ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 58' 16"
14.9711111
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 58.9999"
102.0997222
เลขที่ : 193510
วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
เสนอโดย นครราชสีมา วันที่ 1 มีนาคม 2564
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 1 มีนาคม 2564
จังหวัด : นครราชสีมา
0 274
รายละเอียด

วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ตั้งอยู่กลางใจเมืองนครราชสีมา ติดกับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” ในสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้พระยายมราชเป็นผู้สร้าง มีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดกลางนครถูกเผาทำลายลง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสวัดกลางนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินบำรุงวัด จำนวน ๔๐๐ บาท

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับพระราชทาน ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีนามเต็มว่า วัดกลางนครวรวิหาร โดยมีพระเริงปัจจามิตร และพระยากำธรพายัพทิศ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้ขอพระราชทานยกฐานะวัดเป็นพระอารามหลวง และในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ พระบาทสมเด็จ- พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดขึ้นใหม่จากวัดกลางนคร วรวิหาร เป็น “วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร” วัด พระนารายณ์มหาราช วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ ๒๘ ไร่ ๗๖ ตารางวา ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๐๖ ปัจจุบันมี พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา และประธานสภา มจร.วิทยาเขต นครราชสีมา เป็นเจ้าอาวาส สิ่งที่น่าสนใจ พระอุโบสถตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำ พื้นพระอุโบสถทำด้วยหินอ่อน ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตกรรมฝาผนังเป็นรูปทศชาติชาดก และพุทธประวัติ ๑๖ ภาพ ด้านหลังพระประธานเป็นรูปพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และแสดงปฐมเทศนาแก่ปัจวัคคีย์ ด้านหน้าพระประธานเป็นรูปพุทธประวัติ เหตุการณ์วันมาฆบูชา เหตุการณ์วันเทโวโรหณะ เสด็จปรินิพพาน ด้านหลังพระอุโบสถมีซุ้มประดิษฐานรูปปูนปั้นพระเกจิสำคัญ ๔ รูป ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น หลวงปู่ทวด พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ปูน ปั้นลงรักปิดทอง พระวิหารหลวง พระวิหารตั้งอยู่บนเนินดินที่เกิดจากการถมดินจากการขุดลอกสระรอบพระอุโบสถบนฐานเขียง ซึ่งเป็นฐานไพทีสูง หน้าบันด้านหน้าเป็นรูปพระนารายณ์ ทรงสุบรรณ หน้าบันด้านหลังเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประธาน นามว่า “พระพุทธทศพลญาณประทานบารมี”(หลวงพ่อใหญ่) สร้างในปี พ.ศ.๒๑๙๙ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้วประดิษฐานบนฐานชุกชี ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ก่อตั้งบ้านเมือง นอกจากนี้ในอดีตพระวิหารแห่งนี้ยังเคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการจังหวัดนครราชสีมา อีกด้วย ประเพณีสำคัญ ในวันมหาสงกรานต์วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี จะมีการแห่พระคันธารราฐลอดซุ้มประตูเมือง และมีการละเล่นพื้นบ้าน ก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เเละประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการจังหวัดนครราชสีมา ที่จะถูกจัดขึ้นในวันสงกรานต์เช่นเดียวกัน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
ถนน จอมพล
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระครูวิริยธรรมนุศาสก์
ชื่อที่ทำงาน ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร
ถนน จอมพล
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
โทรศัพท์ 0857532578
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่