ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 29' 19.3355"
19.4887043
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 19' 42.7847"
100.3285513
เลขที่ : 192949
พิธีบวงสรวงเสาหลักเมืองเชียงคำ
เสนอโดย พะเยา วันที่ 5 มิถุนายน 2563
อนุมัติโดย พะเยา วันที่ 22 มิถุนายน 2563
จังหวัด : พะเยา
1 818
รายละเอียด

ประวัติเมืองเชียงคำในอดีตมีอายุประมาณ 900 ปี และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองเวียงพางคำ ก่อตั้งมาเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองชะราวที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านคุ้ม ต.ร่มเย็น ตอนแรกเข้าใจว่าเมืองเชียงคำหรือ เวียงพางคำและเมืองชะราวเป็นคนละยุคกัน แต่ตามประวัติการอพยพมาตั้งรกรากสร้างบ้านแปลงเมือง ของชาวไทยจากตอนใต้ของประเทศจีนมีอายุประมาณ 1,000 ปีโดยประมาณ จึงสันนิษฐานว่าเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงแสน เชียงของ ฝาง เชียงคำ ภูกามยาว แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ อยู่ในยุคเดียวกันประวัติเมืองเชียงคำเก่าหรือเมืองเวียงพางคำที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียง ม.6 ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา หมู่บ้านเวียงเป็นชุมชนเก่าแก่ มาแต่อดีต ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ( พ.ศ.1600 -1700 ) มีอายุราว 900 ปี ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเชียงคำในอดีต โดยมีข้อสันนิษฐานจากตำนานสิงหนวัติกุมาร ว่าชาวเมืองอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน ชนชาวไทยกลุ่มนี้ได้แสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสมเพื่อสร้างบ้านแปลงเมือง และมีหลายเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น ในบรรดาเมืองเหล่านั้น มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองเวียงพางคำ เมืองเวียงพางคำที่ว่านี้มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเชียงคำเก่าที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียง หมู่ 2 ตำบลเวียงในปัจจุบันนี้ และจากตำนานการแผ่ขยายอาณาจักรล้านนาขึ้นมาทางทิศเหนือฝั่งตะวันออก ได้บันทึกไว้ว่าพญาคำฟูแห่งราชวงศ์มังรายได้เสด็จมาเยี่ยมพระสหายเป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่าเศรษฐีงัวหงส์ที่เมืองเชียงคำและได้มาสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงคำอันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคำแห่งนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 1887 พระชนมายุได้ 47 พรรษา หลักฐานที่แสดงว่า เป็นเมืองโบราณเก่าแก่คือซากวัดวาอาราม กู่เก่า และกำแพงดิน ซึ่งโบราณสถานกำแพงดินและคูเมืองยาวล้อมรอบเป็นวงกลมหรือคล้ายเลข 8 มีร่องรอยกินเนื้อที่ตั้งแต่หมู่บ้านเวียง หมู่บ้านดอนไชย หมู่บ้านดอนแก้ว หมู่บ้านพระนั่งดิน หมู่บ้านคือ และพบศิลาจารึกที่วัดพระแก้ว ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ กรมศิลปากรได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่าศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น มีศิลาจารึกบางส่วนถูกนำไปไว้ที่พระศรีโคมคำ ( วัดพระเจ้าตนหลวง ) ในระยะแรกเจ้าสิงหนวัตกุมารได้จัดตั้งเมืองเวียงพางคำหรือเมืองเชียงคำแห่งนี้จากชุมชนขนาดเล็กและขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา และพ่อขุนจอมธรรมผู้ก่อตั้งเมืองภูกามยาวหรือเมืองพะเยา ปีพ.ศ.1639 ได้ผนวกเอาเมืองเวียงพางคำหรือเมืองเชียงคำไว้เป็นหัวเมืองหนึ่งของเมืองภูกามยาว เมืองเวียงพางคำหรือเมืองเชียงคำในสมัยอาณาจักรล้านนาปีพ.ศ. 1805 ถูกปกครองโดยพ่อขุนเม็งรายมหาราชร่วมสมัยเดียวกันกับพ่อขุนงำเมือง ซึ่งได้ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง สมัยต่อมาพญาแสนภูพระนัดดาของพ่อขุนเม็งราย ได้ขึ้นครองราชสมบัติได้จัดการปกครองให้เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นเมืองปันนาขึ้นตรงต่อเมืองเชียงแสน ต่อมาพญาคำฟูได้ปกครองล้านนา ได้ยกกองทัพไปตีเมืองภูกามยาวหรือพะเยาจนชนะและยกกองทัพไปตีเมืองแพร่ เมืองน่านแต่ไม่สำเร็จ พญาคำฟูได้มาพักกองทัพที่เมืองเชียงคำนี้หลายครั้ง เมืองเชียงคำตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนามาโดยตลอด ( 2101 – 2130 ) ต่อมาพม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และยึดได้เมืองในอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พม่าได้แบ่งการปกครองอาณาจักรล้านนาเป็น 2 ส่วน คือเมืองลุ่มแม่น้ำปิง มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง และเมืองลุ่มแม่น้ำกก-แม่น้ำอิง มีเมืองเชียงแสนเป็นศูนย์กลาง ส่วนเมืองเชียงคำเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงแสน ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้ปกครองอาณาจักรล้านนาทั้งหมด ได้จัดให้มีเจ้าผู้ครองนครเมืองต่าง ๆเมืองเชียงคำจึงขึ้นตรงต่อหัวเมืองล้านนา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้จัดการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปีพ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 ได้ปกครองประเทศเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เมืองเชียงคำได้จัดให้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณน่านเหนือซึ่งมีเมืองในสังกัด 8 เมือง ต่อมาเมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ ได้ถูกยุบรวมเป็นเขตปกครองเดียวกันเรียกว่าแขวงน้ำลาว ได้จัดตั้งที่ทำการแขวงน้ำลาว ณ หมู่บ้านเวียง ต่อมาประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2445 ได้เกิดขบฎชาวไทยใหญ่ (ขบฎเงี้ยว) ได้มาตั้งทัพที่ทุ่งเชียงคำได้เข้าปล้น และยึดเมืองเชียงคำได้แล้ว เผาทำลายเมืองจนหมดสิ้นและจับนายแขวงเมืองเชียงคำประหารชีวิตพระยาดัสกรปลาสได้รับมอบหมายให้ยกกองทัพมาปราบกบฏไทยใหญ่จนสำเร็จ และเห็นว่าเมืองเชียงคำถูกทำลายเสียหายจนหมดสิ้น จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ทำการใหม่ ณ หมู่บ้าน หย่วนอันเป็นชุมชนไทลื้อเมื่อปี พ.ศ. 2446 ตั้งแต่นั้น มาเมืองเชียงคำที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียงจึงถูกลดฐานะลงมาเป็นหมู่บ้านในปีพ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศทางการได้จัดการปกครองให้มีการจัดตั้งเป็นตำบล หมู่บ้าน บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงจึงถูกรวมเป็นตำบลเวียงและหมู่บ้านเวียงได้ถูกจัดให้เป็นหมู่ ที่ 6 ของตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำในการปกครอง ต่อมาในปีพ.ศ. 2535 ทางราชการได้จัดการปกครองตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แบ่งการปกครองบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมูบ้านเวียง หมู่ที่ 6 ตำบลเวียง ได้เข้าร่วมเป็นหมู่บ้านเขตสุขาภิบาลบ้านทราย และสุขาภิบาลบ้านทรายได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลในปีพ.ศ.2544 ดังนั้นหมู่บ้านเวียงจึงเป็นชุมชนหนึ่งในเขตเทศบาลบ้านทรายมาจนถึงปัจจุบัน วัดบ้านเวียงเดิมชื่อวัดเวียงหลวง แต่ต่อมาสันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชเจ้า แห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้เดินทัพผ่านมาพักที่เมืองเชียงคำ หรือเมืองเวียงพางคำ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานไว้ชั่วคราวที่วัดเวียงหลวง ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกต่อ ๆ กันมาว่า ” วัดพระแก้ว ” จนถึงทุกวันนี้ โดยตั้งอยู่ ตั้งอยู่เลขที่ 145 บ้านเวียง หมู่ 6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อ พ.ศ.2250 เดิมชาวบ้านเรียกวัดเวียงหลวง ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา พ.ศ.2415 ภายในวัดยังเป็นที่ตั้ง เสาหลักเมืองเชียงคำในอดีต ซึ่งเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง
นายผดุง ประวัง ประธานสภาวัฒธรรมตำบลเวียง ผู้ให้ข้อมูล

สถานที่ตั้ง
ศาลหลักเมืองเชียงคำ วัดพระแก้ว
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล เวียง อำเภอ เชียงคำ จังหวัด พะเยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายผดุง ประวัง
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมตำบลเวียง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล เวียง อำเภอ เชียงคำ จังหวัด พะเยา
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่