ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 5° 55' 3.7398"
5.9177055
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 10' 43.8629"
101.1788508
เลขที่ : 190566
การรำกลองยาว
เสนอโดย ยะลา วันที่ 20 มิถุนายน 2556
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 20 มิถุนายน 2556
จังหวัด : ยะลา
7 19525
รายละเอียด

การรำกลองยาว

ประวัติความเป็นมาของการรำกลองยาว

การรำกลองยาว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เถิดเทิง เทิ่งบองกลองยาว สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นการเล่นของพวกทหารพม่าในสมัยที่มีการต่อสู้กันปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเข้าใจว่าคนไทยนำมาเล่นในสมัยกรุงธนบุรี เพราะจังหวะสนุกสนานเล่นง่าย เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทยและจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทย ๆ เพื่อประกอบการรำ แต่การแต่งกายยังคงคล้ายรูปแบบของพม่า เช่น โพกหัวแบบพม่า นุ่งโสร่ง เสื้อคอกลมแขนกว้าง แต่บางครั้งจะพบแต่งกายตามสบาย โอกาสที่แสดงนิยมในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค ขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลอง ขบวนขันหมาก ผู้รำร่วมก็จะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะแปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วย ผู้รำจะมีทั้งชายและหญิง ส่วนพวกตีเครื่องประกอบจังหวะก็จะทำหน้าที่ร้องและเป็นลูกคู่ไปด้วย

โอกาสที่แสดง

มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสียพักหนึ่ง แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก

การแต่งกาย

1. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว

2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ สร้อยคอ และต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย

ดนตรีที่ใช้

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง มีประมาณ 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน

สถานที่แสดง

แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ หรือบนเวที

จำนวนผู้แสดง

จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน

เวลาแสดงพวกตีเครื่องประกอบจังจะทำหน้าร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานไปในขณะตีด้วย คำที่ใช้ร้องเดิมมีหลายอย่าง แต่ที่ใช้ร้องขณะนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ขอยกตัวอย่างบทร้องมาให้ดูดังนี้

1) มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า หรือมาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ป่า รอยตีนโตโต

2) ต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว ตะละล้า หรือต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน ตะละล้า

3)ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า

แต่งเนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น

“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว” แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า

“ใครมีมะนาว มาแลกมะกรูด” แล้วย้ำว่า “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ” ดังนี้ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการรำกลองยาว ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้ ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 30 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล อัยเยอร์เวง อำเภอ เบตง จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายชาตรี ศรีสมปอง
บุคคลอ้างอิง นางสาวกนกวรรณ พรหมทัศน์ อีเมล์ k-yala@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่