา, กบ หรือการเกษตรสวนครัวหลังบ้านตามความถนัดของชุมชน ช่วยให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้นในจำนวนไม่น้อย

การ ส่งเสริมความรู้ผู้ปฎิบัติงาน มูลนิธิโคเซนชา ซึ่งเป็นเพื่อนรักตลอดกาลของฉันทมิตรได้จัดทุนให้ผู้ปฎิบัติงานฉันทมิตร ไปดูงานระยะสั้นที่ญี่ปุ่นเกือบทุกปีๆ ละอย่างน้อย 2 คน เป็นการให้กำลังใจความรู้ และความเข้าใจในความร่วมมือกัน ยิ่งกว่านั้น มูลนิธิโคเซนชา ยังได้ให้ทุนดูงานแก่ข้าราชการของกองโรคเรื้อน โรงพยาบาลและ นิคมต่างๆ ด้วย

2. โครงการสัมผัสรักคือ โครงการที่ให้ความเป็นเพื่อนแก่บุตรหลานของผู้ป่วยฯ ทั้งนี้ เนื่องจากลูกหลานผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อน มักได้รับการรังเกียจจากสังคมภายนอกด้วย ประกอบกับขาดการดูแลที่เหมาะสมจากผู้ปกครองที่เป็นผู้ป่วยฯด้อยโอกาสในการ ศึกษา ทำให้มีปัญหามากทั้งในด้านร่างกายจิตใจ และสังคม ทางองค์การฯ จึงจัดโครงการให้ความช่วยเหลือแก่บุตรหลานของผู้ป่วยฯ ในทุกนิคมใน 3 ด้าน คือ

- จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในนิคมฯเพื่อ เตรียมเด็กให้มีความพร้อมในด้านสุขภาพร่างกาย ทางสติปัญญาและสังคมโดยมีนักโภชนากรที่เป็นอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นร่วมใน โครงการฯด้วย ในระยะแรกและช่วยให้พ่อแม่ได้ไปประกอบอาชีพหารายได้เพิ่ม เพื่อช่วยเหลือครอบครัว - จัดหาทุนเพื่อการศึกษาให้แก่บุตรหลานผู้ป่วย ที่ยาก จน โดยประสานงานกับองค์กรทุน เพื่อการศึกษาเด็ก เช่นองค์การคอมแพสชั่น และมูลนิธิโคเซนชา, สมาคมชาวญี่ปุ่นในประเทศไทยและส่วนบุคคลอื่นๆ ด้วย ซึ่งต่อมาให้ทุนถึงระดับอุดมศึกษา

- จัดค่ายสัมผัสรักและทัศนศึกษาสำหรับบุตรหลานผู้ป่วยในนิคมต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตด้านจิตวิญญาณและสังคมและปลูกฝังจริยธรรมคริสเตียนและส่ง เสริมสติปัญญา โดยตั้งชื่อค่ายว่า ค่ายสัมผัสรัก จัดปีละครั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1989ต่อมาในปี 1996 ได้จัดกิจกรรมตามวัยของเด็ก โดยแบ่งเป็น2 กลุ่ม คือ - เยาวชน อายุตั้งแต่ 9 – 18 ปี จัดค่าย 3 - 4 วัน ในสถานที่ต่างๆ เด็ก อายุต่ำกว่า 9 ขวบลงมา จัดทัศนศึกษา1 วัน ที่ผ่านมาได้จัดในสวนสนุก ต่างๆ เช่น แดนเนรมิต ดรีมเวิลด์และซาฟารีเวิลด์ ฯลฯ ระยะหลังคอมแพสชั่นได้เน้นการพัฒนามากกว่าการสงเคราะห์ หลายโครงการช่วยให้บุตรหลาน ก้าวหน้าอย่างมาก บางโครงการได้พัฒนาถึงระดับนานาชาติ

สถานที่ตั้ง
ตำบล เชื้อเพลิง อำเภอ ปราสาท จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง chaichana boonsan อีเมล์ pom_kung21@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.สุรินทร์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่