ประวัติความเป็นมา
ในอดีตคนเหนือสมัยโบราณไม่มีตู้เย็น และอุปกรณ์อย่างเช่น ปิ่นโตหรือภาชนะใส่อาหาร ห่อข้าวปลาอาหารไปทำไร่ทำนา ทำสวน ปลาเมื่อสมัยก่อน 50 ปีให้หลังแต่ละแม่น้ำจะมีปลามากมาย โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเมื่ออยู่บนดอยไปทำไร่ก็มักจะนำไม้ไผ่มาตัดเป็นปล้อง แล้วจึงนำปลาช่อนใส่เข้าไปในกระบอกไม่ไผ่ สามารถพกพาหรือเก็บไว้กินมื้ออื่น ๆ ได้อีก โดยชาวบ้านก็จะพกแต่พริก เกลือ หอม ตะไคร้ เพื่อไว้ปรุงรสปลากระบอก ถึงปัจจุบันนี้ได้นำ เมนูนี้ออกมาจำหน่ายแถวริมแม่น้ำโขง และปรุงรส เพื่อเสริมรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
วัสดุ/อุปกรณ์
- ไม้ไผ่บง (ซาง)
- ไม้ไผ่ซาง
- ไม้ข้าวหลาม
เนื่องจากการใช้อุปกรณ์วัสดุที่แตกต่างกัน ทำให้รสชาติไม่เหมือนกัน รสแกงพริกป่าจะนิยมใช้ไม้ไผ่บง (ซาง) รสพริกแกงส้ม เฉพาะไม้บง แกงเผ็ดจะมีกะทิ นิยมใช้ไม้ข้าวหลาม แต่ละชนิดของไม้ไผ่ รสชาติจะต่าง ๆ กันไป จะทำกินกันแทบจะทุกบ้าน ทุกครัวเรือนในเมืองเชียงแสน
ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์
เมนูสุดเด็ด ของเมืองเชียงแสนแห่งนี้ พลาดไม่ได้เลยคือ ปลาช่อนกระบอกไม้ไผ่ เผาร้อน ๆ มีความแปลกและรสชาติที่เด่น จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยการนำอาหารคือปลา มาบรรจุไว้ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำมาเผา
ให้สุก ทำให้มีกลิ่นที่ห
ลักษณะปลากระบอก
- ลำตัวยาวป้อมหัวแหลม
- ตามีเยื่อไขมันคลุม
- ปากเล็ก
- ครีบหลังมีสองอัน
- ด้านหลังเป็นสีเทาหรือน้ำตาล
- ด้านข้างเป็นสีเงินวาวท้องขาว
- ข้างลำตัวมีแถบสีดำบาง ๆ
๓.๓) ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการ
เครื่องแกง
- พริกแห้ง
- กระเทียม
- หอมแดง
- ตะไคร้
- ข่า
- ขมิ้น
- รากผักซี
- กะปิ
- เกลือ
วัตถุดิบ
- ปลาช่อน
วิธีทำปลากระบอก
1. ขอดเกล็ดปลาช่อนและควักไส้พุง
2. จากนั้นนำเกลือตามด้วยพริกแห้ง กะปิ ขมิ้น หอมแดงหั่น ตะไคร้หั่น กระเทียม คนอร์ก้อน ใส่ลงไปในครกแล้วตำ
3. จากนั้นนำปลาที่เราเอาเกล็ดออกมาปาดตามขวาง ตามลำตัวของปลาช่อน
4. จากนั้นนำพริกแกงที่เราตำในครกมาคลุกเคล้ากับปลาช่อนที่เตรียมไว้
5. ผสมผสานใบหยี่ล่าลงไป
6. นำกระบอกไม้ไผ่ซางมาแล้วใส่ปลาช่อนที่ได้ผสมผสานเครื่องแกงลงไปในกระบอกไม้ไผ่ซาง
7. จากนั้นนำใบเตยมาปิดปากกระบอกไม้ไผ่ซางไว้
8. จากนั้นปิดด้วยในตองอีกหนึ่งชั้น
9. แล้วนำไปอังไฟให้สุก (เผาไฟเหมือนข้าวหลาม)อมกำลังดี แล้วนำมาปรุงเป็นกับข้าวต่อไป