วันลากพระจะทำกันในช่วงวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ค่ำ เดือน๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์ ณ เทศบาลตำบลลานสกา รวมประมาณ ๑๒-๑๗ วัด วันรุ่งขึ้นแรม ๒ ค่ำ เดือน๑๑ จึงพากันลากกลับวัด ชาวอำเภอลานสกาได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศามสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
การแต่งนมพระ นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือลากพระทางบก เรียกว่าพนมพระ ลากพระทางน้ำเรียกว่า เรือพระ นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบๆประดับด้วยผ้าแพรสี ธ.ริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าวดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้าพนมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวยข้างๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆังด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่างามได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
การอัญเชิยพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือพระพุทธรูปปางอ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิยขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
การลากพระ ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครืองตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนาน และประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนคลายแรง เช่นกล่าวว่า "อีสาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมเด็กสาวไอ้ไหรยาวยาว ไม้เท้าฤาษี "
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทานจึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑ ชาวบ้านเชื่อว่า อนิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมการเกษตร
๒.เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่าใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านบ้านใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓.เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกลองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้นๆ ตลก ขบขันและโต้ตอบกัน