ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 53' 38.747"
6.8940964
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 45.9976"
100.6627771
เลขที่ : 192898
วัดควนขี้แรด
เสนอโดย สงขลา วันที่ 21 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 22 มิถุนายน 2563
จังหวัด : สงขลา
0 792
รายละเอียด

รายละเอียดข้อมูล

ในอดีตเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ บ้านควนขี้แรด หมู่ที่ ๙ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชาชนปลูกบ้านอาศัยอยู่ประมาณ ๔๐ ครัวเรือน

นายแจ้ง อ่อนปาน เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นที่คอยให้การช่วยเหลือและ แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ เมื่อมีธุระหรือไปซื้อสิ่งของที่จำเป็นต้องเดินทางไปตลาดนัดควนมีด ไปนอค้างคืนในวัดควนมีดหรือบ้านญาติท่าน ผู้ใหญ่บ้านแจ้ง อ่อนปาน และแกนนำหมู่บ้านในตอนนั้นได้มีความเห็นที่ต้องการจะสร้างวัดเพื่อประชาชนจะได้ทำบุญใส่บาตรและจะได้ทำพิธีต่าง ๆ ในศาสนาพุทธ

สร้างวัด เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ได้นิมนต์พระครูกิตติสารโสภิต (พ่อหลวงรื่น) เจ้าอาวาสวัดช่องเขา เพื่อมารับการถวายที่ดินหลังจากนั้นพ่อหลวงรื่นได้จัดส่งพระภิกษุมาอยู่เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ พ่อหลวงแก้วเป็นรองเจ้าอาวาสวัดช่องเขาได้นำพระภิกษุจำนวน ๕ รูป มาอยู่เข้าประจำพรรษาประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมพัฒนาแผ้วถางป่าเพื่อปลูกสร้างกุฏิศาลาเป็นที่ชั่วคราวจนกว่าจะได้สร้างศาลา และกุฏิแบบถาวร และนายนวน ชุมแก้ว ได้ติดต่อพ่อท่านรื่นเพื่อบอกขายที่ดินแปลงที่อยู่กับที่ท่านผู้ใหญ่บ้านแจ้งถวายมีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ แต่นายนวน ชุมแก้วได้ขายให้ ๑๐ ไร่ อีก ๓ ไร่ถวายวัด ท่านผู้ใหญ่บ้านแจ้ง อ่อนปานได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยกันโค่นไม้เป็นท่อน ๆ ขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านเพื่อช่วยกันลากไม้ชุงกลับบ้านไปวัดเพื่อจะได้เลื้อยแปรรูปที่ในวัด ไม้มีจำนวนหลายท่อนที่จะได้ลากถึงวัด แต่ยังไม่ได้เลื้อยแปรรูป

ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ช่วงพระภิกษุเข้าพรรษาได้ประมาณ ๒ เดือน ท่านผู้ใหญ่บ้านแจ้ง อ่อนปาน ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันในเวลากลางคืนพระภิกษุและชาวบ้านต่างก็มีความโศกเศร้า เสียใจที่ผู้นำมีความเสิยสละเป็นนักพัฒนาต้องจากไป เมื่อครบสามเดือนพระภิกษุสงฆ์ก็ได้ออกพรรษา แล้วกลับไปอยู่วัดช่องเขา ในที่สุดที่พักสงฆ์บ้านควนขี้แรดไม่มีพระมาอยู่จนกลายเป็นที่พักสงฆ์ร้างไป ๒๙ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๙ หลวงพ่อขำซึ่งเป็นพระธุดงค์เดินสายวิปัสนา ต้องการหาที่สงบวิเวก มีคนแนะนำให้ท่านมาอยู่ พ่อหลวงขำเมื่อมาถึงเห็นสภาพที่พักสงฆ์ร้างก็พอใจที่จะอยู่ ผู้ใหญ่บ้านจับ สุขทอง ได้ประกาศให้ชาวบ้านไปพัฒนา แผ้วถางปัดกวาด เพื่อให้พ่อหลวงขำ ได้หยุดพักก่อนและต่อมาผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่พักอาศัยได้ พ่อหลวงขำเข้ามาอยู่ทำหน้าที่แบบพระปฎิบัติเดินสายวิปัสนากรรมฐาน ชาวบ้านก็พลอยสบายใจ เมื่อได้ทำบุญใส่บาตรมีพระจากวัดอื่น ร่วมเข้าพรรษาได้ ๓ พรรษา พ่อหลวงขำเกิดรู้สึกเบื่อที่พักสงฆ์แห่งนี้แล้วอยากจะไปอยู่ที่อื่น ชาวบ้านก็ไม่คัดค้าน ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านได้ไปมิมนต์ท่านระวิ ซึ่งท่านพักอยู่ที่ วัดห้วยขัน จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านก็ได้ไปพูดคุยนิมนต์ให้ท่านมาอยู่ที่พักสงฆ์บ้านควนขี้แรดท่านก็ตกลง แล้วเก็บของมาในวันนี้ เมื่อท่านมาถึง สองสามวันท่านระวิได้เรียกผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านมาคุยในเรื่อง สร้างโรงธรรม ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านก็เห็นด้วยอยู่ต่อมาท่านก็สั่งวัสดุก่อสร้างเข้ามาและสั่งให้พระที่อยู่ด้วยกันและชาวบ้านหลายคน ได้ตีผังขุดหลุมเสาต่อหม้อโรงธรรมและชวนกันเท่คอนกรีต เทเสาเทคานและบ้างช่วงได้จ้างช่างทำจนเสร็จใช้งานได้และก้อหยุดท่านระวิก็คิดสร้างโรงครัวอีก เพราะไม่มีโรงครัวที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ได้ฉันพัตหาร และเก็บเครื่องใช้ต่าง ๆ ท่านระวิเรียกกรรมการมาคุยกรรมการได้เห็นด้วยกับท่านระวิได้ติดต่อขอไม้ เพื่อนำมาแปรรูปกับเจ้าของไม้ เมื่อเจ้าของไม้ยินยอมให้ท่านก็จ้างช่างเลื้อยไม้และขอความช่วยเหลือชาวบ้านช่วยงานขนไม้มาวัด และได้เริ่มก่อสร้าง โรงครัวจนเสร็จพอใช้การได้ท่านระวิมาอยู่ที่พักสงฆ์ บ้านควนขี้แรด ๔ พรรษา เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๓๖ ท่านก็เดินทางจากที่พักสงฆ์บ้านควนขี้แรดไปปี พ.ศ.๒๕๓๗ ชาวบ้านก็เดินทางไปนิมนต์ท่านอ๊อด วัดขุนตัดหวาย ท่านอ๊อดมาอยู่ ๖ พรรษา ได้จ้างช่างตีฝ่าเพดานโรงธรรมและจ้างรถถ่มดิน ที่ก่อสรางอาคารเอนกประสงค์และได้สร้างศาลาบำเพ็ญศพ และท่านอ๊อดก็ต้องไปจากที่พักสงฆ์บ้านควนขี้แรดปี พ.ศ.๒๕๔๓ พระขาวและพระพลมาอยู่ ๗ พรรษา ได้หาพระภุกษิมาจำพรรษาได้ชักชวนพุทธบริษัทมาทอผผ้าป่าและทอดกระกฐิน เมื่อออกมาพรรษาพ่อหลวงขาวก็ต้องกลับไปอยู่สำนักสงฆ์ปลักจิก หลังจากนั้นพระอุ้ยมาอยู่ด้วย ๓ พรรษาได้หาพระมาจำพรรษาครบทั้ง ๕ รูป และเมื่อออกพรรษา พระอุ้ยก็มีความจำเป็นต้องไป อยู่วัดอื่น ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๘ คณะกรรมการการวัดได้ไปพบท่านอาจารย์จริน เพิ่อไปขอพระสุรเดช เตชวณโณ ขึ้นมาอยู่ที่พักสงฆ์บ้านควนขี้แรด ท่านอาจารย์จริน ไม่ขัดข้องอนุญาตให้ พระสุรเดช มาอยู่ตามความต้องการ เมื่อพระสุรเดชมาอยู่ ๘ พรรษาได้สร้างเมรุ สร้างโรงครัว สร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ทะเลจืด กองอำนวยการและก่อสร้างอุโบสถปรับพื้นที่ขยายบริเวณวัด ปลูกต้นไม้ดำเนินการ เพื่อขอสร้างวัดได้ยื่นเรื่องไปยังสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติได้เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติได้อนุญาตเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ และได้ยื่นเอกสารเพื่อขอตั้งวัด เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติอนุญาตตั้งวัดได้เมื่อวันนี้ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ได้ตั้งชื่อวัดควนนาหว้า และได้ดำเนินการให้ที่ดินอำเภอจะนะออกรังวัดทำโฉนด เพื่อโอนให้เป็นชื่อของวัดควนนาหว้า และท่านเจ้าคณะอำเภอจะนะได้แต่งตั้งให้พระอธิการสุรเดช เตชวณโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดควนนาหว้า เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕

คำสำคัญ
วัดควนขี้แรด
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
วัดควนขี้แรด
เลขที่ 9
ตำบล นาหว้า อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสำเริง ทองเอียด
บุคคลอ้างอิง นายสำเริง ทองเอียด
เลขที่ 9
ตำบล นาหว้า อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่