ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 55' 24.7303"
13.9235362
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 23' 40.9618"
100.3947116
เลขที่ : 192687
การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
เสนอโดย นนทบุรี วันที่ 7 เมษายน 2563
อนุมัติโดย นนทบุรี วันที่ 7 เมษายน 2563
จังหวัด : นนทบุรี
0 430
รายละเอียด

หลักเกณฑ์การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องเกียรติยศประกอบศพ

ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานต้องมีตำแหน่งชั้นและยศดังต่อไปนี้

๑.พระสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้น "พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไปและพระภิกษุสามเณร เปรียญธรรม 9 ประโยค

๒.พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้น "หม่อมเจ้า” ขึ้นไป

๓.ข้าราชการพลเรือนระดับ ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการตามระบบจำแนกประเภทตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ และประเภททั่วไประดับปฏิบัติการ ที่รับราชการ ๒ ปีขึ้นไป

๔.ข้าราชการฝ่ายทหารทหารตำรวจยศชั้นร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป

๕.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ "เบญจมดิเรกคุณาภรณ์” (บ.ภ.) และเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย” (บ.ม.) ขึ้นไป

๖.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

๗.ประธานองค์กรต่าง ๆ ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง

๘.บิดาและมารดาของผู้ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกาและประธานองค์กรที่กำหนด ในรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีที่ถึงแก่กรรมในขณะบุตรดำรงตำแหน่ง

๙.สมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ถึงแก่กรรมขณะดำรงตำแหน่ง

๑๐.ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นกรณีพิเศษ

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอพระราชทานน้ำหลวง

๑.หนังสือขอพระราชทานที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัดของผู้วายชนม์ หรือทายาท ***จำเป็น***

๒.ใบมรณะบัตรหรือหนังสือรับรองการตาย ***จำเป็น***

๓.สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ (ผู้วายชนม์) ***จำเป็น***หมายเหตุ : กรณีไม่มีบัตรข้าราชการ ให้ใช้บัตรประชาชนแทนได้

๔.สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้วายชนม์) ***จำเป็น***

๕.สำเนาบัตรประชาชน (ทายาท/ผู้ขอ) ***จำเป็น***

๖.สำเนาทะเบียนบ้าน (ทายาท/ผู้ขอ) ***จำเป็น***

๗.สำเนาใบกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์/ใบตราตั้งสมณศักดิ์ (ถ้ามี)

๘.ประวัติผู้วายชนม์โดยสังเขป พร้อมรูปถ่าย ขนาด ๒ นิ้ว ***จำเป็น***

๙.หนังสือสุทธิ (กรณีพระสงฆ์) (ถ้ามี)

๑๐.ใบตราตั้งสมณศักดิ์ (กรณีพระสงฆ์) (ถ้ามี)

๑๑.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)หมายเหตุ: เช่น ใบแจ้งความ ใบเปลี่ยนชื่อ เป็นต้น

ระเบียบและข้อจำกัด

๑. การพระราชทานน้ำหลวงอาบศพทางวัดจะจัดเตรียมสถานที่การรดน้ำศพของแขกโดยเจ้าภาพเชิญแขกรดน้ำศพก่อน เมื่อได้เวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพเจ้าภาพต้องเชิญผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเป็นประธานใน การรดน้ำหลวงคนสุดท้าย

๒. ใกล้เวลาขอรับน้ำหลวงพระราชทาน เจ้าภาพต้องมายืนรอรับน้ำหลวงอาบศพหน้าศาลา เจ้าหน้าที่เชิญน้ำหลวงอาบศพมาถึงศาลาเจ้าภาพยืนตรงไม่ต้องทำความเคารพ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ใช่ผู้แทนพระองค์

๓. การขอรับเครื่องเกียรติยศประกอบศพหีบ โกศ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ทำหน้าที่สุกำศพ(นำศพบรรจุลงหีบ โกศโถ และโกศแปดเหลี่ยม) สำหรับโกศไม้ ๑๒ ขึ้นไป สำนักพระราชวัง เป็นผู้ปฏิบัติทำสุกำศพ (นำศพบรรจุลงโกศ)

๔. ตามพระราโชบายตลอดรัชกาลที่ ๑๐ ไม่อนุญาตให้นำศพลงโกศ ศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เครื่องเกียรติยศประกอบศพจึงอนุญาตให้ตั้งโกศประดับหน้าหีบศพได้ด้วยเหตุผลที่ว่าโกศเป็นเครื่องเกียรติยศศพที่ได้รับพระราชทานของผู้เสียชีวิตและเป็นเครื่องหมายแห่งผลของการปฏิบัติราชการหรือการที่ได้ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง มาตลอดจึงไม่จำเป็นต้องมีร่างของผู้เสียชีวิตอยู่ในนั้นส่วนศพที่ได้รับพระราชทานหีบเกียรติยศประกอบศพต้องบรรจุศพลงหีบเกียรติยศ

๕. สำหรับศพที่ได้รับหีบเกียรติยศ หีบรองในเจ้าภาพต้องจัดหาเองโดยสำนักพระราชวังกำหนดขนาดหีบรองในต้องกว้างไม่เกิน ๑๘ นิ้วเนื่องจากต้องนำหีบหลวงไปครอบหีบรองใน ดังนั้น หีบรองในต้องเรียบ ๆ ไม่มีลายเชิงขา เพื่อให้สามารถนำบรรจุศพลงไปในหีบหลวงได้

๖. สำหรับศพที่ได้รับโกศเกียรติยศจะมีปี่กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพแล้วเจ้าหน้าที่ประกอบโกศและมีฉัตรเบญจาตั้งประดับ ส่วนหีบใส่ศพเจ้าภาพต้องจัดหาเองจะเป็นแบบหรือขนาดใดก็ย่อมได้ตามความพอใจ

๗. ถ้าได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมจะได้รับพระราชทาน ดังนี้- พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม จำนวน ๓ คืน คืนละ ๔ รูป- ผ้าสบงทอดบังสุกุลถวายพระ ๓ คืน คืนละ ๔ ผืน (เจ้าภาพเป็นผู้จัดเตรียม)- ปัจจัยถวายพระ ๔ รูป ๆ ละ ๓๐๐ บาท (เจ้าภาพเป็นผู้จัดเตรียม)

๘. การขอพระราชทานน้ำหลวงจะขอพระราชทานน้ำหลวงอย่างเดียวก็ได้โดยไม่ขอเครื่องเกียรติยศส่วนศพไหนที่มาขอรับน้ำหลวงไม่ทันหรือไม่ทราบจะมาขอเครื่องเกียรติยศย่อมได้ถ้าเป็นศพหีบจะต้องประกอบหีบเกียรติยศ และต้องดูขนาดของหีบที่ประกอบอยู่ถ้าใหญ่กล่าวหีบหลวงก็ต้องเปลี่ยนหีบ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นผู้ถ่ายศพให้ถ้าเป็นศพโกศจะไม่ได้รับพระราชทานพระพิธีธรรมสวด

๙. วันที่ไม่พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ คือ

๙.๑วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชณีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๙.๒ วันศุกร์ (ประเพณีไทยจะไม่เผาศพวันศุกร์จึงไม่พระราชทานเพลิงศพ ส่วนใครที่จะเผาวันศุกร์ก็ไม่ผิด)

๙.๓ วันฉัตรมงคล

๑๐.กองพระราชพิธีและกองกิจการพิธีการศพ (กระทรวงวัฒนธรรมส่วนหน้า) มาปฏิบัติงานทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ผู้มีความประสงค์จะขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพต้องมาก่อนเวลา ๑๕.๐๐ น. เพราะจำกัดด้วยเวลาการเดินทางและเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงาน

๑๑.บุคคลผู้ทำลายชีพตนเองและผู้ต้องอาญาแผ่นดินไม่รับพระราชทาน

สถานที่ตั้ง
จังหวัด นนทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นนทบุรี อีเมล์ nonthaburi@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี
จังหวัด นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
โทรศัพท์ 025801347 โทรสาร 025802764
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/nonthaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่