ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 58' 16"
14.9711111
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 58.9999"
102.0997222
เลขที่ : 193731
วัดบึง
เสนอโดย นครราชสีมา วันที่ 28 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 28 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : นครราชสีมา
0 196
รายละเอียด

วัดบึง ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองนครราชสีมา ใกล้กับประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยขณะนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราช (สังข์) เป็นผู้สร้างเมืองนครราชสีมา โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางคฤหบดีและวัดบึง ประชาชน ร่วมกันสร้างวัด ๖ แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดสระแก้ว และวัดบึง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด คือ พระอุโบสถที่มีส่วนฐานก่อเป็นแนวโค้งแบบ“หย่อนท้องช้าง” หรือ “หย่อนท้องสำเภา” ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ที่ยังคงหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึง “หลวงพ่อโตอู่ทอง” พระประธานภายในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย ที่ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาให้ความเคารพและศรัทธาในฐานะของพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง นอกจากนี้ในบริเวณของวัดยังมีบึงน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ถูกขุดขึ้นมาเคียงคู่ พร้อมกับการก่อตั้งวัด วัดบึง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ ๑๖ ไร่ ๖๘ ตารางวา เปิดการเรียนการสอนโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดบึง ปัจจุบัน มีพระราชสีมาภรณ์ (วันชัย กนฺตจารี ป.ธ.๗) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา และรองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตนครราชสีมา เป็นเจ้าอาวาส สิ่งที่น่าสนใจ หลวงพ่อโตอู่ทอง พระประธานภายในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ศิลปะ อยุธยาตอนปลาย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่และพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมคล้ายศิลปะอยุธยาตอนต้นหรือศิลปะแบบอู่ทอง จึงทำให้ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโตอู่ทอง” และถือได้ว่า เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ให้ความเคารพและศรัทธาอย่างมาก พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดห้าห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บัวหัวเสาเป็นบัวแวงที่มีลักษณะ เรียวเล็กตั้งตรงปลายโค้งงอเล็กน้อย ที่เสาติดผนังด้านนอกติดคันทวยรับชายคาทั้ง ๖ ต้น หน้าบัน ด้านทิศตะวันออกสลักลายก้านขด กึ่งกลางเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนด้านทิศตะวันตก สลักลวดลายก้านขด กึ่งกลางเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ส่วนฐานของพระอุโบสถก่อเป็นแนวโค้งแบบ “หย่อนท้องช้าง” หรือ “หย่อนท้องสำเภา” ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ที่ยังคงหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมา ใบเสมา เป็นใบเสมาคู่บนฐานสิงห์ที่ปักอยู่โดยรอบพระอุโบสถทั้งแปดทิศ นักวิชาการถือว่า ใบเสมาของวัดบึงเป็นใบเสมาที่งดงามที่สุด ในจังหวัดนครราชสีมา เรือนโคราช เป็นอาคารทรงไทยโคราช ขนาด ๓ ห้อง ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของสระน้ำ (บึง) เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับ ท่องเที่ยว วัดเก่าแก่ของจังหวัด มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 23 รวบรวมและเก็บรักษาเครื่องมือการเกษตร หัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา และศิลปวัตถุพื้นบ้านต่าง ๆ อนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์แห่งพระกัมมัฏฐาน สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและระลึกถึงคุณธรรมและคุณงามความดีของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทางวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ชาวจังหวัดนครราชสีมาให้ความเคารพนับถือ โดยส่วนยอดของเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอัฐิธาตุของหลวงพ่อพุธ รวมถึงอัฐิธาตุบูรพาจารย์ต่าง ๆ ส่วนของภายในเจดีย์ มีรูปปั้นของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์ พร สุมโน นอกจากนี้โดยรอบเจดีย์ยังมีภาพสลัก นูนต่ำหินทรายรูปหลวงพ่อพุธ บูรพาจารย์ และ เรื่องราวทางพุทธศาสนา ตู้พระธรรมและเอกสารโบราณ เป็นเอกสารที่บันทึกเรื่องราวคัมภีร์ทางศาสนา ตำราเรียน และตำรายาสมุนไพรในสมัยรัตนโกสินทร์

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดบึง
เลขที่ 82 ถนน จอมพล
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประธานชุมชนประตูชุมพลพัฒนา
บุคคลอ้างอิง คุณพิศวิภา ศรีเพ็ญ
เลขที่ 730 หมู่ที่/หมู่บ้าน ชุมชนประตูชุมพลพัฒนา ถนน จอมพล
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
โทรศัพท์ ๐๘-๐๕๗๓-๓๗๓๐
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่