วัดศาลาทอง เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ บริเวณทางด้านทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา แต่เดิมชื่อว่า “วัดป่าเลไลย์” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดป่าเลไลย์ทอง” ตามพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองนครราชสีมา จึงได้มีการบูรณะวัดและเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่า “วัดศาลาทอง” ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้มีการสร้างอุโบสถ โดยมีพระครูปลัดสัมพิพัฒน์วิริยาจารย์ (สุทัศน์ สุทสฺสโน) เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง โดยออกแบบให้มีลักษณะเป็นอุโบสถทรงจัตุรมุขที่มีรูปทรงแปลกตาจากอุโบสถแห่งอื่น ๆ วัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของพระเกจิอาจารย์นักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลายรูป เช่น หลวงปู่เทสก์เทสรังสี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงปู่พระมหาเขียน ฐิตสีโล วัดศาลาทอง สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย ปัจจุบันมี พระครูสิริเจติยาภิบาล(สมชัย ญาณวีโร) เป็นเจ้าอาวาส สิ่งที่น่าสนใจ อุโบสถทรงจัตุรมุข เป็นอุโบสถที่สร้างขึ้นทดแทนอุโบสถไม้หลังเก่าที่ทรุดโทรม เป็นอาคารที่ออกแบบให้มี ลักษณะเป็นอุโบสถทรงจัตุรมุข สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีหน้าบัน ๔ ด้าน ภายในประดิษฐานพระประธานนามว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งห้อยพระบาท ปางป่าเลไลยก์พระหัตถ์ซ้ายคว่ำ ส่วนพระหัตถ์ขวาหงาย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๑๐ เมตร สูง ๕.๑๐ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ บริเวณผนังด้านหลังของพระประธาน ยังมีพระรูปปูนปั้นของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรา มาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ ขณะทรงพระเยาว์ อยู่ในกรอบวงกลมและลงพระนามอานันทมหิดล พระสัมพุทธเจดีย์ศรีสิงหนาท เมื่อมีการขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔ องค์ บริเวณแม่น้ำอิง อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย โดยทหารจากกองพลทหารที่ ๓ (กองทัพภาคที่ ๒ ค่ายสุรนารี ในปัจจุบัน) จอมพลผิน ชุณหะวัณ จึงได้ขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๒ ส่วน โดยส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร อีกส่วนหนึ่งได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดศาลาทอง มณฑลอิสาน (จังหวัดนครราชสีมา) โดยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์ที่มีรูปทรงเหมือนกับเจดีย์ของวัด พระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ให้นามว่า “พระสัม พุทธเจดีย์ศรีสิงหนาท” พระสัมพุทธเจดีย์ศรีสิงหนาท องค์นี้ เป็นการก่อสร้างครอบทับซ้อนกันสององค์ โดยองค์ใหญ่มีขนาดความสูง ๓๒.๖o เมตร ฐานวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๑.๖o เมตร ส่วนองค์เล็กมีความสูง ๗.๒o เมตร ฐานวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔.๘o เมตร กุฏิเรือนไม้สักเป็นเรือนไม้สักทรงไทย สร้างไว้สำหรับรับรองพระเถรานุเถระในการ ปฏิบัติศาสนกิจของธรรมยุติกนิกายในจังหวัดนครราชสีมา