งานแกะสลักกรงนกหัวจุก
งานแกะสลักไมักรงนกหัวจุก เป็นงานช่างฝีมือพื้นบ้านดั่งเดิมของคนในพืันที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมทำและจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจ โดยกรงนกหัวจุกนิยมทำ ๒ แบบ คือ แบบกลม (สาแรบูละ) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๑๒-๑๔ นิ้ว และ แบบสี่เหลี่ยม (สาแรปะสือฆี) กว้าง ๑๒-๑๕ นิ้ว ยาว ๑๒-๑๕ นิ้ว และสูง ๑๕-๒๐ นิ้ว ซึ่งกรมนกหัวจุกประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
๑. ตะขอ (ญาโกะ) ส่วนใหญ่นิยมซื้อของสำเร็จจากร้านทำด้วยเหล็ก บางกรงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง แกะสลักส่วนบน ส่วนล่างจะกลึงติดกับหัว (กือปาลอ) เรียกว่า กือปาลอญาโกะ
๒. เนิน (กูนุง) เป็นคานแกะสลัก ๔ อัน จากเสามาบรรจบกับส่วนหัว (กือปาลอญาโกะ) บางกรงจะใช้ไม้ขนาด ๑ นิ้วต่อจากเสาไปบรรจบกับส่วนหัว
๓. ตีแย (เสา) กรงสี่เหลี่ยม มีเสา ๔ ต้น แต่ละต้นจะมีการแกะสลักหมดทั้งตัวเสา แต่บางกรงจะแกะสลักเฉพาะบริเวณหัวเสา (กือปาลอตีแย)
๔. แมและห์ เป็นแผ่นไม้แกะสลักกรุงนกหัวจุกทุกกรง จะมีการแกะสลักบริเวณแมและห์ บางกรงจะแกะสลักสองด้าน บางกรงจะแกะสลักทั้งสี่ด้านจะติดกับเสาและเนิน บางกรงจะมีการแกะสลักส่วนล่าง จะมีไม้แกะสลักขาขนาด ๑-๒ นิ้ว ขนานกัน ๑ คู่ ทำหน้าที่คล้ายเป็นคานของกรงนก
๕. คิ้ว ส่วนโค้งใต้แมและห์ จะมีการแกะสลักติดกับเสารทั้งสี่ด้าน และส่วนล่างจะติดใต้คานของกรงนกติดกับเสาทั้งสี่ด้านเหมือนกัน
๖. คอน (จางง) ไม้ราวสำหรับจับกรงของนกกรงหัวจุก บางกรงจะแกะสลัก
๗. ซี่ (บีเลาะห์) บางกรงจะใช้ไม้ไผ่จะเหลาให้มีขนาดเท่ากัน บางกรงจะใช้ไม้ เช่น ไม้เสาดำ จะเหลาหรือขูดให้มีขนาดเท่ากัน
๘. ถาด (นาเปะห์) ที่รองมูลนกกรงหัวจุก
๙. แก้ว (จาแว) ที่ใส่น้ำและอาหารนก