ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 54' 17.4863"
13.9048573
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 14' 47.9429"
102.2466508
เลขที่ : 192756
การทำคันไถ
เสนอโดย สระแก้ว วันที่ 15 เมษายน 2563
อนุมัติโดย สระแก้ว วันที่ 15 เมษายน 2563
จังหวัด : สระแก้ว
0 569
รายละเอียด

ไถ เป็นเครื่องมือประกอบการทำนาทำไร่ ซึ่งใช้ควายหรือวัวลากเพื่อกลับดิน แล้วใช้คราดหรือขลุบตีดินที่ไถให้เป็นก้อนเล็กลง เพื่อเพาะปลูกพืช ทำนา ได้สะดวกเหตุที่นิยมใช้ควายลากเพราะว่าควายมีความแข็งแรงไม่กลัวฝนที่ตกอยู่เสมอ หากใช้วัวเตรียมดินเพาะปลูกมักใช้วัวเป็นคู่สำหรับเตรียมลากคราดและขลุบตีดิน

ในสมัยโบราณชาวบ้านมีอาชีพทำนาปลูกข้าว คนในสมัยก่อนจึงได้คิดทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ การทำนาปลูกข้าวเป็นหนึ่งในอาชีพของชาวบ้านเกือบทุกครอบครัวจะมีการทำนาเพื่อให้ได้ข้าวไว้กินตลอดปีที่เหลือจากการสำรองไว้เพื่อครอบครัวแล้วก็นำออกจำหน่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างอื่นบ้าง การทำนาในสมัยก่อนเป็นการทำเกษตรแบบพอมีพอกินดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาก็ได้ประดิษฐ์คิดทำขึ้นใช้เอง ในบรรดาเครื่องมือในการประกอบอาชีพทั้งหลาย เครื่องมือที่ใช้ในการไถนาหรือคันไถ ก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง (สำหรับข้อมูลว่าใครเป็นผู้คิดทำเป็นคนแรกไม่มีใครรู้ แต่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา) ไถเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้เวลานานในการทำนานพอสมควร เพราะต้องหาไม้เนื้อแข็งที่เหนียวและมีลักษณะใกล้เคียงกับชิ้นส่วนที่ต้องการทำซึ่งแต่ละชิ้นส่วนจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมกันเป็นชุดจะประกอบด้วย หัวหมู หางยาม คันไถ

คำสำคัญ
คันไถ
สถานที่ตั้ง
นายชาลี กองแก้ว
เลขที่ 65 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล หนองตะเคียนบอน อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
บุคคลอ้างอิง สุดธิดา ใจฉลาด
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว อีเมล์ sakaeo.culture70@gmail.com
อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27000
โทรศัพท์ 037425029 โทรสาร 037425030
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่