ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 59' 39.8285"
15.9943968
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 24' 59.2888"
103.4164691
เลขที่ : 193492
พระธาตุบ้านแดง วัดอินทราราม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
เสนอโดย มหาสารคาม วันที่ 26 มกราคม 2564
อนุมัติโดย มหาสารคาม วันที่ 26 มกราคม 2564
จังหวัด : มหาสารคาม
0 324
รายละเอียด
พระธาตุบ้านแดง วัดอินทราราม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เมื่อพูดถึงฤดูเทศกาลนมัสการพระธาตุพนมคือวันเพ็ญเดือน ๓ หลวงปู่ก็จะออกเดินธุดงค์ เพื่อไปนมัสการพระธาตุพนมเป็นประจำทุกปี ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมาของคนสมัยนั้น องค์พระธาตุบ้านแดงนี้ได้สร้างขึ้นหลังพระธาตุพนมและพระธาตุหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดสกลนคร ไม่นานนักพอหลังจากนมัสการพระธาตุเสร็จหลวงปู่ก็ถือธุดงค์เป็นวัตรเหมือนทุกปีโดยการเดินเท้าเปล่า ค่ำไหนนอนนั้น ตามป่าบ้าง ป่าช้าบ้าง กระท่อมนาบ้าง แล้วแต่เวลาและโอกาส เพราะพระสมัยนั้นจะถือเคร่งมาก การเดินธุดงค์ของหลวงปู่ก็จะเดินข้ามไปฝั่งลาวด้วยทุกปีและพอเสร็จจากภารกิจธุดงค์แล้วหลวงปู่ก็จะเดินกลับเองทุกครั้งเพราะไม่มีพาหนะอยู่แล้ว ตกเย็นวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังเดินธุดงค์อยู่ตามปกติเหมือนทุกวัน ใกล้ค่ำของวันนั้นหลวงปู่เดินผ่านป่าไปไฟป่ากำลังไหม้ลุกลามอยู่บริเวณนั้นมีซากปรักหักพัง ไฟก็ได้ไหม้มาถึงบริเวณนั้นมีอยู่จุดหนึ่งที่ไฟลุกไหม้เป็นวงรอบหลวงปู่ธุดงค์ผ่านไปเจอด้วยความสงสัยก็ได้ดับไฟเดินลุยเข้าไปดูปรากฏว่าเห็นเป็นผอบตั้งอยู่ ข้างในบรรจุด้วยสารีริกธาตุขนาดเท่าเมล็ดฝ้ายหลวงปู่ก็สงสัยไม่แน่ใจว่าเป็นสารีริกธาตุ จึงใช้วิธีเสี่ยงทายและอธิษฐาน ปรากฏว่ามีเรื่องอภินิหารและปรากฏการณ์หลายอย่างที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นสารีริกธาตุแต่ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นสารีริกธาตุของพระอรหันต์องค์ใด ในคำบอกเล่าไม่ได้บอกชัดเจนว่าหลวงปู่ไปพบสารีริกธาตุที่ฝั่งไทยหรือฝั่งลาว บอกแต่ว่าห่างจากแม่น้ำโขงไม่กี่กิโลเมตร พอเสร็จจากธุดงค์หลวงปู่ก็ได้บอกประกาศ พระภิกษุสามเณรและพี่น้องชาวพุทธในละแวกนั้นให้ทราบโดยทั่วกันว่าจะนำสารีริกธาตุที่พบนี้ไปบรรจุไว้ที่พระธาตุซึ่งก่อสร้างขึ้นที่วัดอินทรารามบ้านแดงเสร็จหลวงปู่ก็นำสารีริกธาตุกลับมาที่วัดอินทรารามบ้านแดงทันที การก่อสร้างพระธาตุก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อหลวงปู่ได้นำสารีริกธาตุกลับมาถึงบ้านแดง ก็ได้ประกาศเรียกประชุมพระภิกษุสามเณรพร้อมญาติโยมละแวกอำเภอวาปีปทุม ต่างคนก็เห็นด้วยและยินดีจึงได้ช่วยกันจัดเตรียมอุปกรณ์สมัยนนั้นปูนซีเมนต์ค่อนข้างจะหายากมีแต่ราคาแพง พระธาตุนี้สร้างด้วยศิลาและเสริมเหล็กเป็นการออกแบบของหลวงปู่เอง หลวงปู่ได้บอกบุญไปยังสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา ด้วยแรงกาย แรงใจ โดยช่วยกันไปขนเปลือกหอยซึ่งชาวบ้านเรียกหอยนี้ว่าหอยกาบใหญ่จะมีอยู่ตามแม่น้ำมูล และแม่น้ำชีเก็บมาเผาเสร็จแล้วช่วยกันป่นให้ละเอียดเพื่อใช้แทนปูนซีเมนต์ สาธุชนอีกส่วนหนึ่งก็ช่วยกันไปขุดดินเหนียวตามลำน้ำเสียวมาคลุกกับแกลบแล้วปั้นเป็นก้อนเสร็จแล้วนำไปเผาใช้เป็นอิฐ ส่วนผสมในการก่อสร้างพระธาตุมี ๑. ยางบง ๒. เปลือกหอยเผา(ใช้แทนปูนซีเมนต์) ๓. หินปูน ๔. ทรายซึ่งช่วยกันไปขนมาจากแม่น้ำมูล ๕. อิฐซึ่งทำมาจากดินเหนียวและแกลบ ๖. หนังแช่น้ำเกลือผสมกับมะขามเปียกใช้ฉาบแทนปูนซีเมนต์ เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยหลวงปู่ก็พาชาวบ้านลงมือก่อสร้างทันที โดยเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อเดือน ๔ พ.ศ. ๒๔๑๓ ในยุคสมัยแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และได้แล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ส่วนรายละเอียดที่ชัดเจนของวันที่ก่อสร้างและวันสร้างเสร็จไม่บอกไว้ ขนาดของพระธาตุฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมปริมณฑล ๖.๒๕ เมตร สูง ๕o ปลายเรียวเป็นสี่เหลี่ยมตลอด ปลายมีองค์พระธาตุเล็กเป็นบริวารทั้ง ๔ มุม
หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
ตำบล หนองแสน อำเภอ วาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่