พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากพิพิธฑภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเก่า หลังจากที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเก่า กรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในบริเวณที่เคยเป็นที่พักแรมระหว่างการขุดค้นริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ใกล้โรงเรียนท่าโป๊ะ ห่างจากแหล่งขุดค้น 400 เมตร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ขนาดเล็ก เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น นับว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่สร้างขึ้นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีสมันก้อนประวัติศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย
ต่อมา พ.ศ.2530 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณจากโครงการเร่งรัดฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มาก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในบริเวณเดียวกัน และนำเอาโบราณวัตถุจากอาคารเดิม และจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และจากพิพิธภัณฑสถาณแห่งชาติ พระนคร รวมทั้งโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดค้นใหม่ในจังหวัดกาญจนบุรี และใกล้เคียงมาจัดแสดง
การจัดแสดง: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ได้จัดแสดงเรื่องราวและโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า ประกอบด้วยเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องประดับ โครงกระดูก อายุประมาณ 3,600 ปีมาแล้ว และจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีที่สำคัญตามลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี และจัดแสดงโลงศพไม้โบราณที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี
1. ห้องภูมิหลังกาญจนบุรี
2. ห้องโบราณคดีบ้านเก่า
3. ห้องจัดแสดงโลงศพโบราณ
4. ห้องแหล่งโบราณคดีกาญจนบุ
5. ห้องพัฒนาการชุมชน
โบราณวัตถุที่สำคัญประกอบด้วย
1. ภาชนะดินเผา ชนิดมีขา (หม้อสามขา)
2. โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์