สำนักสงฆ์เขาธง เป็นสำนักสงฆ์ที่มีบรรยากาศเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เป็นสถานที่พักหยุดของผู้เดินทางผ่านไปมาจากพื้นที่ลานสกาและฉวางในอดีตซึ่งเรียกกันว่า ชาวเขานอก ชาวเขาใน พ่อท่านคล้ายให้คนหามขึ้นไปบนยอดต่อของภูเขาของทั้งสองถิ่นและบนยอด ซึ่งเป็นการเดินเท้าและต้องต่อสู้กับความยากลำบากเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบ จึงได้สร้างที่สำหรับหยุดพักของผู้ที่เดินทางไปมา ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นประตูสำคัญในการก้าวสู่เส้นทางเข้าเมืองนครศรีธรรมราช และผู้สัญจรไปมาได้หยุดพักรถเพื่อพักผ่อนและร่วมทำบุญ ณ รูปเหมือนของพ่อท่านคล้าย ผู้ก่อให้เกิดเส้นทางจากอำเภอฉวางสู่อำเภอลานสกาผ่านตำบลเขาแก้ว ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจผู้ที่ผ่านไปผ่านมาและเป็นที่ทำบุญของชุมชนที่อยู่ใกล้ไกล โดยจะมีประเพณีอาบน้ำพ่อท่านทุกวันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี
ผลงานที่สำคัญ
งานด้านศาสนา พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผุ้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูปและร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัยดังเช่นสร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถานจึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวางใน ฑ.ศ.๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถรามและวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อยหรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย พระครูพิศฺษฐ์อรรถการได้สร้างขึ้นใหม่และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ.๒๕๑๓ สร้างพระเจดีย์ พ่อท่านคล้าย ได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีวัดสวนขัน เจดีย์วัดควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร
งานด้านพัฒนาท้องถิ่น พ่อท่านคล้ายจัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในสิ่งต่างๆมากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาธรรมบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น สร้างถนนเข้าวัดจันดี ถนนจากตำบลละอายไปพิปูนถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟไปคลองจันดีถนนจากตำบลละอายไปนาแว เป็นต้น
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พ่อท่านคล้ายเขาธง เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาในอดีตของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่หุบเขาที่เรียกว่า ชาวในเขา หรือ ชาวเขาแก้ว กับ ชาวเขานอก หรือชาวฉวาง ที่ต้องไปมาหาสู่กันเพื่อพึ่งพา เพื่อการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความรู้หรือสิ่งของต่างๆกัน พ่อท่านคล้ายซึ่งเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมความเคารพนับถือในยุคนั้นและได้ชื่อว่าเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ ได้ให้ผู้คนหามขึ้นไปบนยอดต่อของภูเขาของทั้งสองถิ่นและบนยอดเขา การเดินทางต้องต่อสู้กับความยากลำบากมากเพราะไหลแหล่งน้ำจากลำห้วย พ่อท่านคล้ายจึงบอกให้ชาวบ้านขุดบ่อน้ำและบอกว่ามีน้ำอยู่ ความศรัทธาในพ่อท่าน ชาวบ้านจึงขุดบ่อน้ำตามคำที่ท่านบอก จึงปรากฏมีน้ำขึ้นมาและไหลตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ บ่อน้ำแหล่งนี้ ชาวบ้านถือว่าเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์อีกแหล่งหนึ่งของชาวเมืองนครศณีธรรมราช และผู้คนที่สัญจรไปมาบนเส้นทางสายนครศรีฯ-บ้านส้องตราบเท่าทุกวันนี้
เส้นทางการเดินทาง จากตัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางนครศรีธรรมราช-เขาแก้ว นครศรีธรรมราช-จันดี รถผ่านอำเภอเมือง เข้าเขตอำเภอลานสกา ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร จะมีป้ายบอกชัดเจน ซึ่งจะเป็นเขตแดนระหว่างอำเภอลานสกาและอำเภอช้างกลาง