ข้อมูลทั่วไป (บริบทของชุมชน)
บ้านโนนชาด หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ติดกับบ้านดอนกลอย และโรงเรียนดอนกลอยพิลาศอุปถัมภ์ ทิศใต้ ติดกับตำบลกุดใส่จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ทิศตะวันตก ติดกับตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออก ติดกับตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านโนนชาด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นการกลุ่มกันของชาวบ้าน ล้วนแล้วแต่มีอายุมาก รุ่นแม่ ป้า น้า อา และยาย ที่รวมกลุ่ม จำนวน ๒๖ คน วัตถุประสงค์เพื่อผลิตผ้าไหมจำหน่ายในชุมชน โดยสมัยก่อนสมาชิกทั้งหมด นำไหมของตนเองที่ผลิตส่วนตัวมาคนละ ๒ ขีด รวมกันเพื่อผลิตเป็นผ้าถุง และผ้าโสร่ง จำหน่ายในชุมชนของตนเอง
และนำเงินส่วนที่ได้มารวมกัน เพื่อไว้ให้สมาชิกในกลุ่มยืมไปใช้ในครัวเรือน ดอกคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒ บาท/ต่อจนถึงปัจจุบัน
สมาชิกในกลุ่ม พัฒนาการผลิตเครื่องนุ่งห่มประเภท ผ้าสไบ ผ้าพันคอ โดยได้รับคำแนะนำจาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยางตลาด ได้รับการสนับสนุนวิทยากรเกี่ยวกับการทอผ้า จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (ศูนย์อำเภอนามน) ให้คำแนะนำในการผลิตงานประเภทผ้าให้สวยงามเพิ่มขึ้น
หลังจากนั้น กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านโนนชาด ซึ่งนำโดย นางบัวลา ภูหลักถิน ซึ่งเป็นประธานกลุ่มจึงนำสมาชิกในกลุ่ม ร่วมกันผลิตสินค้าและจำหน่ายในชุมชนของตน ชุมชนอื่นๆ ในอำเภอยางตลาด และพื้นที่ใกล้เคียง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยางตลาด นำผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ส่งเข้ารับการคัดสรร เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จนได้รับการคัดเลือก สินค้าหลายประเภท เป็นสินค้า OTOP ระดับสี่ดาว ในปี ๒๕๖๒ และกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านโนนชาด ได้รับใบรับรองจากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใบรับรองแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ประเภทRoyal Thai Silkเป็นตราเครื่องหมายนกยูงสีทอง วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒
ผู้ปกครองท้องที่
บ้านโนนชาด หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
มี นายก้องปัฐพี ภูโคตรศรี ผู้ใหญ่บ้าน 0935618469
ข้อมูลกลุ่ม กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านโนนชาด
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๓ บ้านโนนชาด ตำบลหนองอิเฒ่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
โทรศัพท์ 08 3415 8306
ประเภทอาคารที่ทำการ กลุ่ม//องค์กร/เจ้าของกิจการ คือ
อาคารที่พักส่วนบุคคล อยู่ในชุมชนเครือข่ายทางวัฒนธรรม
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคือ ประเภทเครื่องนุ่งห่ม ผ้าไหม ผ้าโสร่ง ผ้าพันคอ ผ้าแถบทอมือ
ผ้าสไบ ที่สำคัญคือ ผลิตจากมือของชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวชนบท เป็นเส้นไหมธรรมชาติที่ชาวบ้านปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และผลิตเอง จำหน่ายเอง ในชุมชน อำเภอยางตลาด และจังหวัดใกล้เคียง ราคาจึงอยู่ในระดับ
ปานกลาง หาซื้อได้ง่าย
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน
๒.๑ ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต /ผู้ประกอบการ/ชุมชน มีจำนวน ๕ ผลิตภัณฑ์
๒.๒ ประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้า/ผลิตภัณฑ์จากผ้า
๑.ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ประเภท สไบ
๒.ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ประเภท ผ้าพันคอ
๓.ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ประเภทผ้าแทบทอมือ
๔.ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ผ้าซิ่นไหม
๕.ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ผ้าโสร่ง
ประเภท สไบ ผลิตจากไหมเส้นเล็ก เนื้อนิ่มความยาว ๑.๘๐ เมตร ผ่านการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับสี่ดาว เมื่อ ปี ๒๕๖๒ ราคา 800 บาท
ประเภทผ้าแถบทอมือ ประโยชน์ใช้สำหรับใส่ทอเสื้อ และสายผ้าถุง สำหรับชาวชนบท สีสันสวยงาม
ผลิตภัณฑ์รับรองโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ระดับสี่ดาว ราคา
เมตรละ 50 บาท
ประเภท ผ้าพันคอผลิตจากไหมเส้นเล็กเนื้อนิ่มลวดลายสวยงามเป็นสีธรรมชาติ สลับลายด้วยไหมซึ่งย้อมสีแดง หรือเรียกอีกอย่างว่าลายสก๊อต ตามภาษาชาวบ้านอีสาน ความยาว ๑.๘๐ เมตร ผ่านการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์OTOPระดับรางวัลนกยูงทอง เมื่อ ปี ๒๕๖๒ จากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ราคา 5,000 บาท
รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ชุมชน
๑) ประวัติความเป็นมา/ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจในการผลิต
ผ้า ถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ นอกเหนือจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่บรรพกาลสืบมา ทุกครัวเรือนจะมีการทอผ้าเพื่อใช้สอยภายในครอบครัว และมีการถร่ายทอดและสั่งสมกรรมวิธีการทอให้แก่สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นเพศหญิง เพราะการทอผ้าเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความขยัน ความอดทน ความพยายามและความประณีต ละเอียดอ่อน สมัยก่อนมารดา ป้า จะถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ลูกหลาน จากรุ่นสู่รุ่น เป็นเสมือนมรดกทางวัฒนธรรม กรรมวิธีในการทอดผ้าเป็นการกระทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าในรูปแบบต่าง ได้แก่ ประเภทการยอมสีเพื่อให้เกิดลวดลาย ประเภทเพิ่มเสนพุ่งเพื่อให้เกิดลวดลาย และประเภทไหม 2 เส้น มาตีเกลียวเป็นเส้นเดียวกัน ลวดหลายส่วนใหญ่มักเป็นลวดลายที่จดจำและได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ
การทอผ้าของชาวบ้าน ที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งกรรมวิธีการผลิต ลวดลาย สีสัน บนผ้า ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรม ในการดำเนินชีวิตและค่านิยมในสังคม โดยพิจารณาจากวัตถุดิบที่ใช้ในการทอ เช่น ฝ้าย และไหม
ฝ้าย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลุกได้ทั่วไปในทุกประเภท เพราะฝ้ายเป็นพืชเขตอากาศร้อน ชอบดินเหนียวปนทราย อากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่มเงาบัง เส้นใยของใยดูดความชื้นได้ง่าย เป็นตัวนำความร้อนที่เลวเหมาะสำหรับทอเป็นเครื่องนุ่มห่มในเมืองร้อน ผู้ที่สวมใส่เสื้อฝ้ายจะรู้สึกเย็นสบาย
ไหม เส้นใยธรรมชาติไหมได้จากตัวไหมที่เลี้ยง ตัวไหมนี้ส่วนมากเลี้ยงกันในภาคะวันออกเฉียงเหนือ โดยชาวบ้านเริ่มต้นจากการปลูกต้นหม่อนสำหรับเป็นอาหารของตัวไหม ต้นหม่อนขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินดีหรือดินค่อนข้างเลวก็ตาม โดยหม่อนต้องการความชุ่มชื้นเล็กน้อยในระยะตั้งตัว แต่เมื่อโต หม่อนจะทนความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หม่อนเป็นอาหารสำคัญที่ดีที่สุดของไหม จัดเป็นพืชในตระกูล Moraceae หม่อนเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่มทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควรขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายดูดซึมได้ดี มีลีกษณะดินค่อนข้างเป็นด่างใบมีรูปเป็นปลายแหลม ขอบใบหยักฐานใบมีลักษณะคล้าย ใบโพธิ์ ดอกออกช่อช่อหนึ่งมีดอก 4-10 ดอกดอก พันธุ์ที่นิยมปลูกมี ๕ พันธุ์ได้แก่ หม่อนน้อย หม่อนส้ม หม่อนมี่ หม่อนใบมน หม่อนตาดำ
การปลูกหม่อน นิยมใช้กิ่งปักชำกิ่งที่ใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20- 25 เซนติเมตร ด้านบนตัดตรงให้เหนือตา ๑ เซนติเมตร ด้านล่างตัดเฉียงเป็นปากฉลาม กิ่งหนึ่ง ๆ ควรมีตาไม่น้อยกว่า 4-6 ตาหลังจากเตรียมกิ่งแล้วควรนำไปเพาะชำทันที จนกระทั่งรากงอกดีแล้วจึงนำไปปลูกต่อไป
การปลูก ควรปลูกตั้งแต่ต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน และควรปลูกเป็นคู่เผื่อต้นใดต้นหนึ่งตาย จะได้มีอีกต้นอยู่แทน โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 75-100 เซนติเมตร การปลูกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับประมาณของตัวไหมที่จะเลี้ยงโดยคำนวณจากรังไหมที่ต้องการ รังไหมสด 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบหม่อนประมาณ 15 กิโลกรัม แปลงหม่อนที่ปลูกควรให้อยู่ใกล้โรงเลี้ยงไหมมากที่สุด