ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 30' 19.3097"
13.505363800391073
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 49' 10.1385"
100.81948292380372
เลขที่ : 193710
กะปิคลองด่านตรากุ้งแดง
เสนอโดย สมุทรปราการ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : สมุทรปราการ
0 633
รายละเอียด

วิสาหกิจชุมชน กะปิคลองด่านชุมชน 3 สานต่ออาชีพดั้งเดิม กะปิคลองด่านตรากุ้งแดง

พื้นที่ในตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่ติดกับทะเล ประกอบกับมีป่าชายเลนและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ชาวบ้านนิยมประกอบอาชีพประมง ออกเรือหาปลาตามท้องทะเล ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากโดยเฉพาะเคย จนกลายเป็นแหล่งผลิตเคยสดไปทำกะปิให้กับจังหวัดระยองและชลบุรีรายใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งชาวบ้านเห็นว่า ในเมื่อชุมชนของเรามีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบและความสามารถในการทำกะปิที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษมานับ 100 ปี ที่ชาวบ้านมีองค์ความรู้ด้านการถนอมอาหารด้วยการทำกะปิใส่โอ่งเอาไว้รับประทาน จึงเกิดเป็นแนวคิดนำกะปิมาต่อยอดแปรรูปขาย สร้างอาชีพให้คนในชุมชนจนสามารถพัฒนากลายมาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3
ทีมงาน อบจ.นิวส์ “ฟ้าใหม่” ได้พูดคุยกับ นายขวัญเมือง อยู่นาน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ทำให้ทราบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนคลองด่านที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งและเอกลักษณ์ให้กับชุมชน โดยผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนช่วยกันคิดเรื่องการแปรรูป จึงได้ไอเดียออกมาว่า น่าจะนำเคยสดที่ส่งออกขายต่างจังหวัดมาแปรรูปเป็นกะปิทีนี้ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ เงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งนายขวัญเมือง บอกว่า ขณะที่ยังหาทางออกไม่ได้ แต่ก็เหมือนกับมีโชคช่วยที่ได้โครงการ 9101 เข้ามา เมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยทางเกษตรอำเภอบางบ่อได้จัดประชุมลงทะเบียนเกษตรกร ทำให้กลุ่มมีงบประมาณในการจัดตั้งกลุ่มขึ้นเป็นผลสำเร็จ สามารถมีทุนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และทำสถานที่การผลิต อย่างเช่น ลานตากกะปิ โรงเรือน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกให้พื้นที่ในการผลิต ทำให้ในปี พ.ศ. 2562 ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3
หลังจากที่ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนได้ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า “กะปิคลองด่านตรากุ้งแดง” ซึ่งแรกเริ่มที่ผลิตกะปิออกมาทางกลุ่มก็ได้นำแจกจ่ายให้กับชาวบ้านได้ลองรับประทาน เพื่อประเมินว่ารสชาติเป็นอย่างไร และมีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ผลปรากฏว่ารสชาติถูกอกถูกใจคนในชุมชน เมื่อรสชาติอร่อย หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ หรือสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ ได้ยื่นมือเข้ามาสนับสนุนด้วยการพาไปออกบูธขายผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถขยายฐานผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จากปากต่อปากทำให้กะปิคลองด่าน ตรากุ้งแดงเริ่มขายดิบขายดี มีลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาสั่งซื้ออย่างไม่ขาดสาย

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กะปิคลองด่านตรากุ้งแดงมี 3 ขนาด กระปุกแก้วแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กระปุกพลาสติกขนาดใหญ่และกะปิแบบผง สำหรับกะปิแบบผงได้ถูกต่อยอดผลิตภัณฑ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2563 โดยมีลักษณะเป็นผงที่พกพาสะดวก กลิ่นไม่แรงตอบโจทย์ผู้บริโภคที่อยู่ในคอนโดฯ และลูกค้าคนไทยจากต่างประเทศที่นำขึ้นเครื่องกลับไป โดยได้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีกถึง 4 รสชาติ อาทิ รสวาซาบิ รสต้มยำ รสหมาล่า และฟรุตตี้ที่สามารถจิ้มผลไม้ได้เลย

นอกจากนี้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ยังได้เข้าร่วมการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ KBO ในการได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นตัวแทนของจังหวัดสมุทรปราการในการเข้าแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งมีหลายหน่วยงานให้การสนับสนุนกลุ่ม ประกอบกับความสามัคคีของกลุ่ม ที่มีความเข้มแข็ง ทำให้กลุ่มเติบโตได้ไวและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

หากสนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่ นายขวัญเมือง อยู่นาน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ที่อยู่ 12/3 หมู่ 9 ถนน วัดสว่างอารมณ์ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 08-6986-9288

อ้างอิงที่มา : https://fah-mai.com/community/0102096340/

สถานที่ตั้ง
นายขวัญเมือง อยู่นาน
เลขที่ 12/3 หมู่ที่/หมู่บ้าน 9 ถนน วัดสว่างอารมณ์
ตำบล คลองด่าน อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
https://fah-mai.com/community/0102096340/
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สมุทรปราการ
ตำบล คลองด่าน อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่