นางสมบัติ สรสิทธิ์ เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 2501 อายุ 55ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 95 หมู่ 5 บ้านยายพา ตำบลประสุข อำเภอชุมพวง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน การสานปลาตะเพียนใบลานเป็นอาชีพเก่าแก่ที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนานกว่า 100 ปี โดยสันนิษฐานว่าชาวไทยมุสลิมซึ่งล่องเรือขายเครื่องเทศอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยาและอาศัยอยู่ในเรือเป็นผู้ประดิษฐ์ปลาตะเพียนสานด้วยใบลานขึ้นเป็นครั้งแรก แรงบันดาลใจอาจจะมาจากความรู้สึกผูกพันอยู่กับท้องน้ำ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวและความคุ้นเคยกับรูปร่างหน้าตาของปลาตะเพียนเป็นอย่างดี โดยใช้วัสดุจากท้องถิ่น เช่น ใบมะพร้าว ใบลาน ใบตาล ปลาตะเพียนที่สานด้วยใบลานในสมัยก่อนนั้นไม่สวยงามและมีขนาดใหญ่โตเช่นปัจจุบันนี้ ปลาตะเพียนรุ่นแรกที่สร้างขึ้นเรียกว่า ปลาโบราณ โดยจะทำเป็นตัวปลาขนาดเล็กๆ ขนาด 1-3 ตัวเท่านั้น ปลาตะเพียนใบลานมักทาด้วยสีเหลืองซีดๆ ที่ทำด้วยวัตถุดิบตามธรรมชาติที่เรียกว่า ?รงค์? ผสมกับน้ำมันวานิช แล้วนำไปเสียบไม้สำหรับห้อยแขวนเลยและปลาตะเพียนใบลานในสมัยก่อนยังมีจำนวนน้อยมากถ้าเทียบกับปัจจุบัน ขั้นตอนการสานปลาตะเพียน 1. นำใบลานมาตัดเป็นเส้นยาว จำนวน 2 เส้น 2. นำใบลานเส้นที่ 1 มาพันมือ 2 รอบ 3. นำใบลานหั่นได้แล้วดึงมือที่พันออก ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับไว้ 4. นำใบลานใบที 2 มาพับครึ่งแล้วสอดเข้าไปในใบมะพร้าวที่พันไว้ในรอบแรก 5. เสร็จแล้วให้ใช้ใบลานเส้นที่ 2 เส้นล่างสอดช่องใบลานเส้นที่ 1 ห่วงแรก 6. กลับด้านหลังขึ้นมานำใบลานเส้นที่ 2 ปลายด้านล่างสอดช่อง แล้วดึงจัดให้สวยงาม 7. ใช้กรรไกรตกแต่ง ครีบและหาง 8. สานใบลานส่วนที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ เช่น กระโจม กระทงเกลือ ใบไพ เม็ดปักเป้า และลูกปลานำตัวปลาและเครื่องประกอบอื่นๆระบายสีให้สวยงาม 9. นำลูกปลาเละเครื่องประกอบอื่นๆที่ตกแต่งแล้วมาประกอบกับปลาตัวใหญ่ จะได้ปลาตะเพียนเป็นพวงสวยงาม