ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 46' 30.6574"
16.7751826
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 42' 14.67"
98.7040750
เลขที่ : 192603
ข้อมูลอาหารที่มีอายุเกิน 100 ปี ร้านเจ๊ตุ๋ย กระบองจ่อ
เสนอโดย Takculture วันที่ 30 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 30 มีนาคม 2563
จังหวัด : ตาก
0 524
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา/เรื่องราวที่น่าสนใจของร้าน

ร้านเจ๊ตุ๋ย กระบองจ่อ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาแล้วจำนวน ๕ รุ่น คือ

รุ่นที่ ๑ คุณยายแก้ว คำดอนใจ (ยาย)

รุ่นที่ ๒ คุณยายคำผง พุ่มประจักษ์(ลูกสาว)

รุ่นที่ ๓ คุณจันทรา สุขจิต (ลูกสาว)

รุ่นที่ ๔ นางสุภา อินต๊ะ (ลูกสาว)

รุ่นที่ ๕ (ปัจจุบัน) นางทัษภรณ์ อินต๊ะ (หลาน)

โดยเริ่มต้นจาก คุณยายแก้ว คำดอนใจ ผู้เป็นยายได้เดินทางไปค้าขายที่จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้รับประทานอาหารพื้นเมือง เรียกว่า มูดีจ่อ หรือ“กะปองจ่อ” มีความหมายว่า

มูดี หมายถึง น้ำเต้า

กะปอง หมายถึง ขนมกรอบ

จ่อ หมายถึง ทอด

แต่เดิม “กระปองจ่อ”ของชาวเมียนมาจะนิยมรับประทานเฉพาะน้ำเต้าและถั่วงอกชุบแป้งทอดเท่านั้น น้ำจิ้มจะมีรสเปรี้ยวและเค็ม โดยส่วนประกอบของน้ำจิ้ม คือ น้ำมะขามแช่กระเทียมสดโขลก, พริกป่น, ถั่วแปะม้งคั่วป่น (คล้ายถั่วเหลือง), เกลือป่น และผลชูรสเมื่อนำเข้ามาในประเทศไทยจึงเรียกเพี้ยนไปเป็น “กระบองจ่อ” คุณยายแก้ว เป็นคนแรกที่นำเอากระบองจ่อเข้ามารับประทานในเขตพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยระยะแรกคุณยายแก้วได้ทำกินกันในครอบครัว และเปิดขายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นต้นมา เริ่มแรกคุณยายแก้วใช้วัตถุดิบเหมือนชาวเมียนมา คือ น้ำเต้าและถั่วงอกชุบแป้งทอดรับประทานคู่กับน้ำจิ้ม แต่มีการคัดแปลงน้ำจิ้มให้มีรสชาติถูกปากคนไทย ดังนี้

๑. น้ำมะขามแช่กระเทียมสดโขลก

๒. น้ำอ้อยเคี้ยว

๓. พริกป่น

๔. ถั่วลิสงคั่วป่น

๕ เกลือ

นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมกันจะได้รสเปรี้ยว หวานและเค็ม

ต่อมารุ่นที่สอง คุณยายคำผง พุ่มประจักษ์ เป็นลูกสาวคุณยายแก้ว คำดอนใจ ได้สืบทอดภูมิปัญญาของคุณแม่ โดยเพิ่มวัตถุดิบสำหรับชุบแป้งทอด นอกจากน้ำเต้าแล้ว ยังได้นำฟักทอง และถั่วงอกผสมมะละกอขูดฝอย

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ร้านเจ๊ตุ๋ย กระบองจ่อ
เลขที่ 664/2 ถนน อินทรคีรี
อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่