ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 27' 9.6358"
6.4526766
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 6' 18.7726"
101.1052146
เลขที่ : 183761
ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
เสนอโดย ยะลา วันที่ 13 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 13 มีนาคม 2556
จังหวัด : ยะลา
0 622
รายละเอียด

การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว มะพร้าวถือได้ว่าเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีเลยที่เดียว เพราะในวิถีชีวิตของคนไทยได้นำมะพร้าวมาผูกพันกับชีวิตประจำวันมากมายหลายอย่าง นับตั้งแต่การนำมะพร้าวมาบริโภคการ ปรุงอาหารคาวหวาน การนำส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีลงเสาเอก พิธีแห่ขันหมาก พิธีบวงสรวง และงานบุญต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ของมะพร้าวโดยละเอียดเราจะพบว่าทุกส่วนของต้นมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ได้ในหลายอย่างด้วยกัน เช่น

ราก ใช้ทำสีย้อมผ้า และทำของใช้เครื่องประดับบ้าน และนอกจากจะใช้รากในการทำสีย้อผ้าและทำเครื่องประดับแล้ว ยังสามารถนำรากมาแช่ในน้ำก่อนเมื่อเราไม่สบายด้วยเป็นการรักษาแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรากของมะพร้าว เช่น ตะกร้า กระเช้าดอกไม้ กรอบรูป เป็นต้น

ลำต้น ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ไม้กระดาน เป็นต้น

ทางมะพร้าว ใช้ทำรั้ว ทำฟืน ฯลฯ

ใบมะพร้าว ใช้มุงหลังคา ทำภาชนะใส่ของ หมวก ของเด็กเล่น เป็นต้น

ก้าน ใช้ทำไม้กวาด ก้านดอกไม้ประดิษฐ์ มู่ลี่ ตะกร้า เป็นต้น

รกมะพร้าว ทำเป็นของใช้ เช่น รองเท้า กระเป๋า หมวก กล่อง เป็นต้น

จั่นมะพร้าว ทำโครงเรือ นำมาประดิษฐ์ของใช้ต่าง ๆ เช่น กรอบรูป เชิงเทียน เป็นต้น

มะพร้าว ส่วนที่เป็นเส้นใย และขุยมะพร้าว ใช้ทำเบาะ เก้าอี้ ที่นอน พรมเช็ดเท้า เชือก ผสมดินเพาะชำ ตอนกิ่งต้นไม้ หรือเอาใส่เป็นปุ๋ยก็ได้ ส่วนที่เป็นเนื้อใช้บริโภค เช่น การนำมาทำเป็นกะทิ ใช้ทำขนม ต่างๆ เป็นต้น ส่วนน้ำมะพร้าวใช้ดื่มแก้กระหาย ทำน้ำส้มสายชู เป็นต้น

เปลือกของมะพร้าว นามาทำขนมได้บางชนิด นำมาทำเป็นปุ๋ย และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน

ในส่วนของลูกมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้คือ กะลามะพร้าว เมื่อถูกมนุษย์เอาเนื้อออกไปรับประทานหมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุที่ไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไรคนสมัยก่อนมักนำไปใช้ทำเชื้อเพลิง หรืออย่างดีก็คิดเอาไปทำเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระบวยตักน้ำ ทัพพี ถ้วย ชาม ของเล่น ปัจจุบันได้มีการนำเอากะลามะพร้าวมาทำเป็นของชำร่วย เครื่องประดับ เป็นต้น ความสำคัญของกะลามะพร้าวในสมัยก่อนมีค่าไม่มากนัก จึงมีการเปรียบเปรยคนที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุณค่าเหมือนกะโหลกกะลา ทางภาคใต้ผู้ที่ชอบเถลไถลไม่ทำอะไรเลย จะถูกเรียกขานว่า ไอ้พลกไอ้ต้อ เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา

เต่ากะลา

วิธีทำ

1. นำกะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งตามแนวตั้ง แล้วขัดแต่งกะลาให้สะอาดเจาะรูตรงกลางและบากร่อง 2 ร่องทั้งสองข้างของกะลาเพื่อร้อยยางยืด

2.ทำล้อโดยใช้เศษไม้มาเหลาเป็นลักษณะกลมและขอดตรงกลางไม้ให้มีขนาดเล็กกว่ากะลา แล้วบากหัวท้ายทั้งสองฝั่ง

3. แต่งกะลาเป็นรูปร่างต่างๆ ตามใจชอบ เช่น ถ้าทำเป็นเต่าก็เหลาไม้มาใส่เป็นหัวและหาง

4. นำมาประกอบกันโดยใส่ยางรัดที่ลูกล้อแล้วใช้เชือกความยาว 50 เซนติเมตร มัดลูกล้อไว้แล้วพันเชือกตามลูกล้อไปทางด้านหัว นำปลายเชือกอีกข้างไปสอดออกทางกะลาด้านบนที่เจาะรูไว้ นำปลายเชือกมัดติดกับไม้ท่อนเล็กๆ ไว้ดึง

วิธีเล่น

ดึงเชือกบนกะลาและปล่อย เจ้าสัตว์น้อยก็จะกระดึ๊บ...กระดึ๊บ ไปข้างหน้า

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 54/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล บาโร๊ะ อำเภอ ยะหา จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายพัสรี วอหะ
บุคคลอ้างอิง นางสาวกนกวรรณ พรหมทัศน์ อีเมล์ k-yala@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511,073213916
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่