ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 35' 39.9998"
14.5944444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 20' 19"
100.3386111
เลขที่ : 193287
ขนมลำเจียก
เสนอโดย อ่างทอง วันที่ 18 กันยายน 2563
อนุมัติโดย อ่างทอง วันที่ 18 กันยายน 2563
จังหวัด : อ่างทอง
1 1914
รายละเอียด

ประวัติขนมเกสรลำเจียกเริ่มเผยแพร่เข้ามาในวิเศษชัยชาญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ โดยสตรีชาววิเศษชัยชาญซึ่งล่องเรือไปค้าขายที่บางกอกในสมัยนั้นได้ไปรู้จักกับแม่ครัวที่ทำอาหารอยู่ในวัง และด้วยความสนิทสนมกันจึงได้สูตรขนมชาววังดังกล่าวมา และมีการทำกันในเฉพาะที่วิเศษชัยชาญ ที่ยังคงสืบทอดกรรมวิธีการทำขนมเกสรลำเจียกมาอย่างไม่ขาดสายนั้น ได้แก่ครอบครัวของนางทุเรียน ขลังธรรมเนียม ถ่ายทอดต่อมาให้กับนางผิน ช่วงฉ่ำ และมาถึงนางสำรวย พงษ์ชุบ จนกระทั่งทายาทคนล่าสุดได้แก่ นางทิพย์รัตน์ คงแสงทอง และนางมาลี แววเพ็ชร ซึ่งเป็นทายาทของนางสำรวย พงษ์ชุบ และหลานของคุณยายผิน ช่วงฉ่ำ ต้นตำรับขนมเกสรลำเจียกรุ่นเรียกแรกๆของวิเศษชัยชาญ[1]นางทิพย์รัตน์ คงแสงทอง ได้เล่าว่า ขนมเกสรลำเจียกเผยแพร่ เข้ามาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด (นางทุเรียน ขลังธรรมเนียม) ซึ่งแต่ก่อนจะทำเป็นกันทุกบ้าน แต่ระยะหลังเริ่มหายไป เพราะวิธีการทำค่อนข้างยุ่งยาก แต่ที่บ้านพี่จะทำขายกันมาตั้งแต่สมัยยายยังสาวๆ แต่จะทำเฉพาะในช่วงเทศกาลอย่าง สงกรานต์ ปีใหม่ สารทไทย ซึ่งเมื่อก่อนจะไม่ใช้แป้งข้าวเหนียวสำเร็จรูปเหมือนปัจจุบัน ต้องเอาข้าวเหนียวไปแช่น้ำแล้วนำมาตำด้วยครกกระเดื่อง และรูปทรงจะต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย คือสมัยก่อนขนาดจะสั้นกว่านี้และความยาวของแป้งที่ห่อจะพอดีกับไส้ แต่ปัจจุบันแป้งจะยาวกว่าไส้ นอกจากนั้น ในสมัยก่อนนอกจากจะม้วนแบบโรตีสายไหมแล้วยังมีแบบพับเป็นสี่เหลี่ยมด้วย

ผลงาน

ขนมเกสรลำเจียก เป็นขนมโบราณที่ใช้วัสดุอุปกรณ์น้อยชิ้น แต่กลับมีกรรมวิธีในการทำที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน รวมทั้งมีประวัติความเป็นมีที่เก่าแก่ยาวนานตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เหนือสิ่งอื่นใดคือในส่วนของการสืบทอดทางด้านภูมิปัญญานั้น ต้องอาศัยการสั่งสมความชำนาญเฉพาะตัวบุคคล ที่ไม่สามารถมารถจะสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้นจบกระบวนการได้ภายในวันเดียว ในชุมชนตลาดศาลเจ้าโรงทอง และไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จึงถือว่าเป็นจุดกำเนิดในการฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาขนมไทยโบราณชนิดนี้ไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของคนไทย จนกระทั่งปัจจุบันองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ มีผู้สืบทอดรวมทั้งพัฒนาต่อยอดรูปแบบ รสชาติ และเทคนิคการทำ กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย


สถานที่ตั้ง
ร้านพรพรรณขนมไทย
อำเภอ วิเศษชัยชาญ จังหวัด อ่างทอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สถาพร สังข์รุ่ง อีเมล์ ang_stra@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่