ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 56' 7.7212"
16.9354781
Longitude : E 104° 42' 36.0292"
104.7100081
No. : 192560
พิธีแห่พระอุปคุต
Proposed by. นครพนม Date 26 March 2020
Approved by. นครพนม Date 30 March 2020
Province : Nakhon Phanom
0 3429
Description

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
สืบเนื่องจากประเพณีงานนมัสการองค์พระธาตุพนมประจำปี ระหว่างวันขึ้น ๘ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ปีไหนที่เป็นปีอธิกมาส จะเลื่อนเป็นขึ้น ๘ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันจัดงานนมัสการองค์พระธาตุพนม รวม ๙ วัน ๙ คืน ซึ่งประเพณีดังกล่าว ได้ยึดถือปฏิบัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันงานนมัสการองค์พระธาตุพนม เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มีช่วงเวลาการจัดงาน ๙ วัน ๙ คืน ในงานดังกล่าวมีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก เพราะต่างมีความเชื่อว่า พระธาตุพนม เป็นองค์พระธาตุที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (ธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า) ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือและยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้นเมื่องานนมัสการพระธาตุพนมเวียนบรรจบครบรอบแต่ละปี จึงมีชาวพุทธหลั่งไหลมาจากทั่วทิศานุทิศ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้มาแสวงบุญเทศกาลงานนมัสการพระธาตุพระนม และให้เกิดความสวัสดีมงคลแคล้วคลาดปลอดภัยแก่พุทธศาสนิกชน และผู้แสวงบุญจึงเกิดมีประเพณีอัญเชิญพระอุปคุต พระมหาเถระผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบมารที่จะมาแผ้วพาลให้อันตรธานหายไป
ด้วยพื้นฐานแห่งความเชื่อดังกล่าว จึงเกิดมีประเพณีอัญเชิญและแห่พระอุปคุตในเทศกาลงานนมัสการพระธาตุพนม ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ เวลา ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นไป มีคลื่นแห่งพุทธศาสนิกชนจำนวนมากมาร่วมพิธีอันสำคัญดังกล่าว จนกลายเป็นประเพณีใหญ่โตระดับชาติและรู้กันไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน พระอุปคุตตเถระ ผู้เป็นพระอรหันตสาวกที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบความวิเวกวังเวงและอยู่ตามลำพังผู้เดียว ไม่ชอบเกี่ยวข้อกับผู้อื่น ชีวประวัติของท่านมีปรากฏขึ้นตอนหลังพุทธปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ.๒๑๘

อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
การมาร่วมพิธีอัญเชิญและร่วมขบวนแห่พระอุปคุต ถือเป็นหน้าที่ของข้าโอกาสพระธาตุพนมที่จะต้องมาร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าการได้ร่วมประกอบพิธีสำคัญดังกล่าว จะยิ่งให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคลาดปลอดภัย ด้วยบุญญาภินันท์ขององค์พระธาตุพนมและพระอุปคุตเถระ ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ข้าโอกาสพระธาตุพนม จึงพร้อมใจกันด้วยการนุ่งขาวห่มขาว ถือดอกไม้ ธูป เทียน ทอง ณ ริมฝั่งโขง ด้านหน้าวัดพระธาตุพนมกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยความวิจิตบรรจง เพื่อร่วมประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุตตามโบราณประเพณีขบวนแห่พระอุปคุต งานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอธาตุพนม
และชาวพุทธจังหวัดนครพนม

ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
๑. คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญพอประมวลสรุปได้ดังนี้
๑.๑ ความเชื่อถือศรัทธาในพิธีกรรมทางศาสนา
๑.๒ ความมีขวัญและกำลังใจที่มีต่อผู้มาร่วมประกอบพิธี
๑.๓ ความรักสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ
๑.๔ การประพฤติปฏิบัติตนในประเพณี พิธีกรรม อันดีงาม ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชุมชนและท้องถิ่น
๒. บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญพอประมวลสรุปได้ดังนี้
๒.๑ การบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงองค์พระธาตุพนม
๒.๒ การบริจาคแรงงานในการเตรียมการเพื่ออัญเชิญพระอุปคุต ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดท้าย
๒.๓ การเสียสละเวลามาร่วมประเพณีพิธีกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
๒.๔ การประพฤติปฏิบัติตนในศีลธรรมอันดีงาม เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาและสังฆบูชา
๒.๕ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรักหวงแหนพิธีกรรมอัญเชิญพระอุปคุตให้ดำรงคงอยู่ชั่วลูกหลานต่อไป

Location
ท่าเทียบเรือริมฝั่งโขง ทางด้านองค์พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
Tambon ธาตุพนม Amphoe That Phanom Province Nakhon Phanom
Details of access
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
Reference นายบุญมี เครือพันธ์
Organization โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๕๐ (บ้านคำพี้)
No. ๑๔๑ Moo
Tambon คำพี้ Amphoe Na Kae Province Nakhon Phanom ZIP code 48130
Tel. ๐๘๕-๗๓๙-๖๗๓๕
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่