ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 51' 47.9999"
16.8633333
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 32' 17.9999"
103.5383333
เลขที่ : 193631
ผ้าไหมแพรวาหนองช้าง
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 เมษายน 2564
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 เมษายน 2564
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 809
รายละเอียด

บริบทชุมชน

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2387 หรือประมาณ 160ปีที่ผ่านมา (นับจาก ปีพ.ศ.2548) ตาม
คำบอกเล่าต่อกันมา ได้มีคนกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยนายวัน สุปัญบุตร,นายโพธิ์ สุปัญบุตร,นายท้าว ศิริกำเลิศ,
นายคูณ ศิลาพจน์ และนายทา ปัญจิต พร้อมกับพรรคพวกได้อพยพมาจากเมืองบก เมืองวัง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้( ปัจจุบันคือตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์) โดยการเดินทางของคนกลุ่มนี้ในสมัยนั้นใช้ช้าง เป็นพาหนะในการขนเสบียง อาหารและสิ่งของอื่นๆที่จำเป็น ซึ่งการเดินทางในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะเส้นทางเป็นป่าเขา แต่คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ย่อท้อแต่ประการใด และได้เดินทางมาเรื่อยๆ
พอเดินทางมาถึงแหล่งน้ำ แห่งหนึ่งก็ได้หยุดพักผ่อน ประกอบกับเสบียงที่ได้เตรียมมาก็เหลือน้อยลงทุกที นายคูณ ศิลาพจน์ และพรรคพวกจึงจึงได้ตกลงกันตั้งรกรากในบริเวณนี้ เพราะเห็นว่าในบริเวณที่หยุดพักเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำที่เหมาะแก่การดำรงชีพ จึงได้ตั้งชื่อว่า “บ้านหนองจอก” เพราะในหนองน้ำมีจอกเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นไม่นาน นายคูณ ศิลาพจน์ และพรรคพวกก็ได้อพยพไปตั้งรกรากใหม่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งไม่ห่างจากบ้านหนองจอกมากนัก เพราะในบริเวณนี้มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร และมีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอนซึ่งเหมาะสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพไปตั้งถิ่นรกรากทางทิศตะวันออกของบ้านหนองจอก (ปัจจุบันคือบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์) หลังจากนั้น ไม่นาน ช้างของนายคูณ ศิลาพจน์ ซึ่งเป็นพาหนะในการเดินทางอพยพทุกครั้งที่มีการอพยพ มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เชื่องซึมไม่กินอาหาร นายคูณ ศิลาพจน์ และพรรคพวกได้เฝ้าดูอาการของช้าง และได้รักษาตามวิธีการพื้นบ้าน โดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่อาการของช้างก็ยังไม่ดีขึ้นนับวันยิ่งทรุดลง ประกอบกับช้างมีอายุมากแล้ว อยู่มาวันหนึ่งนายคูณ ศิลาพจน์ และพรรคพวก กำลังเฝ้าดูอาการของช้างอยู่นั้น ช้างได้พยายามยกเท้าหน้าขึ้นเหนือหัวของมัน หลังจากนั้นไม่นานมันก็ได้ทรุดลงกับพื้นและเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา ซึ่งทำให้นายคูณ ศิลาพจน์

และพรรคพวกเสียใจเป็นอย่างมากและนายคูณ ศิลาพจน์และพรรคพวกจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า“บ้านหนองช้างตาย”

เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๐๗
ต่อมาได้มีคนกลุ่มหนึ่งในบ้านหนองช้างตายได้แยกตัวออกไปตั้งรกรากแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านหนองช้างตายซึ่งในปัจจุบันคือ “บ้านหนองแก่นทราย” และในปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ชาวบ้านหนองช้างตายได้ตัดคำว่า ตาย ออกเนื่องจากเป็นคำที่ไม่เป็นมงคล จึงเหลือแต่คำว่า “บ้านหนองช้าง” และเป็นชื่อของหมู่บ้านจนมา ถึงทุกวันนี้

อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองช้าง

ชุมชนบ้านหนองช้างเป็นชุมชนชาวผู้ไท ที่มีวัฒนธรรม ประเพณีภาษา ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่นในเรื่องการทอผ้าไหมแพรวา โดยเริ่มตั้งแต่ปลูกหม่อนที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต จนกลายเป็นผ้าแพรวาที่มี
ความงดงาม จึงได้ชื่อว่าเป็น “ต้นน้ำแพรวา ราชินีแห่งไหม” ซึ่งเกิดจากการหนุนเสริมด้วยพลังบวร “บ้าน วัด โรงเรียน” ในพื้นที่

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 17 หมู่ ๓ ตำบลหนองช้าง อำเภอหนองช้าง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มภูมิปัญญาของชุมชนบ้านหนองช้างที่ได้รวมกลุ่มกันซึ่งเดิมทอผ้าไว้สำหรับใช้งาน
ในครัวเรือนอยู่แล้ว เมื่อมีการทอผ้าได้มากจึงมีการนำผ้าที่ทอได้ไปจำหน่ายให้แก่บุคคลใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องที่รู้จัก และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถทอผ้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้า จึงเกิดแนวความคิด
ที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตและหาตลาดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้สร้างอาชีพแก่กลุ่ม จึงได้ชักชวนแม่บ้านภายในหมู่บ้านหนองช้างที่ว่างเว้นจากการทำนามาร่วมกันผลิต และได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ รหัสทะเบียน 4 – 46 – 15 - 04/1 – 0901 โดยมีสมาชิกทั้งสิ้น ๒๑ คน

สถานที่ในการจัดจำหน่าย

ชื่อข้อมูลกลุ่ม / องค์กร / เจ้าของกิจการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง

สถานที่จำหน่าย
1. จำหน่ายที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย
จังหวัดกาฬสินธุ์
2. จำหน่ายตามงานจัดการแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม ระดับอำเภอ/จังหวัด/ประเทศ
และงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้สนใจสามารถติดต่อ : นางประกอบ ปัญจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง
เบอร์โทร 085 – 7398739

สถานที่ตั้ง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมแพรวาหนองช้าง
เลขที่ 17 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล หนองช้าง อำเภอ สามชัย จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่