ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 8' 54.01"
13.1483361
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 18' 36.882"
102.3102450
เลขที่ : 192435
การทำบายศรี
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 2 กรกฎาคม 2562
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 2 กรกฎาคม 2562
จังหวัด : จันทบุรี
0 1222
รายละเอียด

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีวิธีการทำและวิธีการใช้ไม่เหมือนกัน อาทิเช่น บายศรีเทพ ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ บวงสรวงเทพพรหม เทวาอารักษ์ บายศรีพรหม ใช้ในพิธีใหญ่ บายศรีตอ ใช้ในงานบวงสรวงครู

วัสดุที่ใช้

1) ใบตอง (กล้วยตานี)

2) พานแว่นฟ้า ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ผูกติดกันไว้ด้วยลวดและรองพื้นพานด้วยโฟม

3) ภาชนะปากกว้าง สำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง 2 ใบ

4) สารส้ม

5) น้ำมันมะกอก ชนิดสีเหลืองหรือขาว

6) ไม้ปลายแหลม (ขนาดไม้เสียบลูกชิ้น) ประมาณ 20-30 อัน

7) ดอกไม้ (ดอกพุด ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย)

8) กรรไกร สำหรับตัดใบตอง

9) ลวดเย็บกระดาษ

ขั้นตอนการทำ

1) นำใบตองมาทำความสะอาด ด้วยการเช็ดด้วยผ้านุ่ม โดยเช็ดไปตามรอยของเส้นใบ ห้ามเช็ดกลับไปกลับมา หรือเช็ดตามขวาง เนื่องจากจะทำให้เกิดรอยแตกหรือช้ำ

2) ฉีกใบตองสำหรับทำกรวยแม่ และกรวยลูก กว้างประมาณ 2 นิ้ว , ใบตองสำหรับห่อ กว้างประมาณ 1.5 นิ้ว

ใบตองแต่ละประเภทควรฉีกเตรียมไว้ให้ได้จำนวน ที่ต้องการ กล่าวคือถ้าทำพานบายศรี 3 ชั้น ชั้นละ 4 ทิศ (4 ริ้ว) นั่นก็หมายถึงว่า จะมีริ้วทั้งหมด 12 ริ้ว ในแต่ละริ้ว จะประกอบด้วย กรวยแม่ 1 กรวย และกรวยลูก 9 กรวย รวมทั้งสิ้นจะมีกรวยแม่ 12 กรวยและกรวยลูก 108 กรวยนั่นเอง แสดงว่าจะต้องมี ใบตองสำหรับทำกรวยแม่ 12 ชิ้น ใบตองสำหรับทำกรวยลูก 108 ชิ้น ใบตองสำหรับห่อ 120 ชิ้น นั่นเองแต่ใบตองสำหรับห่อจะต้อง เตรียมไว้เพื่อห่อริ้วอีกคือใน 1 ริ้ว จะประกอบไปด้วยกรวยแม่ 1 กรวย กรวยลูก 1 กรวย ซึ่งจะต้องมาห่อรวมกันดังนั้นจึงต้องเพิ่มใบตอง สำหรับห่ออีก 120 ชิ้น รวมเป็นใบตองสำหรับห่อ 240 ชิ้น.

3) การพับกรวยและการห่อกรวย

จะมีลักษณะวิธีการพับเหมือนกันคือ การนำใบตอง มาพับม้วนให้เป็นกรวยปลายแหลม เพียงแต่กรวยลูกจะมี การนำดอกพุดมาวางเสียบไว้ที่ส่วนยอดปลายแหลมของกรวย ด้วยเมื่อพับหรือม้วนใบตองเป็นกรวยเสร็จในแต่ละกรวยแล้วให้นำลวดเย็บกระดาษมาเย็บใบตองไว้เพื่อป้องกันใบตองคลายตัว ออกจากกันแล้วเก็บกรวยแต่ละประเภทไว้จนครบจำนวนที่ต้องการเมื่อได้กรวยแต่ละประเภทครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ให้นำกรวยที่ได้มาห่อ โดยการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้สำหรับห่อ มาห่อกรวย

4) การห่อริ้วบายศรีและการแช่น้ำ

การห่อริ้วบายศรีคือการนำกรวยแม่และกรวยลูกที่ได้ห่อกรวยไว้เรียบร้อยแล้วมาห่อมัดรวมเข้าไว้ด้วยกันที่นิยมทำกันใน 1 ริ้ว จะประกอบด้วยกรวยแม่ 1 กรวย กรวยลูก 9 กรวย

วิธีการห่อริ้วมีการห่อคล้ายกับการห่อกรวยแม่ หรือกรวยลูก แต่จะแบ่งวิธีตามลักษณะงานที่ได้เป็น 2 วิธีคือ (1) ห่อแบบตรง คือการห่อโดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แล้ววางกรวยลูกไว้ด้านบนกรวยแม่เป็นชั้นๆ ทับกันขึ้นมาหรือ หันกรวยลูกเข้าหาตัวผู้ห่อ การห่อแบบนี้จะได้ริ้วบายศรีค่อนข้าง ตรงและในช่วงตัวริ้วจะมีรอยหยักของใบตองห่อ เรียกว่ามีเกล็ด (2) ห่อแบบหวาน คือการห่อโดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แต่วางกรวยลูกไว้ด้านล่างของกรวยแม่ และวางซ้อนลงด้านล่าง ลงไปจนครบ หรือหันกรวยแม่เข้าหาตัวผู้ห่อ โดยวางกรวยลูกลง ด้านล่างจนครบนั่นเอง การห่อแบบนี้ จะได้ริ้วบายศรีเป็นลักษณะ อ่อนช้อยงอนอ่อนหวาน

เมื่อห่อริ้วจนเสร็จในแต่ละริ้วแล้วจึงนำริ้วที่ได้ลงแช่ในน้ำผสมสารส้มที่เตรียมไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้ใบตอง เข้ารูปทรงอยู่ตัว ตามที่ได้พับและห่อจากนั้น จึงนำไปแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกต่อไปเพื่อให้ริ้วมีความเป็นมันวาวเน้นสีเขียวเข้มของใบตองมากขึ้น และมีกลิ่นหอมในตัวเอง

5)การประกอบพานบายศรี การประกอบพานบายศรี ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำบายศรี คือการนำริ้วที่ทำเสร็จแล้ว และแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกแล้วมาประกอบเข้ากับพานบายศรี 3 ชั้น ที่ได้เตรียมไว้ การน้ำริ้วมาประกอบกับพาน ควรเริ่มต้นจากพานใหญ่สุดหรือพานที่วางอยู่ชั้นล่างสุดก่อน โดยการวางให้ริ้วอยู่บนพานให้มีระยะห่างเท่าๆกัน 4 ริ้ว (4 ทิศ) ซึ่งจะยึดริ้วติดกับพานโดยใช้ ไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้ แล้วมา กลัดหรือเสียบจากด้านบน ของริ้วให้ทะลุไปยึดติดกับโฟมที่รองไว้บนพื้นพาน

การประกอบริ้วกับพานชั้นกลาง และชั้นบนสุดก็ใช้ วิธีเดียวกัน แต่จะต้องให้ริ้วชั้นที่ 2 วางสลับกับริ้วชั้นแรกและริ้วบนพานชั้นบนสุด ก็ให้สลับกับริ้วบนพานชั้นกลางการประกอบ ริ้วกับพานชั้นบนสุดให้ห่อใบตองเป็นกรวยขนาดใหญ่พอควร วางไว้เป็นแกนกลางของพานเมื่อวางริ้วทั้ง 4 ริ้ว เสร็จแล้วให้รวบ ปลายสุดของริ้วทั้ง 4 เข้าหากันโดยมีกรวยที่ทำเป็น แกนกลาง อยู่ด้านในแล้วนำใบตองม้วนเป็นกรวยขนาดใหญ่อีกกรวย มาครอบทับยอดทั้ง 4 ของริ้วไว้ ซึ่งจะทำให้พานบายศรีที่ได้ มียอดแหลมที่สวยงามและมั่นคงจากนั้นจึงนำใบไม้ (ส่วนใหญ่ จะนำใบไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลเช่นใบเงินใบทอง) มาวางรองบนพาน เพื่อปกปิดไม่ให้มองเห็นโฟมที่รองพื้นพานและนำดอกไม้สีสด เช่นดอกบานไม่รู้โรย หรือดอกดาวเรืองมาประดับ เพิ่มความสวยงาม หรือทำมาลัยสวมบนยอดหรือทำเป็นอุบะ ร้อยรอบพาน แต่ละชั้น ก็จะเพิ่มสีสันและความสวยงามให้แก่ พานบายศรีมากขึ้น

คำสำคัญ
บายศรี
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 46 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล สะตอน อำเภอ สอยดาว จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือการทำบายศรี จัดทำโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
บุคคลอ้างอิง นางทองสา ทองเต็ม
เลขที่ 46 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล สะตอน อำเภอ สอยดาว จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22180
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่