ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 43' 25.3783"
12.7237162
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 2' 38.2286"
101.0439524
เลขที่ : 193291
การทำหนังสะติ๊ก
เสนอโดย yui วันที่ 21 กันยายน 2563
อนุมัติโดย ระยอง วันที่ 15 มิถุนายน 2564
จังหวัด : ระยอง
0 495
รายละเอียด

สังคมชนบทในยุคก่อน หนังสะติ๊กเป็นของเล่นของเด็กผู้ชาย จนกระทั่งถึงวัยหนุ่มรุ่นกระทง แม้แต่เด็กผู้หญิงที่แก่น ๆ ก็ชอบยิงหนังสติ๊ก เนื่องจากเป็นของเล่นราคาถูกหาได้ง่าย สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ป่ายังสมบูรณ์ ทำให้สัตว์เล็ก ๆ จำพวกกระรอก นกมีมาก สามารถใช้หนังสติ๊กยิงมาประทังชีวิตได้ แต่ที่ยิงกันบ่อยที่สุดกลับเป็นยิ่งตัดขั้วมะม่วงหิมพานต์ และยิงช่อลูกหว้า หนังสติ๊กจึงเป็นของเล่นติดตัวมาตั้งแต่จำความได้ จนเมื่อโตขึ้นมัธยมปลายจึงห่างหายจากกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หนังสติ๊กจึงจากผมไปตั้งแต่ตอนนั้น

การทำหนังสติ๊กเป็นเรื่องสนุกและตื้นเต้นของเด็กผู้ชายสมัยก่อน ไม้ที่นิยมนำมาทำง่ามหนังสติ๊กส่วนใหญ่จะเป็นง่ามไม้มะขาม และง่ามไม้ข่อย เนื่องจากมีความเหนียว เหลาแล้วสีสวยงาม และไม้ไม่หักง่ายเวลายิงแล้วเกิดสะบัดลูกกระสุนไปโดนง่ามไม้ แถวบ้านผมไม้ข่อยหาได้ง่ายกว่าไม้มะขาม เพราะเป็นไม้ป่าไม่มีใครหวง บางคนที่มีฝีมือดีหน่อยจะทำง่ามจากไม้เนื้อแข็ง หรือเขาควาย ผมชอบ ง่ามไม้ข่อยมากที่สุด ทาด้วยน้ำมันยางแล้วเนื้อไม้ออกสีเหลืองอ่อน ๆ สวยงามเวลาจะทำหนังสติ๊กที่ยุ่งยาก ก็ตอนหาง่ามไม้บางครั้งเดินหากันค่อนวันกว่าจะได้ง่ามไม้ที่ถูกใจ เมื่อได้ง่ามไม้มาแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการเหลา ซึ่งเหลาไม่ยากใช้พร้าหรือมีดตัดง่ามให้พอดีมือ ควันตรงง่ามด้านบน แล้วเหลาให้ได้ขนาดตามต้องการ ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะมีกรรมวิธีที่มากกว่านั้นเช่นใช้เชือกหรือหวายมีดง่ามให้ได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ย่างไฟเพื่อคัดให้ได้ง่ามหนังสติ๊กที่เข้ามือและมีรูปทรงสวยงาม

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล สำนักท้อน อำเภอ บ้านฉาง จังหวัด ระยอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วรรณี สุขสุวรรณ อีเมล์ bualoi2000@hotmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล สำนักท้อน อำเภอ บ้านฉาง จังหวัด ระยอง รหัสไปรษณีย์ 21130
โทรศัพท์ 0657165907
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่