ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 40' 48.031"
6.6800086
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 8' 24.3884"
101.1401079
เลขที่ : 191061
ขนมลูกชุบ
เสนอโดย mattana วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 26 กรกฎาคม 2556
จังหวัด : ปัตตานี
0 979
รายละเอียด

ขนมลูกชุบ เป็นขนมไทยที่เลียนแบบธรรมชาติ อาศัยฝีมือในการปั้น ส่วนใหญ่ จะปั้นเป็นผลไม้ พืชผัก เช่น มะม่วงสุก มังคุด พริกชี้ฟ้า ชมพู่แก้มแหม่ม มะยม ฯลฯ สุดแต่ผู้ปั้นจะคิดประดิษฐ์ เป็นขนมที่มีหน้าตาสวยงาม จูงใจให้รู้สึกอยากรับประทาน มีสีสวยงาม ปั้นแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ที่ได้ชื่อว่าลูกชุบ ก็เพราะวิธีการทำให้ขนมมี ส่วนเหมือนผักผลไม้ ก็ต้องชุบวุ้นเพื่อให้เกิดความเงาคล้ายผิวของพืชผลไม้นั้น ๆ

ส่วนผสม/ขั้นตอนการทำขนมลูกชุบ

ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด , น้ำตาลทราย , หัวกะทิ , สีผสมอาหารสีต่างๆ ,วุ้นผง, น้ำ

วิธีทำ

๑.ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ

๒. กวนด้วยไฟอ่อนๆ จนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ

๓.พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้

๔. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น

๕. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟ ให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น

๖. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ ๓-๔ ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง

๗. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม

สถานที่จำหน่าย

- กลุ่มขนมบ้านสลาม เลขที่ ๗๔ หมู่ ๘ บ้านสลาม ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๔ – ๗๕๗๗๑๗๒

- จำหน่ายตามงานต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานี , ยะลา จำหน่ายราคากล่องละ ๒๐ บาท

- ชื่อประธานกลุ่ม นางสุมาลี ศรีทะบาล

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๗๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล นาประดู่ อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสุมาลี ศรีทะบาล
บุคคลอ้างอิง นางสาวมัทนา ทองบุญเอียด อีเมล์ mattana_29@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอโคกโพธิ์
จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94120
โทรศัพท์ ๐๘๑ - ๘๗๔๙๖๗๑
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่