ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 25' 0.5412"
17.41681699150622
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 47' 46.4647"
104.79624019062499
เลขที่ : 192318
งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
เสนอโดย นครพนม วันที่ 25 มกราคม 2560
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 3 กันยายน 2563
จังหวัด : นครพนม
0 1293
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภมูิหลัง/ความเชื่อ)
ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำโดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งแต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนที่พระพุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เนื่องจากสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ไทยยังยืดถือพิธีพราหมณ์อยู่ จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจําพรรษาที่ดาวดึงษ์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า วันพระเจ้าโปรดโลก พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า " อจลเจดีย์ " (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จ ด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟ ก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้นและได้ทําเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจน ถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตํานานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ ถือว่าทําให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทําด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลําเรือ ยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต สําหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทําเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆที่ขนาดใหญ่โตขึ้นมีวิธีการประดับ ตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลําน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะ เป็นภาพที่งดงาม ติดตาติดใจผู้พบเห็นไปตราบนานเท่านานไม่มีที่ไหนๆในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่ เหมือนที่จังหวัดนครพนม การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหวางงานบุญออกพรรษา มีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนชาวลาว และชาวไทย จัดขึ้นในลําน้ำโขง มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลําบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ พิธีรำบูชาพระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ จากบริเวณถนนนิตโยมายัง บริเวณหน้าศาลหลักเมือง และพิธีทางศาสนาก่อนไหลเรือไฟ และกิจกรรมแห่ขบวนเรือไฟบก และการไหลเรือไฟจากอำเภอต่างๆ
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
สะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาในพระพุทธศาสนานของชาวบ้าน ยังเแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเดียวกันซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการไหลเรือไฟคล้ายๆ กัน นั่นคือ การไหลเรือไฟเพื่อเป็นการสักการะบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาท บวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การขอขมาแม่พระคงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำลำคลอง บรวงสรวงต่อพญานาค บางแห่งเชื่อว่าการไหลเรือไฟเป็นการสะเดาะเคราห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากตนเองและครอบครัว บ้างก็เชื่อว่าการไหลเรือไฟจะทำให้ปีต่อๆ ไปฝนตกต้องตามฤดูกาล ด้วยเหตุนี้ สมัยก่อนแต่ละหมู่บ้านก็จะร่วมกันสร้างเรือไฟขึ้นมาสำหรับหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเองก่อนจะนำมารวมกันที่ลำน้ำ

สถานที่ตั้ง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเด่นชัย ไตรยะถา อีเมล์ denchaiok@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 081 -5461709
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่