ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 9' 53.1421"
13.1647617
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 50' 14.2224"
99.8372840
เลขที่ : 192726
ผ้าซิ่นลายแตงโม
เสนอโดย เพชรบุรี วันที่ 14 เมษายน 2563
อนุมัติโดย เพชรบุรี วันที่ 14 เมษายน 2563
จังหวัด : เพชรบุรี
0 403
รายละเอียด

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ชุมชน

ประวัติความเป็นมา/ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจในการผลิต

ผ้าซิ่นลายแตงโม เป็นผ้านุ่งมีลายเฉพาะสตรีไทยทรงดำ ต้องใช้นุ่งกันทุกคน ทุกโอกาส ไม่ว่าแต่งกายอยู่กับบ้าน แต่งกายไปงานสำคัญ แต่งกายไปทำงาน หรือเดินทางไกล การนุ่งผ้าซิ่นลายแตงโม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทบทรงดำในประเทศไทยในขณะนี้ยังคงใช้นุ่งกันอยู่ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในประเทศลาว ปัจจุบันนุ่งผ้าซิ่นลาว ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันนุ่งผ้าซิ่นสำเร็จรูปสีดำหรือกระโปรงสีดำทั้งผืนไม่มีลวดลาย

นอกจากผ้าซิ่นฝ้ายแล้ว ยังมีผ้าซิ่นไหมที่เรียกว่า “ผ้าซิ่นตาหมี่” ซึ่งใช้ในพิธีเสน ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะผ้าซิ่นตาหมี่ทอได้ยากและต้องทำด้วยผ้าไหม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ผ้าซิ่นลายแตงโม เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีครามเข้มเกือบดำ ทอสลับกับสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน เป็นลายทางยาวตรงลงมา ลายเส้นตรงตามแนวยาวนี้ มองดูโดยรวมคล้ายกับลายของผลแตงโม จึงนิยมเรียกกันว่า “ลายแตงโม” ลายชุดหนึ่งมีความหนาของทางเป็นเส้นเล็ก – ใหญ่ สลับกันไป โดยมีระยะห่างต่างกัน ผ้าซิ่นลายแตงโมหนึ่งผืนประกอบ
ด้วยผ้า ๓ ส่วน นำมาเย็บต่อให้เป็นผืนเดียว แบ่งเป็น ส่วนหัวซิ่น ส่วนตัวซิ่น และส่วนตีนซิ่น ส่วนหัวซิ่นเป็นส่วนที่อยู่ท่อนบนสุดมีสีครามเข้มเกือบดำเป็นพื้นทั้งหมด ส่วนตัวซิ่นเป็นผืนผ้าส่วนที่มีลายแตงโม ที่ใช้เส้นฝ้ายสีแดงเป็นเส้นยืน และใช้เส้นฝ้ายสีดำเป็นเส้นพุ่ง ส่วนตีนซิ่นเป็นส่วนที่นำมาเย็บต่อติดในส่วนชายผ้า เป็นส่วนที่มีความหนาพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้ชายผ้าซิ่นขาดง่าย

กระบวนการ/วัสดุที่ใช้ในการผลิต

วิธีการทำผ้าไทยทรงดำ

1. กี่ทอผ้า

2. ด้ายทอ

3. กระสวย

ผ้าซิ่นลายแตงโมหนึ่งผืนประกอบด้วยผ้า 3 ส่วน นำมาเย็บต่อให้เป็นผืนเดียว แบ่งเป็น ส่วนหัวซิ่น ส่วนตัวซิ่น และส่วนตีนซิ่น ส่วนหัวซิ่นเป็นส่วนที่อยู่ท่อนบนสุดมีสีครามเข้มเกือบดำเป็นพื้นทั้งหมด ส่วนตัวซิ่นเป็นผืนผ้าส่วนที่มีลายแตงโม ที่ใช้เส้นฝ้ายสีแดงเป็นเส้นยืน และใช้เส้นฝ้ายสีดำเป็นเส้นพุ่ง ส่วนตีนซิ่นเป็นส่วนที่นำมาเย็บต่อติดในส่วนชายผ้า เป็นส่วนที่มีความหนาพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้ชายผ้าซิ่นขาดง่าย

1. กอด้ายแล้วเอาไปขึง ตามความยาวที่ต้องการ

2. นำด้ายไปใส่เขา, ใสฟืม

3. เอาไปขึงหรือกางไว้ที่กี่ทอ

4. ทอผ้าด้วยกระสวยมือ

รายละเอียดผลิตภัณฑ์

1) ประโยชน์ใช้สอย เป็นของที่ระลึกสำหรับผู้มีความนิยมในผ้าไทยทรงดำอนุรักษ์เผยแพร่ผ้าไทยทรงดำ
ให้คงอยู่ และสร้างรายได้ให้แก่ภูมิปัญญาและชุมชน

2) ราคา 800 บาทขึ้นไป ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของผ้า สั้น หรือยาว

3) วัสดุ/ส่วนประกอบ ผ้าซิ่นลายแตงโมหนึ่งผืนประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น

4) ระยะเวลาในการผลิต 1 – 2 เดือน (ใช้เวลาว่างหลังฤดูการทำนา)

5) สถานที่ในการจัดจำหน่าย ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองจิก ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองจิก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล หนองปรง อำเภอ เขาย้อย จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรอนงค์ บุญประเสริฐ ธนินทร์ณัฐ อุ่นเรือน อีเมล์ petburi_culture@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่