ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 40' 39.8705"
18.6777418
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 59' 35.0988"
100.9930830
เลขที่ : 188997
ต๋าแหลว
เสนอโดย วริศรา บุญซื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 10 กันยายน 2556
จังหวัด : น่าน
1 663
รายละเอียด

ชื่อต๋าแหลว หรือ ตาแหลว เป็นเครื่อจักสานชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ นำมาจักตอกหนึ่งก้านที่หักไปมาเป็นแฉกหรือจะทำจากตอกหลายก้านมาสานรวมกันเป็นแฉกต๋าแหลว หรือตาแหลว เป็นภาษาเหนือแต่ถ้าจะเรียกชื่อเป็นภาษาภาคกลาง เรียกว่า เฉลว จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ในการบอกสถานที่ ในทางความเชื่อ ต๋าแหลว เป็นสัญญาลักษณ์ในการบ่งบอกถึงเขตหวงห้าม เขตป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ สิ่งไม่ดี ชาวบ้านจะนำต๋าแหลวมาประกอบพิธีต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ ได้แก่ การสู่ขวัญข้าว การสืบชะตา การทำบุญบ้าน ทำบุญเมือง มัดติดหน้าบ้าน ปักบนหม้อยา ปักไว้ในที่ไม่ให้ผีผ่าน

ประเภทของต๋าแหลว ต๋าแหลวแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท

๑. ต๋าแหลว ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ สามแฉก มีความหมายว่า มะ อะ อุ ต๋าแหลวชนิดนี้เมื่อตั้งไว้แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า มะ อะ อุ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้

๒.ต๋าแหลวที่เป็นรูปดาวห้าแฉก มีความหมายว่า นะ โม พุท ธา ยะ ต๋าแหลวชนิดนี้เมื่อตั้งไว้แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า นะ โม พุท ธา ยะ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้

๓ ต๋าแหลวที่เป็นรูปแปดแฉก มีความหมายว่า อิติปิโส ภควตา ต๋าแหลวชนิดนี้เมื่อตั้งไว้แล้วจะเกมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า อิติปิโส ภควตา ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้

๔.ต๋าแหลวคาเขียว เป็นตาแหลวที่ใช้ใบคาสีเขียวสานพันกันเจ็ดชั้นสานต่อกันไปเรื่อยๆแล้วมัดรวมกันนำมาขึงติดกับตาแหลว

ลวดลายของต๋าแหลวในการจักสานต๋าแหลวมีรูปทรงและลวดลายต่างๆ ดังนี้

๑. ลาย ๓ ขึ้น ๔ มีชื่อว่า ลายต้อง

๒. ลาย ๔ ขึ้น ๕ มีชื่อว่า ลายสามดอก

สถานที่ตั้ง
ต๋าแหลว
เลขที่ วัดห้วยซ้อ ถนน น่าน-แม่จริม
ตำบล หมอเมือง อำเภอ แม่จริม จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาววริศรา บุญซื่อ
บุคคลอ้างอิง พระครูพิพิธนันทคุณ
เลขที่ วัดห้วยซ้อ ถนน น่าน-แม่จริม
ตำบล หมอเมือง อำเภอ แม่จริม จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55170
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่