ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 46' 23.6298"
15.7732305
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 41' 18.1702"
104.6883806
เลขที่ : 183421
หมอนขิด
เสนอโดย sununtha วันที่ 11 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย อำนาจเจริญ วันที่ 12 มีนาคม 2556
จังหวัด : อำนาจเจริญ
0 631
รายละเอียด

การทอผ้าซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของชาวอีสานที่มีความผูกพันกับคติความเชื่อของชาวอีสานมาช้านาน ดังจะเห็นได้จาก “ผ้าขิด” ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำหมอนขิด เป็นผ้าที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป ผ้าขิดเป็นผ้าที่ต้องใช้ฝีมือและความสามารถในการทอสูงกว่าผ้าชนิดอื่น ช่างอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง จึงมักจะทอใช้ในโอกาสที่เป็นมงคลหรืองานพิธี หมอนขิด เป็นภูมิปัญญาสั่งสม ที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นการรักษาวัฒนธรรมทางหัตถกรรมของภาคอีสานไว้ได้อย่างดีเยี่ยมและยังได้นำมา ประยุกต์เข้ากับศิลปะปัจจุบันตลอดจนประโยชน์ใช้สอยได้อย่างกลมกลืนตามสมัยนิยม ชาวอีสานในอดีตประกอบอาชีพหลัก ทางการเกษตร มีการปลูกข้าวเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ถ้าว่างจากการทำไร่ ทำนา ผู้ชายจะสานตะกร้า บุ้งกี๋ กระบุง ฯลฯ ไว้ใช้ในครัวเรือน หรือเอาไว้ใช้ในฤดูกาลทำนา ทำไร่ในปีต่อไป ส่วนผู้หญิงก็จะเย็บปักถักร้อย มีการปลูกฝ้ายเก็บดอกฝ้ายมาปั่นทำผ้าห่ม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นำมาทอเป็นผืนผ้าไหมเพื่อได้นุ่งห่ม มีทั้งทอผ้าพื้นสำหรับตัดเสื้อผ้า หรือทำที่นอน ทอผ้าขาวม้า ทอผ้าลายมัดหมี่ และทอผ้าลายขิด สำหรับผ้าลายขิดจะใช้ทำหมอน ซึ่งการทำหมอนขิด เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวนาชนบท โดยเฉพาะชาวอิสานซึ่งเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะศิลปะในการทอผ้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ทั้งเสื้อผ้าและเครื่องใช้ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผู้หญิงส่วนใหญ่ ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายหรือญาติผู้ใหญ่ การทอผ้าลายขิด เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ “ขิด” เป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากคำว่า สะกิด หมายถึงงัดช้อนขึ้นหรือสะกิดขึ้น สันนิษฐานว่ามาจาก ภาษาบาลีคำว่า ขจิด แปลว่า ทำให้งดงาม ในสมัยโบราณผ้าขิดเป็นผ้า ที่มีคุณค่าสูง ใช้ห่อพระไตรปิฎกซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาใน พุทธศาสนา ต่อมา ชาวบ้านได้นำผ้าขิด มาทำเป็นหมอนสามเหลี่ยม ซึ่งเดิมเรียกว่าหมอนหน้าม้า ตามลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายหน้าม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าใช้สำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ หรือมอบแด่เจ้าเมืองที่เคารพนับถือ ซึ่งการทอผ้าลายขิดและการทำหมอนขิดได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ
หมอนขิด
สถานที่ตั้ง
บ้านพัก
เลขที่ 3 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล แมด อำเภอ ลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ
บุคคลอ้างอิง นางสุนันทา ชัยชาญ
ชื่อที่ทำงาน ที่ว่าการอำเภอลืออำนาจ
ตำบล แมด อำเภอ ลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่