ความเป็นมา (ภมูิหลัง/ความเชื่อ)
ฟ้อนรำศรีโคตรบูรณ์ เป็นศิลปะการฟ้อนรำเป็นที่ยอมรับและรู้จักกัน แพร่หลายและเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ รูปแบบของการร่ายรำดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมล้มลง โดยการเริ่มของนายวิเชียร เวชสวรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ในขณะนั้นร่วมกับโรงเรียนปิยะมหาราชาลับ โดยคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากกรมศิลปากรได้ลอกภาพจำหลักประวัติขององค์พระธาตุพนมออกมาร่วมกันคิดและประดิษฐ์ท่ารำขึ้น โดยใช้ทำนองเพลงของผู้ไทยเรณูนครและการแต่งกายของนักแสดงก็คล้ายผู้ไทยเรณู เมื่อคิดท่ารำการแต่งกาย และเพลงเสร็จแล้ว จึงได้นำไปแสดงครั้งแรกในการต้อนรับ ฯพณฯ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมทย์และต่อมา นายวิเชียร เวชสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ที่จะหาเงินสมทบทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ซึ่งพังลงมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ ได้มอบให้คณะ เจ.ซี นครพนมนำไปแสดงที่ทีวีช่อง ๗ สี กรุงเทพฯ ได้รับเงินบริจาคจำนวนหนึ่ง ต่อมาในสมัย นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้นำคณะฟ้อนรำไป รำถวายต่อหน้า พระที่นั่งที่เขื่อนน้ำอูน จังหวัด จังหวัดสกลนคร ต่อมาได้นำคณะฟ้อนรำไปออกทีวีที่ จังหวัดขอนแก่น เพื่อนเป็นการเผยแพร่ศิลปะ
การฟ้อนรำศรีโคตรบูรณ์ประจำจังหวัดนครพนมต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ศิลปะการร่ายรำศรีโคตรบูรณ์ก็ซบเซาลง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ คุณประวิทย์ เจียวิริยะบุญญา ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม เห็นว่าการร่ายรำศิลปะศรีโคตรบูรณ์มีคุณค้าที่ควรอนุรักษ์ไว้เป็นศิลปะการร่ายรำประจำจังหวัดนครพนมต่อไป จึงได้นำความคิดนี้ไป ปรึกษาหารือกับอาจารย์โรงเรียนอนุบาลนครพนมสมัยนั้น จึงเห็นสมควรมอบ ให้คณะครูอาจารย์โรงเรียนอนุบาลนครพนม
ทำการฝึกซ้อม โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์เสวย ลาภานันต์ และคณะซึ่งเคยรำมาก่อนำทำการฝึกสอนให้ในระยะต่อมาก็ได้นำออกแสดงต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มา เยี่ยมเยียนชาวจังหวัดนครพนมจนเป็นที่ได้รับความชมเชยตลอดมา
ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ หรือ รำศรีโคตรบูรณ์ เป็นการฟ้อนโบราณคดีที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยข้าราชการในจังหวัดนครพนม คำว่า “ศรีโคตรบูรณ์” เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่ง เดิมตั้งอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟมีพระยาศรีโคตรบูรณ์เป็นผู้ปกครอง ในหนังสืออุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ไว้ว่า
"เราทั้งหลายเรียกว่าเมื่อศรีโคตโม
เหตุเพราะพระโคตโมได้ให้คำวุฒิสวัสดี
แก่พระยาศรีโคตร และบัดนี้คนทั้งหลาย
ชาวเมื่อลุ่ม เรียกว่า “เมืองศรีโคตรบอง"
และพระยานันทเสนผู้ครอบครองนครโคตรบูร เป็นผู้มีส่วนในการก่อสร้างพระธาตุพนม ต่อมาเมืองศรีโคตรบอง ได้ย้ายจากบริเวณใต้ปากเซบั้งไฟมายังฝั่งธาตุพนม ณ ดงไม้รวก และได้ขนานนามใหม่ว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งก็คือที่ตั้งจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
เมืองศรีโคตรบอง หรือ เมืองศรีโคตรบูรณ์นับเป็นนครที่มีความรุ่งเรืองมาแต่อดีตการฟ้อนโบราณคดีชดฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ เป็นชุดฟ้อนที่ประยุกต์มาจากท่าเซิ้งบั้งไฟและท่าฟ้อนผู้ไทยรวมกัน สาเหตุที่เลือกฟ้อนศรีโคตรบูรณ์เพราะเป็นชุดฟ้อนที่มีสวยงามมากดนตรีมีความไพเราะ มีจังหวะเนิบๆ ทำให้ฟ้อนได้อ่อนช้อยสวยงาม นับเป็นชุดฟ้อนที่มีท่าฟ้อน เป็นท่าหลักของการฟ้อนชุดต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ประดิษฐ์ชุดฟ้อนใหม่ได้
ลักษณะของการแสดงใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน แต่งกายคล้ายชาวไทดำโดยสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอกสีดำขลิบด้วยผ้าแถบสีแดงเข้ารูป มีกระดุมสีขาเป็นคู่ๆ และมีเชือกสีแดงคล้องกระดุม นุ่งผ้าซิ่นสีดำมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว ผมเกล้าผมมวยใช้ผ้าแถบสีแดงผูกผมเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานโดยใช้เพลงรำผู้ไท หรือเพลงลมพัดไผ่
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
เป็นการฟ้อนโบราณคดีที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยประยุกต์ มาจากท่าเซิ่งบั้งไฟและท่าฟ้อนภูไท รวมกัน เป็นชุดฟ้อนี่มีความสวยงาม ดนตรีไพเราะ มีจังหวะเนิบๆ ท่าให้ฟ้อนได้อ่อนช่อยสวยงามนับเป็นชุดฟ้อนที่มีท่าฟ้อนเป็นห่าหลักของการฟ้อนชุดอื่นๆ และสามารถนำไปประยุกต์ประดิษฐ์ ชุดฟ้อนใหม่ได้
การแต่งกาย มี ๒ แบบ คือ แบบสามัญ และแบบหญิงสูงศักดิ์
๑. แบบสามัญชน จะนิยมแต่งกายด้วยเสื้อคอกลม แขนยาวสีดำมีแบสีแดงรอบคอและสาบเสื้อผ้าถุงสีดำ ผ้ารัดเอวสีแดง สวมสร้อยเงิน ต่างหูเงิน ดอกไม้ประดับผม หรือจะเกล้าผมมวย ผูกฟ้าแดงที่ผมก็ได้
๒. แบบหญิงสูงศักดิ์ จะนิยมแต่งกายด้วยเสื้อแขนกระบอก ผ้าสไบ และผ้าถุงที่ถักทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เกล้าผม ทัดดอกไม้ ตุ้มหูสีเงิน สร้อยคอสีเงิน กระดุมสีเงิน ฟ้าคาดเอวสีแดงสด กำไลแขนสีเงิน ฟ้าสไบเก็บดอกที่มีดอกละเอียดและสวยงามเด่น
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
๑. คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
การฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ เป็นการรำประกอบเสียงดนตรีพื้นบ้านลายลมพัดไผ่ ตั้งแต่ดั้งเดิมได้คิดค้นท่ารำขึ้นมาจากลักษณะวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง และได้ตั้งชื่อตามชื่อบ้านนามเมืองที่มีมาแต่อดีตเนื่องจากจังหวัดนครพนมเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักร “ศรีโคตรบูรณ์”และมีการเล่าสืบต่อกันมาว่าหลังจากที่ชาวบ้านชาวเมืองในสมัยโบราณได้ร่วมมือกันสร้างพระธาตุพนมเสร็จแล้ว ก็มีการเฉลิมฉลองกัน โดยมีการทำบุญ ร้องรำทำเพลงไปตามลักษณะท่าทางที่คิดได้ และถือเป็นการรำบูชาพระธาตุพระพนม และได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วการรำบูชาพระธาตุพนมยังมีท่ารำหลาย ๆ ท่า เช่น รำผู้ไทย
รำหางนกยูง รำศรีโคตรบูรณ์ และการแสดงท่ารำอื่น ๆ อีก เพื่อเป็นการบูชาพระธาตุพนม ให้เกิดความสุขความเจริญแก่ลูกหลานที่เป็นข้าโอกาส และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
๒. บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
- กลุ่มสตรีศรีโคตรบูรณ์ จำนวน ๑๐๐ คน ได้มีการรวมกลุ่มกันฝึกซ้อม การฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ เป็นประจำ และนำมาแสดงในพิธีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราชเป็นประจำ และนำมาแสดงในการต้องรับผู้มาเยี่ยมเยือนจังหวัดนครพนม เป็นประจำ
- โรงเรียนมัธยมหลายแห่งได้ฝึกซ้อมให้นักเรียน การฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ และรำหางนกยูงเป็นประจำ ทำให้เกิดความชำนาญและรำได้สวยงาม เมื่อนักเรียนเลื่อนขึ้นในระดับสูงก็สามารถรำได้อย่างสวยงาม และเป็นต้นแบบให้แก่นักเรียนรุ่นน้อง ที่ได้เข้ามาเรียนใหม่ ทำให้เกิดการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดงท้องถิ่น โดยเฉพาะการฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ และสามารถแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
- ชุมชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับพระธาตุพนมมีความเชื่อว่า ตนเองเป็นลูกหลานของกลุ่มข้าโอกาสมาแต่ดั้งเดิม และได้รับการปลูกฝัง เรียนรู้ สืบทอดความคิดความเชื่อมาโดยตลอด และยังคงยึดถือปฏิบัติพิธีรำบูชาพระธาตุพนม การถวายข้าพีชภาค และบุญเสียค่าหัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า บริเวณพระธาตุพนมจะมีกิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อที่หลากหลายในปัจจุบัน ชุมชนข้าโอกาสเดิม อาทิ ชุมชนเทศบาลตำบลธาตุพนม ตำบลน้ำก่ำ ตำบลพระกลางทุ่ง ตำบลหลักศิลา ตำบลฝั่งแดง ตำบลอุ่มเหม้า ตำบลนาถ่อน ตำบลแสนพันในปัจจุบัน จะมีการรำบูชาพระธาตุพนมเป็นประจำทุกปี ก่อนออกพรรษา และเริ่มงานไหลเรือไฟ และจะมีการรำบูชาเป็นประจำในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงความเตารพต่อองค์พระธาตุพนม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในพระธาตุพนม โดยเฉพาะวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ข้าโอกาสจะไปรวมตัวที่บริเวณพระธาตุพนม และให้มัคทายกได้พากล่าวถวายข้าวพีชภาคและบุญเสียค่าหัว ส่วนข้าโอกาสตำบลรอบนอก จะนัดหมาย กันในวันที่แตกต่างกัน อาทิ ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จะไปเสียค่าหัว ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ รวมทั้งชุมชนต่างๆในจังหวัดนครพนม