การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง มี ๒ แบบ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการใช้อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก มือและข้อศอกทั้ง ๒ เข้าทั้ง ๒ สัมผัสกับพื้นการกราบมี ๓ ลักษณะ คือ ท่าเตรียม ชาย นั่งคุกเข้าตัวตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า เข่าทั้งสองห่างพอประมาณ มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพบุตร) หญิง นั่งคุกเข่าตัวตรงปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองว่างคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพธิดา)ท่ากราบ จังหวะที่ ๑ (อัญชลี) ยกมือขึ้นในท่าประนมมือ จังหวะที่ ๒ (วันทา) ยกมือขึ้นไหว้ตามระดับที่ ๑ การไหว้พระ จังหวะที่ ๓ (อภิวาท) ทอดมือทั้งสองลงพร้อมๆ กัน ให้มือและแขนทั้งสองข้าง ราบกับพื้น คว่ำมือห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสอง (ชาย ศอกทั้งสองข้าง ต่อจากเข่าราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หญิง ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย ราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง)การกราบผู้ใหญ่ เป็นการกราบผู้มีพระคุณและผู้ที่มีอายุมากกว่า ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพ ลักษณะการปฏิบัติของชายและหญิงเหมือนกัน คือ นั่งพับเพียบทอดมือทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนมตั้งกับพื้นไม่แบมือ ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ต้องกระดกนิ้วมือขึ้นมารับหน้าผาก และกราบเพียงครั้งเดียว