ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 34' 18.7704"
16.571880655909244
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 31' 47.3582"
104.52982173359374
เลขที่ : 192308
งานออนซอนชนเผ่าชาวคำชะอี
เสนอโดย มุกดาหาร วันที่ 25 มกราคม 2560
อนุมัติโดย มุกดาหาร วันที่ 13 เมษายน 2563
จังหวัด : มุกดาหาร
0 1499
รายละเอียด

ชาวบ้าน บ้านโนนสังข์ศรี ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเลิง ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทยกะเลิงมาตลอด พิธีกรรมที่สำคัญของชาวไทยกะเลิง ได้แก่ พิธีเหยา ซึ่งเป็นพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคด้วยเวทมนต์ ซึ่งมีความหมายคล้ายกับคำว่า “ปัว” ในภาษาอีสาน เป็นวิธีการรักษาโรค โดยไม่ได้ใช้ยา จะรักษาด้วยวิธีการ เชิญผีมาลงร่างผู้เป็นหมอที่รักษาเรียกว่า หมอเหยา และเมื่อผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วยในการเหยาครั้งนั้น จะมีสถานภาพเป็นลูกเลี้ยงของหมอเหยา เมื่อมีการไหว้ผีหมอเหยาประจำปี หรือการเหยาขึ้นที่บ้านของผู้ใด หรือหมู่บ้านใกล้เคียง ลูกเลี้ยงจะต้องไปร่วมงานนั้นด้วย เด็กเลี้ยงยาก งอแง เจ็บป่วยเป็นประจำ ถ้าให้หมอเหยารักษาหายแล้ว พ่อแม่ของเด็กก็จะนำดอกไม้ พร้อมกับเด็กไปไหว้แม่เลี้ยงทุกวันพระ

ในการจัดงานออนซอนมูลมังชนเผ่าไทยกะเลิง ของบ้านโนนสังข์ศรี เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ ประจำทุกปี ณ โรงเรียนบ้านโนนสังข์ศรี โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านซ่ง สภาวัฒนธรรมตำบลบ้านซ่ง ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรม และยกระดับการจัดงานจากระดับท้องถิ่นเป็นงานประจำปี ระดับอำเภอ โดยใช้ชื่องานว่า ออนซอนชนเผ่าชาวคำชะอีณ ที่ว่าการอำเภอคำชะอี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นมา ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยพัฒนากิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของกลุ่มชนเผ่าชาวคำชะอี และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จัดขึ้นให้นักท่องเที่ยวรู้จักแพร่หลาย สร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเพณีสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดมุกดาหาร

สถานที่ตั้ง
จังหวัด มุกดาหาร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่