ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 0' 49.95"
16.0138750
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 53' 21.0196"
101.8891721
เลขที่ : 193269
ภาษาญัฮกุร
เสนอโดย ชัยภูมิ วันที่ 17 กันยายน 2563
อนุมัติโดย ชัยภูมิ วันที่ 17 กันยายน 2563
จังหวัด : ชัยภูมิ
0 355
รายละเอียด

คำว่า “ญัฮกุร” แปลว่า “คนภูเขา” ญัฮ แปลว่า “คน” และ กุร แปลว่า“ภูเขา” คนทั่วไปรู้จักคนกลุ่มนี้ในนาม “คนดง” หรือ “ชาวบน” ชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา เดิมเป็นพรานป่าและย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เคยอาศัยอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ใจกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตที่ต่อเนื่องกันระหว่างภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันพบชาวญัฮกุรอาศัยหนาแน่นในเขตอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ บริเวณทุ่งดอกกระเจียวซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของอำเภอเทพสถิต และเคยเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชาวญัฮกุร ปัจจุบันชาวญัฮกุรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่พริก มันสำปะหลัง และกเดือย เป็นต้น

ภาษาญัฮกุร เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ – เขมร สาขาย่อยโมนิก มีความใกล้เคียงกับภาษามอญซึ่งอยู่ในสาขาเดียวกัน ภาษาญัฮกุรเป็นภาษาที่มีความสำคัญ กล่าวคือ นักภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ได้แก่ ชอโต และ ดิฟฟลอด พบว่าภาษาญัฮกุรที่พูดกันในปัจจุบันมีความคล้ายคลึง เรียกได้ว่าเป็นภาษาเดียวกันกับภาษามอญโบราณที่ปรากฏอยู่ในจารึกสมัยทวารวดีที่ค้นพบในประเทศไทย เนื่องจากเชื่อกันว่าภาษามอญโบราณเป็นภาษากลางของคนในยุคทวารวดีเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงทำให้เชื่อได้ว่า ชาวญัฮกุรน่าจะเป็นลูกหลานของคนมอญสมัยทวารวดีที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน

ภาษาญัฮกุร มีลักษณะภาษากลุ่มมอญ – เขมรชัดเจน ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะสะกด และลักษณะน้ำเสียง โดยมีลักษณะน้ำเสียง ๒ ลักษณะ คือ ๑) ลักษณะน้ำเสียงใหญ่ทุ้มต่ำ (เสียงก้อง มีลม) เช่น ชุ่ร = แมลง, เน่จ = ผ้า ๒) ลักษณะน้ำเสียงปกติ และสูง-ตก เช่น ชุร = สุนัข, เนจ = เล็ก เป็นต้น มีพยัญชนะต้นนาสิกอโฆษะนอกเหนือจากพยัญชนะต้นนาสิก โฆษะที่พบกันทั่วไป เช่น ฮนูย = ลิง, ฮมุม = หมี, แฮร็จ = เกี่ยว (ข้าว) เสียงสระในพยางค์เปิดตามหลังด้วยการกักของเส้นเสียงเสมอ ทำให้เสียงสระค่อนข้างยาว เช่น ฮี? = บ้าน, ฮลา? = ใบไม้, ฮวา? = ชิ้นเนื้อ และมีเสียงพยัญชนะสะกดเป็นเอกลักษณ์ของภาษากลุ่มมอญ – เขมร เช่น ชุร = สุนัข, จีญ = ช้าง, ยุล ยุล =ชะนี, ริ่ฮ = รากไม้, ปัซ = เก้ง เป็นต้น

ปัจจุบันภาษาญัฮกุรอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ เนื่องจากการรุกคืบของคนไทยเบิ้งหรือไทยโคราชและคนลาวอีสานที่เข้ามาอาศัยปะปน และชาวญัฮกุรบางส่วนได้มีการย้ายถิ่นฐานกระจัดกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทำให้ภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวญัฮกุรอยู่ในภาวะถดถอย เยาวชนเริ่มมีการใช้ภาษาแม่ของตนน้อยลงไปเรื่อยๆ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาพูดโดยส่วนใหญ่

ความโดดเด่น/อัตลักษณ์เฉพาะ

ชาวญัฮกุรมีองค์ความรู้เกี่ยวกับป่า สัตว์ป่า พรรณพืชพื้นบ้าน สมุนไพร และมีการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการขับเพลงของชาวญัฮกุร โดยมีเสียงเอื้อนที่ไพเราะเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ปา? เร่ เร่” มีเนื้อร้องเป็นภาษาญัฮกุร บรรยายถึงความงามของธรรมชาติ การเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง การลาจากและการโหยหาอดีต

๔๐

ปัจจุบันมีผู้สามารถเล่นและขับร้องได้ไม่ถึง ๕ คน นอกจากนี้หญิงชาวญัฮกุรยังมีเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองเรียกว่า “พอก ชิ่ง”

พื้นที่ปฏิบัติ/แสดง

บ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ
ภาษาญัฮกุร
สถานที่ตั้ง
ตำบลบ้านไร่
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านไร่
จังหวัด ชัยภูมิ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอสถิต
จังหวัด ชัยภูมิ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่