ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 32' 17.9999"
16.5383333
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 3' 18"
104.0550000
เลขที่ : 193623
มาลัยไม้ไผ่
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 เมษายน 2564
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 880
รายละเอียด

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

ความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านกุดหว้า ที่โดดเด่น เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย เกิดจาก“ประเพณีบุญข้าวประดับดิน” เป็นหนึ่งในประเพณีฮีตสิบสองของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน แต่ความพิเศษของประเพณีบุญข้าวประดับดินของชาวผู้ไท ในหมู่บ้านกุดหว้า ได้แฝงประเพณี “บุญพวงมาลัย” ที่มี “มาลัยไม้ไผ่” งานหัตถกรรมของหมู่บ้านอันวิจิตร เพื่อเอาไว้ถวายเป็นพุทธบูชา ในงานประเพณีบุญข้าวประดับดินนี้

“งานบุญพวงมาลัย” ของชาวผู้ไทในหมู่บ้านกุดหว้า เป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดต่อกันมา โดยปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งก็ได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ เช่น โคมไฟ ถ้วยรางวัล ปิ่นปักผม เข็มกลัด ต่างหู เป็นต้น

สถานที่ดำเนินงานและจัดจำหน่าย

กลุ่มอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมมาลัยไม้ไผ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 303 หมู่ที่ 8 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ดูแลกลุ่ม นายนารี ศรีกำพล อายุ 56 ปี โทรศัพท์ 082-3081979

สถานที่ในการดำเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมมาลัยไม้ไผ่ เป็นสถานที่พักส่วนบุคคลใช้ในการตั้งกลุ่มและฝึกอบรมต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่จะมาศึกษาดูงาน หรือฝึกอบรมการทำมาลัยไม้ไผ่จะใช้สถานที่บ้านเลขที่ 303 หมู่ที่ 8 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านนายนารี ศรีกำพล ซึ่งเป็นบ้านของประธานกลุ่มใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ และฝึกอบรม ในส่วนของผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ จะผลิตตามคำสั่งของลูกค้า โดยที่สมาชิกในกลุ่มจะประดิษฐ์มาลัยไม้ไผ่ที่บ้านของตัวเองแล้วนำส่งที่บ้านประธานกลุ่ม และหากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ครูภูมิปัญญาผลิตคิดค้นขึ้นมาชิ้นใหม่ ก็จะนำมาเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้เพื่อประชาสัมพันธ์ชิ้นงานนั้นๆ ต่อไป

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ทำจากไม้ไผ่ต้องยอมรับในงานฝีมือที่สร้างสรรค์จากคน ภูไท โดยเฉพาะพวงมาลัย ไม้ไผ่ที่มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ขนาดเท่าฝามือที่มีความอ่อนช้อย ประณีต งดงามมาก ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบของมาลัยวิจิตรศิลป์ให้มีลักษณะที่หลากหลายและอนุรักษ์วัฒนธรรม ซึ่งเหมาะกับการเป็นของฝากที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ในส่วนของราคาสินค้าขึ้นอยู่กับความประณีตและละเอียดของชิ้นงาน

สถานที่ตั้ง
กลุ่มอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมมาลัยไม้ไผ่
เลขที่ 303 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8 ซอย - ถนน -
ตำบล กุดหว้า อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่