ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 14' 23.9651"
15.2399903
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 51' 4.6775"
104.8512993
เลขที่ : 193352
พระเจ้าใหญ่องค์เงิน วัดทุ่งศรีเมือง
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 27 ตุลาคม 2563
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 27 ตุลาคม 2563
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 541
รายละเอียด

พระเจ้าใหญ่องค์เงิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธบาทของวัดทุ่งศรีเมือง มีพระพุทธลักษณะคือ พระพักตร์รูปไข่ เม็ดพระศกเล็กละเอียดแบบหนามขนุน มุ่นพระเมาลีเป็นต่อมเตี้ยๆ พระเกตุมาลาหรือส่วนรัศมีเป็นรูปเปลวมีแฉกยอดกลางสูงเด่น ส่วนล่างที่ติดกับมุ่นพระเมาลีเป็นกลีบบัวซ้อนดุจดอกบัวรองรับพระรัศมีระหว่างพระนลาฏกับแนวเม็ดพระศกมีแถบเป็นเส้นนูนยาวทอดลงมาตามแนวพระกรรณทั้งสองข้างคล้ายจอนหูตัวพระกรรณใหญ่ของใบพระกรรณเป็นเส้นนูนแบบมีปลายด้านบนด้านล่างม้วนโค้ง ติ่งพระกรรณเป็นแผ่นกว้างขนาดเดียวกับตัวพระกรรณยาวลงมาเป็นแผ่นแบนปลายมนอยู่เหนือพระอังสะ ส่วนพระพักตร์มีพระขนงมีเส้นนูนโก่งดุจคันศร หัวพระขนงและหางเรียวแหลมพระนาสิกเป็นสัน ปลายพระนาสิกกว้างคล้ายรูปสามเหลี่ยม พระโอษฐ์แย้มพระสรวล มุมพระโอษฐ์เรียวแหลมพระหนุแหลมมน พระศอกกลมกลึง ลักษณะเป็นปล้องต่อกัน 3 ปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาซ้ายขอบจีวรเป็นแนวเส้นตรงจากใต้พระถันไปจรดแนวของผ้าสังฆาฏิที่พาดบนพระอังสาซ้ายและปรากฏเส้นขอบจีวรที่ข้อพระหัตถ์ซ้ายที่ต้นพระเพลาและที่ข้อพระบาทเป็นเส้นนูนทั้งสองข้าง ชายสังฆาฏิเป็นแนวกว้างปลายสังฆาฏิจรดที่พระนาภีขอบปลายสังฆาฏิโค้งมนอยู่เหนือพระนาภี พระเพลาผาย พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่บนพระเพลาขวาตรงแนวขาพับ แสดงการชี้ลงเบื้องธรณี นิ้วพระหัตถ์ใหญ่และนิ้วทั้งสี่อวบชิดยาวเสมอกันปลายนิ้วมนแบบคนธรรมดา คล้ายพระหัตถ์พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระเจ้าใหญ่องค์เงิน ตั้งอยู่บนฐานเขียงฝังอยู่ในฐานชุกชีปูนปั้นที่ตกแต่งเป็นฐานบัวผ้าทิพย์ ฐานหน้ากระดานตกแต่งด้วยลายดอกประจำยามก้ามปู อยู่เหนือแนวลายกลีบบัวขาบหรือบัวเวง ตรงกลางฐานด้านหน้าพระเพลามีผืนผ้าพาดยาวลงมาและตกแต่งลวดลายอย่างสวยงามตามแบบศิลปะท้องถิ่นไม่ปรากฏการสร้างที่แน่นอน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างภายหลังการสร้างหอพระบาทเสร็จแล้ว และถูกนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปพระประธานในหอพระพุทธบาทคู่กับรอพระพุทธบาทจำลอง

หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดทุ่งศรีเมือง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 95 ถนน หลวง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/
บุคคลอ้างอิง นางครองขวัญ สรรเสริญ อีเมล์ khwan721@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
ถนน สุรศักดิ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
โทรศัพท์ 045244531 โทรสาร 045244533
เว็บไซต์ www.province.m-culture.go.th/ubonratchathani
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่