ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 8' 47.7277"
18.146591037201127
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 44.1833"
100.14560646171878
เลขที่ : 192255
ประเพณีกำฟ้าไทยพวน
เสนอโดย แพร่ วันที่ 24 มกราคม 2560
อนุมัติโดย วันที่ 17 กันยายน 2564
จังหวัด :
0 787
รายละเอียด

ประเพณีสำคัญแต่สมัยโบรานเกี่ยวกับวิธีชีวิติของชาวไทยพวนที่อาศัยอยู่ในการทำนา ชาวบ้านสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน แต่เดิมถือเอาวันที่มีผู้ได้ยินฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน ๓ เป็นวันเริ่มประเพณี แต่ไม่สามารถได้ยินทุกคน ภายหลังจึงกำหนดวันกำฟ้า คือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

ชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๘๐ ชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโห้ง “คำว่าทั่ง” หมายถึง ที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า “โห้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึงสถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนกล่าวว่า สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน จึงเรียกว่า “บ้านทั่งโห้ง” ส่วนคำว่า “ทุ่งโฮ้ง” คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า “ทั่งโห้ง” ปัจจุบันอาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง คือการทำผ้าหม้อห้อมแท้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ จนได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเสรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรจังหวัดแพร่

******สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่โทร ๐๕๔๖๒ ๕๔๙๖ www.m-culture.go.thสายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕

สถานที่ตั้ง
ณ สนามกีฬาเทศบาลทุ่งโฮ้ง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่