ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 28' 32.2165"
18.4756157
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 39' 7.519"
98.6520886
เลขที่ : 189399
ลิ้นมังกร
เสนอโดย jundee วันที่ 20 พฤษภาคม 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 400
รายละเอียด

ลิ้นมังกร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria trifasciata Prain 'Golden Hahnii'วงศ์ : DRACAENACEAE
ลักษณะลำต้น : เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออดมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ ลักษณะใบเป็นแท่งกลมยาว หรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อยหรือเป็นเกลียว ใบกว้างประมาณ ๔-๗ ซม. และสูงประมาณ ๓๐-๖๐ ซม. อาจจะมากหรือน้อยกว่าตามแต่ละสายพันธุ์ สีสันของใบลิ้นมังกรจะมีสีเขียวซีดจนถึงเขียวเข้มบางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวขอบใบ สีขาวประ สีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่าง สีฟ้า และลักษณะมีลวดลายของใบที่แตกต่างกันและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสายพันธุ์

ลักษณะดอก : ลิ้นมังกรมักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอกจะมีสีขาวหรือสีเขียวอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมี ๕ กลีบ ขนาดเล็กประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก สามารถจำแนกการออกดอกได้เป็น ๓ ลักษณะคือ

๑. Spike-like raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก ขนานกับใบ
๒. Panicle raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามการแตกกิ่งที่แผ่ออกของก้านออกดอก
๓. Capitate raceme ลักษณะการออกดอกยื่นสูงเป็นพุ่มเดี่ยวที่ปลายก้านดอก
ความหลากหลายของสายพันธุ์ : ลิ้นมังกรเป็นไม้ประดับที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์มาก ความหลากหลายของสายพันธุ์ลิ้นมังกรเกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อันประกอบไปด้วย สภาพภูมิประเทศของถิ่นกำเนิด การผสมข้ามสายพันธุ์ การกลายพันธุ์อันเกิดจากเมล็ด และการกลายพันธุ์อันเกิดจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่เมล็ด ส่งผลให้ลิ้นมังกรที่ค้นพบในโลกมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากมาย ทั้งที่เป็นลักษณะใบด่าง ใบคดเคี้ยว ลวดลายบนผิวใบ สีสัน เป็นต้น ในต่างประเทศ Mr. B. Juan Chahinian ประธานสมาคมลิ้นมังกรนานาชาติเป็นผู้ศึกษาและรวบรวมสายพันธุ์ลิ้นมังกรเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี และเป็นเจ้าของผลงานหนังสือ THE SPLENDID SANSEVIERIA ซึ่งในปัจจุบันได้รวบรวมข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ของลิ้นมังกรที่มีชื่อและถิ่นกำเนิดจากทั่วโลกไว้กว่า ๒๕๐ สายพันธุ์
ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้กระถาง จัดตกแต่งภายในอาคาร

ลิ้นมังกรนี้ สามารถปลูกให้สูงได้ราว ๑๐ นิ้วเท่านั้น มีลำต้นแตกออกเป็นกลีบๆ คล้ายกับกลีบของดอกไม้ ลิ้นมังกรสั้นนี้บางต้นมีลายเส้นสีเขียวสลับเทาและมีใบแข็งเป็นมันลื่น มองดูสวยงามมาก เมื่อช่อใบแตก จนถึงขนาดหนึ่งลิ้นมังกรจะชะงักการเจริญเติบโต และที่โคนต้นก็จะมีกลีบใบอ่อนๆ แทงขึ้นมาจากดินเต็มไปหมด เราสามารถที่จะตัดแยกเอาส่วนที่แตกขึ้นมาใหม่นี้ ไปปลูกใหม่ได้เลย ลิ้นมังกรสั้นนี้ก็เหมือนกับลิ้นมังกรยาวคือ ไม่ว่าอากาศร้อน อากาศเย็นแสงมาก หรือแสงน้อยจะทนได้ทุกสภาวะการณ์

คำสำคัญ
ลิ้นมังกร
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
-
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านหลวง อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอจอมทอง
บุคคลอ้างอิง jundee SUNGKARUK อีเมล์ jundee@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน culture office chom tong อีเมล์ jundee@hotmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล บ้านหลวง อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50160
โทรศัพท์ 053341199 โทรสาร 053341199
เว็บไซต์ jundee@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่